มีนเกิลส์ ก๊วนสาวซ่าส์วีนซะไม่มี
มีนเกิร์ลส์ ก๊วนสาวซ่าส์วีนซะไม่มี (อังกฤษ: Mean Girls) หรือ มีนเกิลส์ เป็นภาพยนตร์แนววัยรุ่น และ ตลก ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยมาร์ก วอเตอร์ส เขียนบทภาพยนตร์และแสดงร่วมโดย ทีน่า เฟย์ โดยเนื้อเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นร่วมกับนวนิยายเรื่อง Queen Bees and Wannabes ซึ่งเขียนโดย โรซาลินด์ ไวส์แมน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมกลุ่มเด็กผู้หญิงที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อเด็กผู้หญิงที่เรียนในรุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งทีน่า เฟย์ก็ได้นำประสบการณ์ของตนเองขณะเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษามีเขียนใส่ลงในบทภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย[3]
มีนเกิลส์ ก๊วนสาวซ่าส์วีนซะไม่มี | |
---|---|
ภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | มาร์ก วอเตอร์ส |
เขียนบท | ทีน่า เฟย์ |
สร้างจาก | Queen Bees and Wannabes เขียนโดย โรซาลินด์ ไวส์แมน |
อำนวยการสร้าง | ลอร์น ไมเคิลส์ |
นักแสดงนำ | ลินด์ซีย์ โลเอิน ราเชล แม็กอดัมส์ ลาเซย์ ชาเบิร์ต อะแมนดา ไซเฟร็ด ลิซซี แค็ปแลน |
กำกับภาพ | เดเรน โอกะดะ |
ตัดต่อ | เวนดี กรีน บริคมอนด์ |
ดนตรีประกอบ | รอล์ฟ เคนท์ |
บริษัทผู้สร้าง | * เอ็ม.จี.ฟิล์ม
|
ผู้จัดจำหน่าย | พาราเมาต์พิกเจอส์ |
วันฉาย | 19 เมษายน 2547 (งาน Cinerama Dome) 30 เมษายน 2547 (อเมริกา) 8 กรกฎาคม 2547 (ไทย) |
ความยาว | 97 นาที[1] |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
ทุนสร้าง | $ 17 ล้าน[2] |
ทำเงิน | $ 130 ล้าน[2] |
มีนเกิลส์ มีผู้อำนวยการสร้างคือลอร์น ไมเคิลส์ ซึ่งเขาและทีน่า เฟย์เคยร่วมงานกันมาก่อนในรายการ แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ สถานที่ถ่ายทำของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่เมืองโทรอนโท, ประเทศแคนาดา และเมืองเอแวนสตัน, รัฐอิลลินอย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงนำโดย ลินด์ซีย์ โลเอิน, ราเชล แม็กอดัมส์, ลาเซย์ ชาเบิร์ต, อะแมนดา ไซเฟร็ด และ ลิซซี แค็ปแลน โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สองของลินด์ซีย์ในการร่วมงานกับมาร์ก วอเตอร์ส
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยสามารถทำรายได้มากถึง 129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกระแสนิยม[4][5][6][7][8][9] ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเข้ามาฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มีการนำมาทำต่อเนื่องใหม่ในปีพ.ศ. 2554 โดยใช้ชื่อว่า มีนเกิลส์ 2 โดยออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่ช่องเอบีซี แฟมิลี แล้วก็ได้มีการมาทำเป็นละครบรอดเวย์ในปี พ.ศ. 2561
จนในปี พ.ศ. 2567 ก๊วนสาวซ่าส์ วีนซะไม่มี (ภาพยนตร์ปี ค.ศ. 2024) ภาพยนตร์ฉบับดัดแปลงจากละครบรอดเวย์ในปี พ.ศ.2561 ได้มีกำหนดฉาย 12 มกราคม ในอเมริกา และ 15 กุมภาพันธ์ ในประเทศไทย ภาพยนตร์ทำรายได้ทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ
เรื่องย่อ
แก้คาดี้ เฮรอน เด็กสาววัยรุ่นอายุ 16 ปีที่เคยเรียนแต่ในระบบการศึกษาโดยครอบครัวและเพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมตอนปลายใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก หลังจากที่พ่อแม่ของเธอซึ่งเป็นนักสัตววิทยานั้นได้ทำการสำรวจในทวีปแอฟริกา เสร็จสิ้นเป็นเวลา 12 ปี โดยวันแรกที่คาดี้ได้มีโอกาสเข้าไปเรียนนั้นเธอยังไม่สามารถเข้าหาเพื่อนในโรงเรียนได้มากนัก แต่อย่างนั้นเธอก็มีโอกาสได้รู้จักกับ เจนีส เลน และ เดเมียน ซึ่งในเวลาต่อมา เจนีส และ เดเมียน ได้เข้ามาทำความรู้จักกับคาดี้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนต่างๆในโรงเรียนซี่งหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มพลาสติกส์
ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนหญิงที่มีอิทธิพลและโด่งดังมากที่สุดในโรงเรียน โดยกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยเรจิน่า จอร์จซึ่งเป็นควีน บีหรือหัวหน้าของกลุ่ม, เกร็ตเชน วีเนอร์ส เด็กสาวผู้มีบุคลิกไม่น่าไว้วางใจแต่มีฐานะร่ำรวย และ คาเรน สมิธ เด็กสาวผู้มีรูปลักษณ์ภายนอกน่ารักแต่ไม่ฉลาด โดยกลุ่มพลาสติกส์ก็ได้สนใจในตัวคาดี้ขึ้นหลังจากที่พวกเขาพูดได้ไล่เจสันชายหนุ่มบ้ากามในชั้นเรียนคนหนึ่งที่พยายามจะมีสัมพันธ์กับคาดี้ ในขณะที่เธอกำลังเดินไปนั่งกินอาหารกลางวันในโรงอาหารของโรงเรียน โดยกลุ่มพลาสติกส์ก็ได้ทำข้อตกลงให้คาดี้สามารถที่จะมานั่งกินอาหารกลางวันกับพวกเขาได้ จากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้เจนีส เห็นโอกาสที่จะได้แก้แค้น เรจิน่าผู้ที่เป็นอดีตเพื่อนสนิทของเธอและเคยทำไม่ดีกับเธอไว้ โดยการให้คาดี้เข้าไปตีสนิทกับพวกเขา
หลังจากนั้นไม่นานคาดี้ก็ได้ไปเจอสมุดเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า เบิร์น บุ๊ก โดยสมุดเล่มนี้เป็นไดอารีเล่มเก่าของเรจิน่าที่รวบรวมเรื่องราวหรือข่าวลือที่ไม่ดีหรือน่าอับอายของเพื่อนผู้หญิงในชั้นเรียนรวมถึงคุณครูในโรงเรียนไว้ทั้งหมด จากเหตุการณ์นี้ทำให้เจนีสต้องจากที่จะให้คาดี้เอาสมุดเล่มนี้มาโดยการเข้าไปตีสนิทกับเรจิน่าเพื่อเปิดโปงเธอ ในช่วงแรกคาดี้ยังไม่สนใจกับแผนการของเจนีสมากเนื่องจากยังเชื่อว่าเรจิน่ายังมีนิสัยใจคอที่ดี จนกระทั่งคาดี้ได้ไปเจอและรู้สึกตกหลุมรักชายหนุ่มที่ชื่อว่า แอรอน เซมวลส์ ซึ่งเป็นคนรักเก่าของเรจิน่าขณะเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ด้วยกัน โดยคาดี้ก็ได้เล่าเรื่องราวที่เธอรู้สึกกับแอรอนให้กับเกร็ตเชนและคาเรนฟัง และหลังจากนั้นเรจิน่าก็ได้โทรมาหาเธอที่บ้านโดยเรจิน่าก็ได้ให้สัญญากับคาดี้ว่าจะช่วยให้แอรอนมาสนใจกับเธอในงานปาร์ตี้วันฮาโลวีนที่บ้านของแอรอน แต่เมื่อถึงวันงานเรจิน่ากลับพูดเกี่ยวกับคาดี้ในแง่ไม่ดีเชิงใส่สีและจูบขอคืนดีกับแอรอน จากเหตุการณ์นี้ทำให้คาดี้รู้สึกเกลียดและอยากจะแก้แค้นเรจิน่า โดยเธอก็ได้ร่วมมือกับเจนีส และ เดเมียนในการที่จะแก้แค้นเรจิน่าและหลังจากนั้นเหตุการณ์ต่างๆก็เกิดขึ้น
นักแสดง
แก้- ลินด์ซีย์ โลเอิน รับบทเป็น คาดี้ เฮรอน เด็กสาวผู้เพิ่งมาเรียนในโรงเรียนเป็นครั้งแรก
- ราเชล แม็กอดัมส์ รับบทเป็น เรจิน่า จอร์จ เด็กสาวผู้ร่ำรวยและโด่งดังที่สุดในโรงเรียนและเป็นหัวหน้ากลุ่มพลาสติกส์ซึ่งเคยเป็นเพื่อนสนิทกับเจนีส
- ลาเซย์ ชาเบิร์ต รับบทเป็น เกร็ตเชน วีเนอร์ส สมาชิกกลุ่มพลาสติกส์และคนที่เรจิน่าไว้วางใจมากที่สุด
- อะแมนดา ไซเฟร็ด รับบทเป็น คาเรน สมิธ สมาชิกกลุ่มพลาสติกส์
- ลิซซี แค็ปแลน รับบทเป็น เจนีส เลน คู่อริของเรจิน่า เด็กสาวผู้หลงใหลในศิลปะที่เข้ามาตีสนิทกับคาดี้และพยายามจะแก้แค้นเรจิน่าซึ่งเธอเป็นเพื่อนสนิทของเดเมียน
- ดาเนียล ฟราสซิส รับบทเป็น เดเมียน ลีห์ เกย์หนุ่มผู้หลงใหลในดนตรีซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเจนีสและคาดี้
- โจนาธาน เบนเนตต์ รับบทเป็น แอรอน เซมวลส์ อดีตแฟนหนุ่มของเรจิน่าและผู้ที่คาดี้ตกหลุมรัก
- ราจิฟ เซอเรนดรา รับบทเป็น เคลวิน จนาพัวร์ หัวหน้าทีมแข่งขันทางคณิตศาสตร์และผู้ที่ชอบเจนีส
- ทีน่า เฟย์ รับบทเป็น คุณครูชารอน นอร์บูรี่ คุณครูสอนวิชาแคลคูลัส
- ทิม มีโดว์ รับบทเป็น รอน ดูวอลล์ ผู้อำนวยการโรงเรียน
- เอมี พเลอร์ รับบทเป็น จูน จอร์จ แม่ของเรจิน่า
- อนา เกสทีเยอร์ รับบทเป็น เบ็ตซี เฮรอน แม่ของคาดี้
- นีล ฟลินน์ รับบทเป็น ชิป เฮรอน พ่อของคาดี้
- ดาเนียล เดซนโต รับบทเป็น เจสัน แฟนหนุ่มผู้มีนิสัยเจ้าชู้ของเกร็ตเชน
- ดิเอโก คลาทเทนโฮฟ รับบทเป็น เชน โอมาน นักอเมริกันฟุตบอลและแฟนหนุ่มอีกคนของเรจิน่า
การผลิต
แก้การพัฒนา
แก้หลังจากที่ทีน่า เฟย์ ได้อ่านหนังสือเรื่อง Queen Bees and Wannabes ซึ่งเขียนโดย โรซาลินด์ ไวส์แมนจบเธอก็ได้ทำการติดต่อกับลอร์น ไมเคิลส์ โปรดิวเซอร์รายการ แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ ให้นำเรื่องราวของหนังสือเล่มนี้มาทำเป็นภาพยนตร์ โดยลอร์น ไมเคิลส์ก็ได้ทำการติดต่อพาราเมาต์พิกเจอส์เพื่อทำการซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือเล่มนี้ หลังจากนั้นทีน่า เฟย์ได้เริ่มเขียนบทภาพยนตร์โดยเธอก็ได้นำประสบการณ์ของเธอสมัยเรียนในระดับมัธยมศึกษามาใส่ในบทด้วย[10] และ เจนีส เลน ซึ่งเป็นตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เจนีส เลน นักร้องชาวอเมริกันผู้เป็นแขกรับเชิญที่เป็นศิลปินคนแรกในรายการแซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ โดยเจนีส เลนในเรื่องนี้เป็นเด็กสาวที่รังแกจากการที่บุคลิกเหมือนเลสเบี้ยน ซึ่งเจนีส เลนผู้เป็นศิลปินชาวอเมริกันก็ได้ออกมายอมรับว่าเป็นเลสเบี้ยนในชีวิตจริง[11]
การคัดเลือกนักแสดง
แก้ในรอบแรกลินด์ซีย์ โลเอินได้เข้ามารับการคัดตัวในบท เรจิน่า จอร์จแต่หลังจากที่ได้ทำการอ่านบทเสร็จทีมงานก็ได้มีความเห็นว่าเธอมีลักษณะที่เหมาะสมกับบท คาดี้ เฮรอนมากกว่า ซึ่งเธอก็ได้เห็นด้วยและตัดสินใจเล่นบทนี้ และทำให้บทนี้ตกไปเป็นของ ราเชล แม็กอดัมส์ ซึ่งทีน่า เฟย์มีความรู้สึกว่าราเชลมีบุคลิกที่ใจดีและเรียบร้อยในเวลาเดียวกันซึ่งก็ยิ่งทำให้เธอเหมาะสมกับบทนี้ ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นราเชลก็ได้ไปทำการคัดตัวในภาพยนตร์เรื่อง The Notebook ด้วย ส่วนอะแมนดา ไซเฟร็ด ในตอนแรกเธอได้เข้ามาคัดเลือกตัวในบทเรจิน่าแต่ทีมงานมีความคิดเห็นว่าบุคลิกของเธอเหมาะสมบทคาเรน สมิธ มากกว่า ส่วนลาเซย์ ชาเบิร์ต และ ดาเนียล ฟราสซิส ก็ได้รับเลือกเข้าเล่นในบทเกร็ตเชนและเดเมียนทันทีหลังจากที่อ่านบทเสร็จ ลิซซี แค็ปแลน ได้รับการติในตอนแรกว่าเธอสวยเกินกว่าที่จะมาเล่นในบทเจนีส เลน โดยมาร์ก วอเตอร์สผู้กำกับภาพยนตร์มองว่าเธอเหมือน เคลลี ออสบอร์นมาเป็นนักแสดง แต่ภายหลังเธอก็ได้รับบทนี้ไป ส่วนเอมี พเลอร์, ทิม มีโดว์ และ อนา เกสทีเยอร์ ก็ล้วนเป็นนักแสดงที่มาจากรายการแซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์[12]
การถ่ายทำ
แก้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ทำการถ่ายทำที่เมืองเอแวนสตัน, รัฐอิลลินอย ประเทศสหรัฐอเมริกา ไปบางส่วนแต่โดยส่วนใหญ่ได้ไปถ่ายทำที่เมืองโทรอนโท, ประเทศแคนาดา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เริ่มถ่ายทำในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2546 และถ่ายทำเสร็จสิ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[13]
ผลตอบรับ
แก้บ็อกซ์ ออฟฟิศ
แก้ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์ได้ทำการเปิดตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็สามารถทำรายได้ไปได้มากถึง 24.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯจาก 3,159 จอใน 2,839 โรงภาพยนตร์ที่สหรัฐฯ[14] และสามารถครองอันดับ 1 ในบ็อกซ์ ออฟฟิศได้สำเร็จ[2] มีนเกิลส์เข้าฉายเป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยสามารถทำรายได้ในสหรัฐฯ ไปได้มากถึง 86.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯและอีก 43 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากทั่วโลก ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สามารถทำรายได้ไปมากถึง 129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ[2]
ปฏิกิริยาของนักวิจารณ์ภาพยนตร์
แก้มีนเกิลส์ ได้รับกระแสตอบรับจากนักวิจารณ์ในเชิงบวกซะส่วนใหญ่ โดยนักวิจารณ์ได้ชื่นชมการแสดงของราเชล แม็กอดัมส์ และ ให้การเปรียบเทียบให้ ลินด์ซีย์ โลเอิน เหมือนหน้าตาของภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่วน อะแมนดา ไซเฟร็ด และ ลิซซี แค็ปแลน ได้รับกระแสวิจารณ์เกี่ยวกับการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของทั้งคู่ ในเว็บไซต์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ต่างๆทั้ง รอตเทนโทเมโทส์ ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ถึง 83% จากการวิจารณ์ถึง 179 คำวิจารณ์ ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยรวมกันทั้งหมดเท่ากับ 6.9/10 โดยเว็บไซต์นี้ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ตลกและวิธีการเขียนของบทภาพยนตร์เรื่องนี้ฉลาดกว่าภาพยนตร์ตลกวัยรุ่นทั่วไปโดยเฉลี่ย”[15] ในเว็บไซต์เมทาคริติก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คะแนนทั้งหมด 66 จาก 100 คะแนน โดยจากนักวิจารณ์ทั้ง 39 คนที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บอกว่าภาพยนตร์นี้คือ “โดยส่วนมากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงบวก”[16] ในเว็บไซต์ซินีม่า สกอร์ ก็ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ในระดับ A- จากระดับคะแนน A+ ถึง F แอน ฮอร์นาเดย์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากวอชิงตัน โพสต์ ได้ให้คำวิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถที่จะโอ้อวดได้ถึง 3 สิ่งทั้ง ลินด์ซีย์ โลเอินในบทบาทการแสดง, ทีน่า เฟย์ ในบทบาทผู้เขียนบทภาพยนตร์ และ มาร์ก วอร์เตอร์ส ในบทบาทผู้กำกับ และภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมที่จะทำให้รู้สึกมหัศจรรย์อย่างแท้จริง” ทีน่า เฟย์ยังได้รับคำชมจาก ปีเตอร์ เทรเวอรส์จากโรลลิงสโตนว่าเป็น “ภาพยนตร์ตลกระดับเหรียญทอง”[17] และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน “50 ภาพยนตร์ตลกวัยรุ่นที่ดีสุด” จากรอตเทนโทเมโทส์[18]
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้Mean Girls: Music from the Motion Picture | ||
---|---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย รวมศิลปิน | ||
วางตลาด | 21 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
บันทึกเสียง | พ.ศ. 2547 | |
แนวเพลง | ป๊อป ร็อก อาร์แอนด์บี พังก์ร็อก ดนตรีคริสต์มาส แดนซ์ป๊อป แร็ป | |
ความยาว | 49:17 | |
ค่ายเพลง | Rykodisc Bulletproof | |
โปรดิวเซอร์ | รวมศิลปิน | |
ซิงเกิลจากMean Girls: Music from the Motion Picture | ||
|
คะแนนคำวิจารณ์ | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
AllMusic | Link |
Mean Girls: Music from the Motion Picture
- "Dancing with Myself" by The Donnas (Generation X cover)
- "God Is a DJ" by Pink
- "Milkshake" by Kelis
- "Sorry (Don't Ask Me)" by All Too Much
- "Built This Way" by Samantha Ronson
- "Rip Her to Shreds" by Boomkat (Blondie cover)
- "Overdrive" by Katy Rose
- "One Way or Another" by Blondie
- "Operate" by Peaches
- "Misty Canyon" by Anjali Bhatia
- "Mean Gurl" by Gina Rene and Gabriel Rene
- "Hated" by Nikki Cleary
- "Psyché Rock", by Pierre Henry (Fatboy Slim Malpaso mix)
- "The Mathlete Rap" by Rajiv Surendra
- "Jingle Bell Rock"
อนึ่งเพลง "Pass The Dutch" ของ Missy Elliott, "Naughty Girl" ของ Beyoncé, "Beautiful" ของ Christina Aguilera, Fire ของ Joe Budden กับ Busta Rhymes, "At Seventeen" ของ Janis Ian, "Halcyon + On + On" ของ Orbital, "Put 'Em Up" ของ N.O.R.E กับ Pharrell Williams, "Oh Yeah" / "Run" by Gabriel Rene และ "Love's Theme" ของ The Love Unlimited Orchestra ได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์แต่ไม่ได้ถูกนำมาบรรจุในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์
รอล์ฟ เคนท์ เป็นผู้เขียนเพลงออร์เคสตราประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ และถูกนำมาดัดแปลงอีกครั้งโดยโทนี บลอนเดล ซึ่งเพลงออร์เคสตราประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำกลองไทโกะมาเล่นประกอบกับวงออร์เคสตรา
การจัดจำหน่าย
แก้มีนเกิลส์ ได้ออกจัดจำหน่ายวีเอชเอส และ ดีวีดี ออกมาหลังจากที่ภาพยนตร์ได้เข้าฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้ว 5 เดือน โดยทั้งหมดประกอบได้ด้วยภาพยนตร์เรื่องนี้ในระบบไวด์สกรีน และ ฟูลล์สกรีน พร้อมด้วยฉากที่ถูกตัดออก, เบื้องหลังการถ่ายทำ, โฆษณาทางโทรทัศน์และในโรงภาพยนตร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ และ บทสัมภาษณ์ของนักแสดงในเรื่องนี้[19] และต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552 มีนเกิลส์ได้ทำการออกแผ่นบลูเรย์ ออกมาเป็นครั้งแรก
อิทธิพลทางวัฒนธรรม
แก้มีนเกิลส์ ได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมกระแสนิยม[20][21] จากการที่มีผู้คนได้นำฉากต่างๆจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเป็นกิฟส์และมีมส์ลงในสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กทั้ง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ และ ทัมเบลอร์[22][23][24]
และในปีพ.ศ. 2552 มารายห์ แครี ก็ได้ปล่อยซิงเกิ้ลที่มีชื่อว่า “Obsessed” โดยในตอนต้นเพลงมารายห์ก็ได้ใช้คำพูดจากภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “And I was like, 'Why are you so obsessed with me?” ซึ่งคำพูดนี้เป็นคำพูดที่เรจิน่าได้พูดไปในภาพยนตร์ โดยนิก แคนนอน อดีตสามีของเธอก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงนี้จากภาพยนตร์เรื่องนี้[25]
โดยทีน่า เฟย์ก็ได้ออกมาเปิดเผยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “ถ้าคนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ได้ดูมันก็จะบอกว่ามันตลก ซึ่งหนึ่งในนั้นจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่หัวเราะไปกับมัน แต่ถ้าเป็นในกลุ่มเด็กวัยรุ่นพวกเขาก็จะดูมันเหมือนกับดูรายการเรียลลิตี้ เพราะมันใกล้เคียงกับชีวิตจริงของพวกเขามาก และพวกเขาก็ไม่ค่อยที่ตลกขำขันกันเท่าไหร่”[26]
และในวันที่ 3 ตุลาคมของทุกปีก็ได้ถูกกำหนดให้เป็น วันมีนเกิลส์ โดยยึดจากบทสนทนาระหว่างที่คาดี้และแอรอนพูดกันในเรื่อง โดยผู้คนบางส่วนก็จะเฉลิมฉลองโดยการสวมใส่เสื้อสีชมพูโดยยึดมาจากคำพูดที่คาเรนได้พูดไปในภาพยนตร์เช่นกัน ซึ่งนักออกแบบเสื้อผ้าหรือนักธุรกิจบางส่วนก็ได้ตามกระแสนี้โดยการผลิตเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีคำคมจากภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วนำมาขายในราคาต่างๆ[27]
การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น
แก้วิดีโอเกม
แก้เกมพีซีของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เริ่มปล่อยออกมาให้ปีพ.ศ. 2552[28] พร้อมกับสามารถที่จะสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ได้ ในปีพ.ศ. 2553 มีนเกิลส์วิดีโอเกมก็ได้ถูถพัฒนาขึ้นโดยบริษัท 505 เกม เพื่อที่จะสามารถเล่นในเครื่องเล่นนินเทนโดได้[29] แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ถูกผลิตออกมา ในปีพ.ศ. 2558 มีนเกิลส์ได้ถูกพัฒนามาเป็นเกมในสมาร์ตโฟน โดยเรื่องราวในเกมเป็นเรื่องราวของตัวละครในภาพยนตร์เรื่องมีนเกิลส์กับเหตุการณ์ต่างๆทั้งในภาคที่ 1 และ ภาคที่ 2 ของภาพยนตร์เรื่องนี้แต่ตัวละครในเกมจะมีเฉพาะตัวละครจากภาคที่ 1 เท่านั้น[30]
ละครบรอดเวย์
แก้ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 ทีน่า เฟย์ได้ออกมายืนยันว่าได้เริ่มทำการดัดแปลงดนตรีของละครบรอดเวย์เรื่องนี้แล้ว ซึ่งเธอก็ได้เขียนหนังสือสำหรับโชว์นี้ขึ้นมาด้วย โดยนักแต่งเพลงจากซิตคอมเรื่อง 30 Rock และ เจฟฟ์ ริชมอนด์ สามีของเธอก็ได้เริ่มทำเพลงสำหรับละครบรอดเวย์เรื่องนี้ ซึ่งละครบรอดเวย์ในครั้งนี้ก็ได้เคซี นิโคลอ มาเป็นผู้กำกับเวที ซึ่งพาราเมาต์พิกเจอส์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับละครบรอดเวย์ในครั้งนี้ด้วย[31] โดยละครบรอดเวย์เรื่องนี้ก็ได้เริ่มเล่นเป็นครั้งแรกในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่โรงละครแห่งชาติกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[32]
ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้ออกมาประกาศว่าละครบรอดเวย์เรื่องนี้จะแสดงในโรงละครออกัสวิลสัน โดยจะเริ่มแสดงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561 และจะเริ่มเปิดรอบกลางคืนในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[33]
รางวัลที่ได้รับ
แก้ปี | รางวัล | สาขา | ผู้เข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2547 | Teen Choice Awards | Choice Movie Actress: Comedy | Lindsay Lohan | ชนะ |
Choice Movie: Breakout Actress | Lindsay Lohan | ชนะ | ||
Choice Movie: Blush | Lindsay Lohan | ชนะ | ||
Choice Movie: Breakout Actress | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Breakout Actor | Jonathan Bennett | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Comedy | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
Choice Movie Actress: Comedy | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Blush | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Chemistry | Lindsay Lohan and Jonathan Bennett | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Fight/Action Sequence | Lindsay Lohan vs. Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Hissy Fit | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Liar | Lindsay Lohan | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Choice Movie: Villain | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2548 | MTV Movie Awards | Best Female Performance | Lindsay Lohan | ชนะ |
Breakthrough Female Performance | Rachel McAdams | ชนะ | ||
Best On-Screen Team | Lindsay Lohan, Rachel McAdams, Lacey Chabert, and Amanda Seyfried | ชนะ | ||
Best Villain | Rachel McAdams | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Kids Choice Awards | Favorite Movie Actress | Lindsay Lohan | เสนอชื่อเข้าชิง | |
People's Choice Awards | Favorite Movie: Comedy | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Writers Guild of America Award | Best Adapted Screenplay | Tina Fey | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "MEAN GIRLS (12A)". United International Pictures. British Board of Film Classification. April 28, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2015. สืบค้นเมื่อ April 22, 2014.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Mean Girls (2004)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 19, 2004. สืบค้นเมื่อ มกราคม 23, 2010.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Brody, Richard (April 30, 2014). "Why "Mean Girls" Is a Classic". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ Elan, Priya (January 29, 2013). "Why Tina Fey's Mean Girls is a movie classic". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ "'Mean Girls' is still 'fetch'". CNN.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2014. สืบค้นเมื่อ August 8, 2014.
- ↑ Buchanan, Kyle (April 20, 2014). "Mean Girls Director Mark Waters Spills 10 Juicy Stories, 10 Years Later". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2014. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
- ↑ "Why Is Mean Girls So Quotable?". Slate. January 8, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2014. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
- ↑ Kimble, Julian (April 30, 2014). ""Mean Girls" Is Everything (No, Really): How One Movie Summarized a Generation". Complex. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2015. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2018. สืบค้นเมื่อ November 10, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Ebert, Roger (February 5, 2013). Roger Ebert's Movie Yearbook 2007. Andrews McMeel Publishing.
- ↑ "Only the Strong Survive", Mean Girls, DVD Featurette
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2018. สืบค้นเมื่อ January 12, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "'Mean Girls' Surprisingly Nice $24.4M Weekend - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
- ↑ "Mean Girls". Rotten Tomatoes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ June 27, 2018.
- ↑ Mean Girls ที่เมทาคริติก; Retrieved September 24, 2009.
- ↑ "Mean Girls - Movie Reviews - Rotten Tomatoes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2015.
- ↑ "The 50 Greatest Teen Movies Pictures - Rotten Tomatoes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2015.
- ↑ Michaels, Lorne. Mean Girls (DVD video). Widescreen DVD collection. screenplay by Tina Fey; directed by Mark Waters; et al. Hollywood, California: Paramount Pictures Corporation ©2004. ISBN 9781415700136. OCLC 55850835. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 27, 2009. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 28, 2013.
{{cite AV media}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|laysource=
ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|laysummary=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Orr, Gillian (April 30, 2014). "10 years of Mean Girls: How the film defined a generation – and gave it a new language". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ Mendelson, Scott (April 30, 2014). "Why 'Mean Girls' Still Matters, 10 Years Later". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ Goldstein, Jessica (April 25, 2014). "Why does — and will — 'Mean Girls' continue to endure online?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ Watercutter, Angela (April 30, 2014). "Why Mean Girls Has Obsessed the Internet for a Decade". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ O'Neil, Lauren (October 3, 2014). "Mean Girls Day gets its own art show on Tumblr". CBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ Vena, Jocelyn; Kash, Tim (July 1, 2009). "Nick Cannon: Mariah Carey's Not Dissing Eminem In 'Obsessed'". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2010. สืบค้นเมื่อ June 25, 2010.
- ↑ "CANOE – JAM! - Weekend warrior". Jam.canoe.ca. April 28, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2012. สืบค้นเมื่อ August 8, 2014.
- ↑ Grossman, Samantha (October 3, 2014). "It's October 3rd: 19 Ways to Celebrate Mean Girls Day". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2014. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ "Mean Girls: High School Showdown". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2017. สืบค้นเมื่อ May 3, 2017.
- ↑ "Mean Girls Game Capitalizes on Film's Popularity, Lohan's Career – games for girls". Kotaku. April 12, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2010. สืบค้นเมื่อ November 8, 2010.
- ↑ Castillo, Michelle (June 6, 2017). "Episode app animates millennial classics like 'Mean Girls' for Gen Z". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2017. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
- ↑ "So Fetch! Tina Fey Confirms Mean Girls Musical In Early Development | Broadway Buzz". Broadway.com. January 28, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2013. สืบค้นเมื่อ June 16, 2013.
- ↑ "Tina Fey's Mean Girls Musical Will Make World Premiere at Washington's National | Playbill". Playbill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2017. สืบค้นเมื่อ March 23, 2017.
- ↑ Paulson, Michael (September 6, 2017). "The 'Mean Girls' Musical Is Coming to Broadway in March". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2017. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.