บริการเครือข่ายสังคม

(เปลี่ยนทางจาก โซเชียลเน็ตเวิร์ก)

บริการเครือข่ายสังคม (อังกฤษ: social network service; SNS) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วนวิดีโอ หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน[1]

ส่วนแบ่งการตลาด

แก้

ตามข้อมูลของคอมสกอร์ ถึงเดือนเมษายน 2563[2]

เครือข่าย ผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ (ล้านคน)
เฟซบุ๊ก 2,498
ยูทูบ 2,000
วอตส์แอปป์ 2,000
เฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ 1,300
วีแชต 1,165
อินสตาแกรม 1,000
ติ๊กต็อก 800
คิวคิว 731
QZone 517
ซินล่างเวย์ปั๋ว 516
เรดดิต 430
Kuaishou 400
Snapchat 398
ทวิตเตอร์ 386
พินเทอเรสต์ 366
โต้วป้าน 320
ลิงกต์อิน 310

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ

แก้

ทางจิตวิทยา[ใคร?]

แก้
  • เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในวิธีชักจูงที่ง่ายที่สุด เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านช่องทางนี้ จะไปได้กว้างและค่อนข้างเร็ว
  • เครือข่ายสังคมเป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัว เนื่องจากมีเหตุร้ายหลายประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเครือข่ายสังคม ฉะนั้นจึงไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว รวมถึงไปสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแล้วก็ตาม
  • การใช้ซอฟต์แวร์เสรีหรือเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมขึ้นมาเองนั้นปลอดภัยกว่าการใช้เครือข่ายสังคมที่มีชื่อเสียง

ในแง่การใช้งาน

แก้

ความเป็นส่วนตัว

แก้

ในปัจจุบันระบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวค่อนข้างจะละเอียดมากขึ้น แต่ในมุมหนึ่งก็เป็นดาบสองคมเพราะว่าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสูงก็มักจะมีผู้ไม่หวังดีแอบเอาข้อมูลปลอมหรือทำในทางไม่ดีกับบุคคลเหล่านั้นได้ โดยโซโช่วเนตเวอร์คตัวใหม่ๆมักจะมีระบบความเป็นส่วนตัวที่ละเอียดยิ่งขึ้น ปัญหาความเป็นส่วนตัวในหลายๆกรณีมักจะสื่อถึงจิตใจคนได้อย่างมากรวมถึงระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์เก่าๆนั้นที่จะต้องมีระบบการเพิ่มรายชื่อเพื่อนกับการรับเพื่อน

การแจ้งเตือน

แก้

สำหรับบางเว็บไซต์จะไม่มีการแจ้งเตือนเช่น วิกิพีเดีย มายสเปซ ซึ่งการแจ้งเตือนคือเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นเคลื่อนไหวอะไรก็จะส่งข้อความมาถึงเรา

เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะไม่มีการแจ้งเตือนเรื่องการลบเพื่อนออก

การคุ้มครองเด็ก

แก้

ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยจะมีระบบการคุ้มครองเด็กเท่าที่ควร เพราะยังเน้นต้องการโฆษณาเว็บไซต์ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก และรวมถึงทั้งแฟนเพจต่างๆของเฟดบุกที่ไม่คุ้มครองอาจจะนำพาสู่ความไม่ดีต่อเด็กเป็นได้

การก่อกวน

แก้

เครือข่ายสังคมย่อมมาพร้อมกับการก่อกวน เพราะเนื่องจากเกมส์ออนไลน์เริ่มมีมาก่อน และการก่อกวนนั้นจะก่อให้เกิดความโมโหการรำคาญเพียงเพื่อความสนุก เช่น การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอม การใส่ภาพที่ไม่เหมาะสม หรือการว่าร้าย เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. "Orkut, Friendster Get Second Chance Overseas". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-05-21.
  2. "Most famous social network sites worldwide as of April 2020, ranked by number of active users (in millions)". Statista. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 25, 2018.