มิลินทปัญหา

มิลินท์ปัญหา

มิลินทปัญหา (บาลี: Milinda Pañha, มิลินฺทปญฺห), นาคเสนภิกษุสูตร (สันสกฤต: Nāgasenabhiksusūtra, นาคเสนภิกฺษุสูตร) หรือ ปัญหาพระยามิลินท์[1] เป็นเอกสารทางศาสนาพุทธช่วง 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศักราช 200 อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสน (Nāgasena, นาคเสน) นักบวชทางพุทธศาสนา กับพระยามิลินท์ (Milinda, มิลินฺท) หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 แห่งแบ็กเตรีย[2] กษัตริย์ชาวโยนก (คือชาวกรีก) ผู้ครองกรุงสาคละ[3] (Sagala; ปัจจุบันคือเมืองซีอัลโกต ประเทศปากีสถาน) โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงการปุจฉาวิสัชนาเกี่ยวกับปัญหาหลักธรรมต่าง ๆ ตั้งแต่หลักธรรมพื้นฐานไปจนถึงหลักธรรมชั้นสูงคือการบรรลุนิพพาน ผู้อ่านสามารถเข้าใจหลักธรรมทางพุทธศาสนาได้โดยง่าย[4]

พระยามิลินท์ขณะมีพระราชปุจฉาต่อพระนาคเสน

มิลินทปัญหา ได้รับการยกย่องอย่างมากในประเทศพม่า โดยถูกรวมไว้ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีหมวดขุททกนิกาย[5] ส่วนฉบับย่อถูกรวมไว้ในพระคัมภีร์ของนิกายมหายานฉบับภาษาจีน ในประเทศไทยเพิ่งมีการแปล มิลินทปัญหา จากภาษาสิงหลเป็นไทยครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล[4]

ในเอกสารฉบับจีนมี นาคเสนภิกษุสูตร[6] ซึ่งเนื้อหาสอดคล้องกับสามบทแรกของ มิลินทปัญหา[7] ถูกแปลในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก ตรงกับ ค.ศ. 317–420[8]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. "มิลินทปัญหา ตอนที่ ๑๑". ธรรมะไทย. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ส. สีมา (9 ธันวาคม 2559). "เมแนนเดอร์-พระยามิลินท์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "มิลินทปัญหา ตอนที่ ๑". ธรรมะไทย. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "มิลินทปัญหา". ริมขอบฟ้า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-05. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Kelly 2005.
  6. ดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมหา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 116
  7. Rhys Davids 1894, pp. xi–xiv.
  8. http://www.nichirenlibrary.org/en/dic/Content/M/106
บรรณานุกรม