มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (อังกฤษ: Martin Luther King, Jr.; 15 มกราคม พ.ศ. 2472 - 4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นศาสนาจารย์และนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกัน-อเมริกัน
มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ | |
---|---|
ประธานคนแรกแห่ง Southern Christian Leadership Conference | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มกราคม ค.ศ.1957 – 4 เมษายน ค.ศ.1968 | |
ก่อนหน้า | เพิ่งก่อตั้ง |
ถัดไป | ราล์ฟ อเบอร์นาธี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไมเคิล คิง จูเนียร์ 15 มกราคม ค.ศ. 1929 แอตแลนตา, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐ |
เสียชีวิต | 4 เมษายน ค.ศ. 1968 เมมฟิส, สหรัฐ | (39 ปี)
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร |
ที่ไว้ศพ | Martin Luther King Jr. National Historical Park |
คู่สมรส | โคเร็ตตา สก็อตต์ (สมรส 1953) |
บุตร | โยแลนดา มาร์ติน เด็กซ์เตอร์ เบอร์นิซ |
บุพการี | มาร์ติน ลูเทอร์ คิง ซีเนียร์ อัลเบอร์ตา วิลเลียมส์ คิง |
ความสัมพันธ์ | คริสติน คิง ฟาร์ริส (พี่สาว) อัลเฟรด แดเนียล วิลเลียม คิง (น้องชาย) อัลเวดา คิง (หลานสาว) |
การศึกษา | Morehouse College (BA) Crozer Theological Seminary (BDiv) มหาวิทยาลัยบอสตัน (PhD) |
อาชีพ | ศาสนาจารย์, activist |
เป็นที่รู้จักจาก | Civil rights movement, Peace movement |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1964) เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี (1977, หลังมรณกรรม) Congressional Gold Medal (2004, หลังมรณกรรม) |
อนุเสาวรีย์ | Martin Luther King Jr. Memorial |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เกิดในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ใน พ.ศ. 2472 (1929) เป็นบุตรของศิษยาภิบาลคณะแบปทิสต์ ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเขาเสมอมา เนื่องจากทั้งพ่อและปู่ของเขาเป็นนักเทศน์ในนิกายแบปทิสต์ (Baptist) เขาเรียนผ่านชั้นมัธยมปลายได้อย่างง่ายดาย แต่โดนทำร้ายรุนแรง โดยเรียนจบเมื่ออายุได้ 15 ปีเท่านั้น จากนั้นจึงได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ มอร์เฮาส์ คอเลจ (Morehouse College) และใช้เวลาอีกสามปีเพื่อศึกษาด้านเทววิทยาที่ Crozer Seminary เขาเรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบอสตัน[1]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ขณะที่เรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบอสตันอยู่ เขาได้พบกับ คอเร็ดดา สกอตต์ ภรรยาของเขาซึ่งภายหลังทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 4 คน คิงและครอบครัวตั้งรกรากกันที่เมืองมอนต์กอเมอรี ในรัฐแอละแบมา (Montgomery, Alabama) ที่ซึ่งเขาได้เป็นนักเทศน์คนที่ 20 ของโบสถ์แบ๊บติสต์บนถนนเด็กซ์เตอร์ เอเวนิว (Dexter Avenue Baptist Church)
การสุนทรพจน์ว่าด้วยการเหยียดสีผิว
แก้เหตุการณ์ในปี 1955 ที่หญิงผิวสี โรซา พาร์คส์ ถูกจับเนื่องจากปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์เมืองมอนต์กอเมอรีให้กับชายผิวขาว เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่คุกรุ่นอยู่แล้วเกิดร้อนระอุขึ้นมา
“การคว่ำบาตรระบบรถขนส่งมวลชนในมอนกอเมอรี รัฐอะลาแบมา ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะเขาได้วางแผนมันอย่างดี และทำงานร่วมกับหลายคน เพื่อให้คนในเมืองมอนต์กอเมอรี อะลาแบมาเข้าใจว่าพวกเขาจะไม่ทนกับเรื่องแบบนี้อีกต่อไป”
ประสบการณ์ ความทุ่มเท และการเป็นที่รู้จักในชุมชนของคิง ทำให้เขามีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นผู้นำในการคว่ำบาตรรถขนส่งมวลชนของเมืองซึ่งยาวนานถึง 381 วัน ในวันที่ 20 ธันวาคม 1956 ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวบนรถเมล์เป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวสี และเป็นเครื่องยืนยันว่าการประท้วงแบบไร้ความรุนแรงของคิงได้ผล
ถึงตอนนี้ คิงเป็นตัวแทนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่รู้จักไปทั้งประเทศ เขาถูกคุมขังมากกว่า 20 ครั้ง เคยถูกแทงที่หน้าอก บ้านเคยถูกวางระเบิด นอกจากนี้ ทั้งเขาและครอบครัวก็โดนทำร้ายนับครั้งไม่ถ้วน สำหรับชายที่ต้องการต่อสู้อย่างไร้ความรุนแรง ชีวิตส่วนใหญ่ของเขากลับตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างไม่ว่างเว้น แต่กระนั้น การคุกคามไม่เคยหยุดเขาได้
“ดร.คิงเป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายพัน ผ่านการพูดที่คมคายและความกล้าหาญของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังบ้านเขาถูกวางระเบิด ทั้งภรรยา ลูกและตัวเขายังแสดงออกว่าพวกเขาพร้อมจะเสี่ยงชีวิตในการเรียกร้องเสรีภาพนี้”
คิงทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อส่งเสริมในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า และตั้งแต่ 1957-1968 เขาเดินทางเป็นระยะทางกว่า 6 ไมล์ กล่าวสุนทรพจน์ 250,000 ครั้ง เขียนหนังสือ 5 เล่ม และบทความอีกมากมาย การทำงานหนักและความสามารถในการสื่อสารของเขาทำให้เขาเป็นที่นับถือมาก จนประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ยังยอมให้เขาเข้าพบเป็นการส่วนตัวด้วย
ในจำนวนสุนทรพจน์ทั้งหมดที่ด๊อกเตอร์คิงเคยกล่าว ไม่มีอันใดเป็นอมตะไปกว่า สุนทรพจน์ "ผมมีฝัน" (I Have a Dream) ที่กล่าว ณ ขั้นบันไดของอนุสาวรีย์ลินคอล์นอันเป็นสัญลักษณ์ ในปี 1963 ต่อหน้ามวลชนกว่า 250,000 คน ทั้งผิวขาวและผิวสี
คิงกลายมาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดมากในสหรัฐ จนกระทั่งนิตยสาร ไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น “บุรุษแห่งปี” ในปี 1963 เป็นรางวัลที่น่าพอใจแน่นอน แต่กลับดูเป็นเรื่องเล็กไปเมื่อในปี 1964 เขาได้เป็นชายอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ขณะที่อยู่ในเมืองเมมฟิสเพื่อนำการเดินขบวนประท้วงปกป้องสิทธิของคนงานขนขยะที่สไตรค์หยุดงานเมื่อปี 1968 คิงได้กล่าวสุนทรพจน์ปลุกใจที่มีชื่อว่า “ข้าพเจ้าได้ไปถึงยอดเขา” (I’ve Been to The Mountain Top) ซึ่งจะเป็นสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา ขณะที่ยืนอยู่บนระเบียงชั้นสองหน้าห้องที่โรงแรมลอเรน ในเมืองเมมฟิส คิงถูกลอบยิงและเสียชีวิต
ในปี 1983 ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ได้ลงนามในประกาศทางการที่กำหนดให้ทุกวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเป็นวัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเพื่อเฉลิมฉลองให้ชายผู้นี้และทุกสิ่งที่เขายืนหยัดต่อสู้มา
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-02-24.
- Chernus, Ira (2004). "Chapter 11". American Nonviolence: The History of an Idea. Orbis Books. ISBN 1570755477.
- Garrow, David J (1981). The FBI and Martin Luther King, Jr. Penguin Books. ISBN 0140064869.
- Jackson, Thomas F. (2006). From Civil Rights to Human Rights: Martin Luther King, Jr., and the Struggle for Economic Justice. University of Pennsylvania Press. ISBN 9780812239690.
- King, Coretta Scott (1993) [1969]. My Life with Martin Luther King, Jr. Henry Holth & Co. ISBN 080502445X.
- Kirk, John A. (2005). Martin Luther King, Jr. Pearson Longman. ISBN 0582414318.
- Lindgren, Carl Edwin. "Resurrection City". Southern Exposure. XX (1 Spring 1992): 7.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สุนทรพจน์ I Have a Dream พร้อมไฟล์เสียง เก็บถาวร 2007-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1963) |
ลินดอน บี. จอห์นสัน |