"ผมมีฝัน" (อังกฤษ: I Have a Dream) เป็นสุนทรพจน์สาธารณะโดยนักกิจกรรมสิทธิพลเมืองชาวอเมริกัน มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ระหว่างการเดินขบวนสู่วอชิงตันเพื่ออาชีพและเสรีภาพในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1963 ซึ่งเขาเรียกร้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ และยุติคตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ มีผู้ฟังเป็นผู้สนับสนุนสิทธิพลเมืองกว่า 250,000 คน จากทั่วประเทศอนุสรณ์สถานลินคอล์นในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สุนทรพจน์นี้เป็นขณะที่นิยามขบวนการสิทธิพลเมือง และถือเป็นสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงมากเป็นอันดับต้น ๆ ในประวัติศาสตร์สหรัฐ[2][3]

มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวสุนทรพจน์ "ผมมีฝัน"
เสียงจากแหล่งข้อมูลภายนอก
audio icon ผมมีฝัน, 28 สิงหาคม 1963, Educational Radio Network[1]

เริ่มต้นด้วยการพาดพิงถึงการประกาศเลิกทาสของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอร์น ใน ค.ศ. 1863[4] คิงกล่าวว่า "หนึ่งร้อยปีต่อมา เนโกรยังไม่มีอิสระ"[5] ในช่วงปลายสุนทรพจน์ คิงพูดนอกเหนือจากข้อความที่เตรียมไว้โดยเป็นบทสรุปที่คิดขึ้นสด ๆ ส่วนหนึ่งในแก่น "ผมมีฝัน" ทำให้มาฮาเลีย แจ็กสันร่ำไห้ "บอกพวกเขาเกี่ยวกับฝันสิมาร์ติน!"[6] ในสุนทรพจน์ส่วนนี้ ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุดและเป็นส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของสุนทรพจน์นี้ คิงอธิบายฝันของเขาที่เสรีภาพและความเสมอภาคถือกำเนิดขึ้นจากแผ่นดินทาสและความเกลียดชัง จอน มีชัมเขียนว่า "ด้วยวลีเดียว มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนอร์อยู่ในชั้นเดียวกับเจฟเฟอร์สันและลินคอร์นเป็นชายผู้ก่อร่างอเมริกาสมัยใหม่"[7] สุนทรพจน์นี้จัดเป็นสุนทรพจน์ของอเมริกาอันดับแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการสำรวจความเห็นของนักวิชาการสุนทรพจน์สาธารณะ[8]

อ้างอิง

แก้
  1. "Special Collections, March on Washington, Part 17". Open Vault. at WGBH. August 28, 1963. สืบค้นเมื่อ September 15, 2016.
  2. Hansen, D, D. (2003). The Dream: Martin Luther King Jr. and the Speech that Inspired a Nation. New York, NY: Harper Collins. p. 177. OCLC 473993560.
  3. Tikkanen, Amy (August 29, 2017). "I Have a Dream". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ May 7, 2019.
  4. I Have a Dream: Martin Luther King Jr. and the Future of Multicultural America, James Echols – 2004
  5. Alexandra Alvarez, "Martin Luther King's 'I Have a Dream': The Speech Event as Metaphor", Journal of Black Studies 18(3); doi:10.1177/002193478801800306.
  6. See Taylor Branch, Parting the Waters: America in the King Years 1954–1963.
  7. Meacham, Jon (August 26, 2013). "One Man". Time. p. 26.
  8. Stephen Lucas and Martin Medhurst (December 15, 1999). "I Have a Dream Speech Leads Top 100 Speeches of the Century". University of Wisconsin–Madison. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ July 18, 2006.

38°53′21.4″N 77°3′0.5″W / 38.889278°N 77.050139°W / 38.889278; -77.050139