มัชฌิมเรขาคณิต
ในวิชาคณิตศาสตร์ มัชฌิมเรขาคณิต เป็นค่ามัชฌิมหรือค่าเฉลี่ยที่บ่งบอกถึงแนวโน้มสู่ส่วนกลางของจำนวนชุดหนึ่งด้วยผลคูณของค่าแต่ละค่า (ต่างจากมัชฌิมเลขคณิตซึ่งใช้ผลบวกของค่าแต่ละค่า) นิยามของมัชฌิมเรขาคณิตคือรากที่ n ของผลคูณของจำนวน n จำนวน กล่าวได้ว่า สำหรับชุดของจำนวน a1, a2, ..., an มัชฌิมเรขาคณิตมีนิยามเป็น
หรือแสดงออกโดยสมมูลกันเป็นมัชฌิมเลขคณิตของแต่ละจำนวนในมาตราส่วนลอการิทึม
ยกตัวอย่าง มัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนสองจำนวน อาทิ 2 กับ 8 เป็นรากที่สอง (square root) ของผลคูณของทั้งสองจำนวน นั่นคือ ยกอีกตัวอย่างหนึ่ง มัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนสามจำนวน 4, 1, และ 1/32 เป็นรากที่สามของผลคูณของทั้งสามจำนวน (1/8) นั่นก็คือ 1/2 กล่าวคือ มัชฌิมเรขาคณิตใช้ได้กับจำนวนบวกเท่านั้น[a]
มัชฌิมเรขาคณิตมักถูกใช้สำหรับชุดของจำนวนซึ่งจะนำมาคูณกันหรือมีลักษณะเป็นเลขยกกำลัง เช่นตัวเลขการเติบโตต่าง ๆ อาทิจำนวนประชากรโลกหรืออัตราดอกเบี้ยของการลงทุนทางการเงินเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ โดยมีประโยชน์สำหรับการคำนวณค่ามัชฌิมของอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้น (speedup) เพราะค่ามัชฌิมของจำนวน 0.5x (ช้าลงครึ่งหนึ่ง) กับ 2x (เร็วขึ้นสองเท่า) จะเป็นจำนวนเท่ากับ 1 (ไม่เร็วขึ้น)
สามารถทำความเข้าใจมัชฌิมเรขาคณิตในแง่ของเรขาคณิตได้ มัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนสองจำนวน กับ เป็นความยาวของด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านยาว และ มัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนสามจำนวนก็คล้ายกัน มัชฌิมเรขาคณิตของ , , กับ เป็นความยาวของสันหนึ่งของทรงลูกบาศก์ซึ่งมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (cuboid) ที่แต่ละสันยาวเท่ากับจำนวนสามจำนวนที่กำหนดมา
มัชฌิมเรขาคณิตเป็นหนึ่งในสามค่ามัชฌิมพีทาโกรัสเช่นเดียวกับมัชฌิมเลขคณิตและมัชฌิมฮาร์มอนิก (harmonic mean) สำหรับชุดข้อมูลจำนวนบวกทุกชุดซึ่งมีสองจำนวนที่มีไม่เท่ากันเป็นอย่างน้อย มัชฌิมฮาร์มอนิกจะมีค่าน้อยที่สุดเสมอ มัชฌิมเลขคณิตจะมีค่ามากที่สุดจากมัชฌิมทั้งสามชนิด และมัชฌิมเรขาคณิตจะอยู่ระหว่างทั้งสองค่า (ดูที่อสมการของมัชฌิมเลขคณิตและเรขาคณิต (Inequality of arithmetic and geometric means))
การคำนวณ
แก้มัชฌิมเรขาคณิตของชุดข้อมูล มีนิยามเป็น:
สมการนี้ใช้สัญกรณ์ π ตัวใหญ่เพื่อแสดงถึงการคูณเป็นลำดับ ทั้งสองฝั่งของสมการแสดงการคูณค่าชุดหนึ่งตามลำดับ ("n" คือจำนวนของค่าทั้งหมด) เพื่อให้ได้ผลคูณรวมของเซต จากนั้นจึงหารากที่ n ของผลคูณรวมเพื่อหาค่ามัชฌิมเรขาคณิตของชุดข้อมูล ตัวอย่างเช่น หากมีเซตของจำนวนสี่จำนวน ผลคูณของ เท่ากับ แล้วค่ามัชฌิมเรขาคณิตจะเท่ากับรากที่สี่ของ 24 หรือประมาณ 2.213 เลขชี้กำลัง ที่ฝั่งซ้ายแสดงถึงการหารากที่ n กล่าวคือ .
การคำนวณด้วยการทำซ้ำ
แก้มัชฌิมเรขาคณิตของชุดข้อมูลชุดหนึ่งจะน้อยกว่ามัชฌิมเลขคณิตของชุดข้อมูลนั้น ยกเว้นหากสมาชิกทุกตัวในชุดข้อมูลมีค่าเท่ากัน ในกรณีนี้ค่ามัชฌิมเรขาคณิตและเลขคณิตจะมีค่าเท่ากัน เหตุนี้ทำให้สามารถให้นิยามค่ามัชฌิมเลขคณิต-เรขาคณิต (arithmetic-geometric mean) ได้ ซึ่งเป็นส่วนร่วมกันระหว่างทั้งสองที่จะให้ค่าออกมาระหว่างทั้งสองค่านั้นเสมอ
มัชฌิมเรขาคณิตคือ มัชฌิมเลขคณิต-ฮาร์มอนิก ด้วย ในแง่ที่หากมีลำดับอยู่สองลำดับ ( และ ) ที่มีนิยามว่า:
และ
โดยที่ คือมัชฌิมเลขคณิตและ คือมัชฌิมฮาร์มอนิกของค่าในลำดับก่อน ๆ ของทั้งสองลำดับ แล้ว และ จะลู่เข้าหาค่าของมัชฌิมเรขาคณิตของ และ ทั้งสองลำดับจะลู่เข้าหาลิมิตเดียวกัน และคงสภาพของมัชฌิมเรขาคณิตไว้:
และได้ผลลัพธ์เดียวกันเมื่อแทนที่มัชฌิมเลขคณิตกับฮาร์มอนิกด้วยมัชฌิมทั่วไป (generalized mean) สองค่าที่มีเลขชี้กำลัง เป็นจำนวนจำกัดที่มีค่าตรงข้ามกัน เช่น 1 กับ -1
ความสัมพันธ์กับลอการิทึม
แก้มัชฌิมเรขาคณิตสามารถถูกแสดงออกในรูปเลขชี้กำลังของมัชฌิมเลขคณิตของลอการิทึมได้[4] การคูณสามารถแสดงออกเป็นผลรวมและการยกกำลังสามารถแสดงออกเป็นการคูณได้โดยใช้เอกลักษณ์ลอการิทึมเพื่อแปลงสภาพของสูตร:
โดยที่
- เพราะ
หรือสามารถใช้ฐานเป็นจำนวนจริงบวกใด ๆ ก็ตามทั้งในลอการิทึมและเลขยกกำลัง
นอกจากนั้น หากให้ เป็นจำนวนลบได้
โดยที่ m คือจำนวนของจำนวนลบ
นี่บางครั้งถูกเรียกว่า log-average (อย่าสับสนกับมัชฌิมลอการิทึม (logarithmic average)) เพราะเป็นการคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิตของค่า ที่ถูกแปลงเป็นรูปลอการิทึม (กล่าวคือเป็นมัชฌิมเลขคณิตในมาตราส่วนลอการิทึม) แล้วจากนั้นใช้การยกกำลังเพื่อแปลงการคำนวณกลับไปยังมาตราส่วนเดิม นั่นคือ เป็นมัชฌิมกึ่งเลขคณิต (Quasi-arithmetic mean) ที่ ตัวอย่างเช่น มัชฌิมเรขาคณิตของ 2 กับ 8 สามารถคำนวณหาได้ดังนี้ โดย เป็นฐานค่าใดก็ตามของลอการิทึม (โดยทั่วไปจะเท่ากับ 2 ค่า หรือ 10):
สำหรับชุดข้อมูล เราสามารถมองค่ามัชฌิมเรขาคณิตได้ว่าเป็นค่าที่จะให้ค่าต่ำสุดของฟังก์ชัน
- ,
โดยทั่วไป รูปลอการิทึมเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการปฏิบัติใช้มัชฌิมเรขาคณิตในภาษาคอมพิวเตอร์ เพราะการคำนวณผลคูณของจำนวนหลายจำนวนอาจนำให้เกิดสภาวะน้อยเกินเก็บ (arithmetic underflow) หรือสภาวะมากเกินเก็บเลขคณิต (arithmetic overflow) ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยกว่าในกรณีของการหาผลรวมของลอการิทึมของจำนวนแต่ละจำนวน
เปรียบเทียบกับมัชฌิมเลขคณิต
แก้มัชฌิมเรขาคณิตของชุดข้อมูลของจำนวน (บวก) จะมีค่ามากที่สุดไม่เกินไปกว่ามัชฌิมเลขคณิตของมันเสมอ และจะเท่ากันก็ต่อเมื่อทุก ๆ จำนวนในชุดข้อมูลมีค่าเท่ากัน มิเช่นนั้นมัชฌิมเรขาคณิตจะมีค่าน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น มัชฌิมเรขาคณิตของ 2 กับ 3 คือ 2.45 ในขณะที่มัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 2.5
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายความว่าเมื่อเซตของจำนวนที่ไม่เหมือนกันถูกทำให้กระจายโดยคงสภาพมัชฌิม (mean-preserving spread) กล่าวคือสมาชิกของเซต "กระจายออกจากกัน" มากขึ้นแต่ไม่ทำให้มัชฌิมเลขคณิตเปลี่ยนไป มัชฌิมเรขาคณิตจะมีค่าน้อยลง[6]
อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย
แก้ในบางกรณี มัชฌิมเรขาคณิตเป็นค่าที่ใช้วัดอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของปริมาณจำเพาะหนึ่งได้ดี อาทิหากคำสั่งซื้อต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และร้อยละ 25 ในปีถัดไป ผลจะเท่ากับการมีอัตราการเติบโตคงที่ร้อยละ 50 เพราะมัชฌิมเรขาคณิตของ 1.80 กับ 1.25 คือ 1.50 ในการหาอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย ไม่จำเป็นต้องหาผลคูณของอัตราการเติบโตที่วัดได้มาในทุก ๆ ขั้น หากให้ปริมาณมาเป็นลำดับของ โดยที่ คือจำนวนขั้นจากเริ่มต้นจนจบ อัตราการเติบโตระหว่างการวัดแต่ละครั้ง และ คือ มัชฌิมเรขาคณิตของอัตราการเติบโตเหล่านี้จึงเท่ากับ:
การประยุกต์ใช้กับค่าที่ถูกทำให้เป็นบรรทัดฐาน
แก้สมบัติพื้นฐานของมัชฌิมเรขาคณิตซึ่งมัชฌิมชนิดอื่น ๆ ไม่มีคือ หากมีลำดับสองลำดับ และ ที่ความยาวเท่ากัน
จะทำให้มัชฌิมเรขาคณิตเป็นมัชฌิมชนิดเดียวที่ถูกต้องเมื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ซึ่งถูกทำให้เป็นบรรทัดฐาน (normalized) กล่าวคือผลลัพธ์ซึ่งแสดงออกเป็นอัตราส่วนกับค่าอ้างอิง[7] กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อต้องการแสดงประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่นำมาอ้างอิง หรือเมื่อต้องการคำนวณดัชนีค่าเฉลี่ยค่าเดียวจากแหล่งที่ไม่เป็นแบบเดียวกัน (เช่นการคาดหมายคงชีพ ระยะเวลาการศึกษา และอัตราการเสียชีวิตทารก) ในสถานการณ์เหล่านี้ การใช้มัชฌิมเลขคณิตหรือฮาร์มอนิกจะเปลี่ยนการจัดลำดับของผลลัพธ์โดยขึ้นอยู่กับค่าที่ใช้อ้างอิง ยกตัวอย่างเช่นการเปรียบเทียบเวลากระทำการของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
ตาราง 1
คอมพิวเตอร์ A | คอมพิวเตอร์ B | คอมพิวเตอร์ C | |
---|---|---|---|
โปรแกรม 1 | 1 | 10 | 20 |
โปรแกรม 2 | 1000 | 100 | 20 |
มัชฌิมเลขคณิต | 500.5 | 55 | 20 |
มัชฌิมเรขาคณิต | 31.622 . . . | 31.622 . . . | 20 |
มัชฌิมฮาร์มอนิก | 1.998 . . . | 18.182 . . . | 20 |
ทั้งมัชฌิมเลขคณิตและเรขาคณิตเห็นพ้องกันว่าคอมพิวเตอร์ C มีความเร็วประมวลผลสูงที่สุด ทว่าเมื่อเราแสดงด้วยค่าที่ถูกทำให้เป็นบรรทัดฐานอย่างถูกต้องแล้ว แล้วใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต เราแสดงให้เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด หากใช้ A เป็นบรรทัดฐานและอ้างอิงตามมัชฌิมเลขคณิต A จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด:
ตาราง 2
คอมพิวเตอร์ A | คอมพิวเตอร์ B | คอมพิวเตอร์ C | |
---|---|---|---|
โปรแกรม 1 | 1 | 10 | 20 |
โปรแกรม 2 | 1 | 0.1 | 0.02 |
มัชฌิมเลขคณิต | 1 | 5.05 | 10.01 |
มัชฌิมเรขาคณิต | 1 | 1 | 0.632 . . . |
มัชฌิมฮาร์มอนิก | 1 | 0.198 . . . | 0.039 . . . |
ในขณะที่หากใช้ B เป็นบรรทัดฐานและอ้างอิงตามมัชฌิมเลขคณิต คอมพิวเตอร์ B จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด แต่หากอ้างอิงตามมัชฌิมฮาร์มอนิก คอมพิวเตอร์ A จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด:
ตาราง 3
คอมพิวเตอร์ A | คอมพิวเตอร์ B | คอมพิวเตอร์ C | |
---|---|---|---|
โปรแกรม 1 | 0.1 | 1 | 2 |
โปรแกรม 2 | 10 | 1 | 0.2 |
มัชฌิมเลขคณิต | 5.05 | 1 | 1.1 |
มัชฌิมเรขาคณิต | 1 | 1 | 0.632 |
มัชฌิมฮาร์มอนิก | 0.198 . . . | 1 | 0.363 . . . |
และเมื่อใช้ C เป็นบรรทัดฐานและอ้างอิงตามมัชฌิมเลขคณิต คอมพิวเตอร์ C จะเร็วที่สุด แต่เมื่ออ้างอิงตามมัชฌิมฮาร์มอนิก คอมพิวเตอร์ A จะเร็วที่สุด:
ตาราง 4
คอมพิวเตอร์ A | คอมพิวเตอร์ B | คอมพิวเตอร์ C | |
---|---|---|---|
โปรแกรม 1 | 0.05 | 0.5 | 1 |
โปรแกรม 2 | 50 | 5 | 1 |
มัชฌิมเลขคณิต | 25.025 | 2.75 | 1 |
มัชฌิมเรขาคณิต | 1.581 . . . | 1.581 . . . | 1 |
มัชฌิมฮาร์มอนิก | 0.099 . . . | 0.909 . . . | 1 |
ในทุก ๆ กรณี ลำดับความเร็วที่อ้างอิงตามมัชฌิมเรขาคณิตคงลำดับเดิมเหมือนกับที่ได้จากค่าที่ยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นบรรทัดฐาน
อย่างไรก็ตาม การให้เหตุผลแนวนี้ถูกตั้งคำถาม[8] การได้ผลลัพธ์อย่างคงเส้นคงวาไม่ได้หมายความว่าเป็นผลลัพธ์ที่ถูกต้องเสมอไป โดยทั่วไปแล้ว จะเข้มงวดกว่าหากกำหนดให้แต่ละโปรแกรมมีน้ำหนักของตัวเอง คำนวณเวลากระทำการเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (ด้วยมัชฌิมเลขคณิต) แล้วนำผลลัพธ์นั้นมาใช้เป็นบรรทัดฐานกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ทั้งสามตารางด้านบนเพียงแต่กำหนดน้ำหนักให้กับแต่ละโปรแกรมต่างกัน เป็นเหตุที่ผลลัพธ์ของมัชฌิมเลขคณิตกับฮาร์มอนิกไม่สอดคล้องกัน (ตาราง 4 ให้น้ำหนักกับทั้งสองโปรแกรมเท่ากัน ตาราง 2 ให้น้ำหนัก 1/1000 กับโปรแกรมที่สอง และตาราง 3 ให้น้ำหนัก 1/100 กับโปรแกรมที่สองและน้ำหนัก 1/10 กับโปรแกรมที่หนึ่ง) ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานมัชฌิมเรขาคณิตในการรวบรวมตัวเลขสมรรถภาพ เพราะการคูณเวลากระทำการด้วยกันไม่มีนัยทางกายภาพใด ๆ ซึ่งต่างจากการบวกเข้าด้วยกันสำหรับมัชฌิมเลขคณิต ตัวชี้วัดซึ่งเป็นสัดส่วนผกผันกับเวลา (เช่นอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นหรือคำสั่งต่อรอบ (Instructions per cycle)) ควรเฉลี่ยด้วยมัชฌิมฮาร์มอนิก
มัชฌิมเรขาคณิตและมัชฌิมเรขาคณิตถ่วงน้ำหนักสามารถหาได้จากลิมิตของมัชฌิมทั่วไปเมื่อกำหนดให้เลขชี้กำลัง มีค่าเข้าใกล้ศูนย์
มัชฌิมเรขาคณิตของฟังก์ชันต่อเนื่อง
แก้หาก เป็นฟังก์ชันค่าจริงบวกต่อเนื่อง มัชฌิมเรขาคณิตของมันในช่วงนี้คือ
ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันเอกลักษณ์ ในช่วงหนึ่งหน่วยแสดงให้เห็นว่ามัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนบวกระหว่าง 0 กับ 1 เท่ากับ
การประยุกต์ใช้
แก้การเติบโตตามสัดส่วน
แก้มัชฌิมเรขาคณิตเหมาะสมต่อการอธิบายการเติบโตตามสัดส่วนมากกว่ามัชฌิมเลขคณิต ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตแบบเลขชี้กำลัง (exponential growth) (การเติบโตตามสัดส่วนที่คงที่) หรือการเติบโตแบบแปรผัน มัชฌิมเรชาคณิตของอัตราการเติบโตเป็นที่รู้จักในสาขาบริหารธุรกิจว่าอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (compound annual growth rate; CAGR) มัชฌิมเรขาคณิตของการเติบโตในช่วงเวลาระยะหนึ่งให้ผลลัพธ์เป็นอัตราการเติบโตแบบคงที่ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ในตอนสุดท้ายเท่ากัน
สมมุติว่าต้นส้มออกผลส้ม 100 ลูกในปีหนึ่ง จากนั้น 180, 210 และ 300 ลูกในปีถัด ๆ ไป อัตราการเติบโตของแต่ละปีจึงเท่ากับร้อยละ 80, 16.6666 และ 42.8571 ตามลำดับ เมื่อเราคำนวณหาอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย (เชิงเส้น) ด้วยมัชฌิมเลขคณิตได้เท่ากับร้อยละ 46.5079 (80% + 16.6666% + 42.8571% แล้วหารด้วย 3) แต่หากเราเริ่มจากส้ม 100 ลูกและให้ออกผลเติบโตร้อยละ 46.5079 ต่อปี ผลลัพธ์จะได้ผลส้ม 314 ลูก ซึ่งไม่ใช่ 300 ค่าเฉลี่ยเชิงเส้นจึงให้ผลลัพธ์ที่เกินจริงไปจากการเติบโตต่อปี
แต่หากเราใช้มัชฌิมเรขาคณิตแทน การเติบโตร้อยละ 80 คือการคูณด้วย 1.80 เราจึงหามัชฌิมเรขาคณิตของ 1.80, 1.166666 และ 1.428571 กล่าวคือ ดังนั้น อัตราการเติบโต "โดยเฉลี่ย" ต่อปีจึงเท่ากับร้อยละ 44.2249 หากเราเริ่มจากส้ม 100 ลูกและให้ออกผลเติบโตร้อยละ 44.2249 ต่อปี ผลลัพธ์จะได้ผลส้ม 300 ลูก
การเงิน
แก้มีการนำมัชฌิมเรขาคณิตมาใช้คำนวณดัชนีทางการเงินต่าง ๆ (การเฉลี่ยแต่ละองค์ประกอบของดัชนี) เช่นในอดีตดัชนีเอฟที 30 (FT 30) ใช้มัชฌิมเรขาคณิต[9] ดัชนีวัดอัตราเงินเฟ้อ RPIJ ของสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปก็ใช้เช่นกัน[10]
นี่ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวภายในดัชนีถูกแสดงออกมาในระดับที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับการใช้มัชฌิมเลขคณิต[9]
สังคมศาสตร์
แก้แม้จะหาการใช้มัชฌิมเรขาคณิตในการคำนวณสถิติทางสังคมได้ยากพอสมควร แต่เมื่อ ค.ศ. 2010 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติได้เปลี่ยนมาคำนวณด้วยวิธีนี้ โดยให้เหตุผลว่าสะท้อนภาพธรรมชาติของสถิติที่รวบรวมมาและนำมาเปรียบเทียบอันไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้ได้ดีกว่าเดิม:
มัชฌิมเรขาคณิตลดระดับการทดแทนกันได้ของแต่ละมิติ และรับรองว่าการลดลงร้อยละ 1 ของการคาดหมายคงชีพเมื่อกำเนิดเป็นต้นจะส่งผลต่อดัชนี HDI เท่ากับการลดลงร้อยละ 1 ในการศึกษาหรือรายได้ ดังนั้น การใช้วิธีการนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ จะเคารพความแตกต่างในตัวเองของแต่ละมิติมากกว่าวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบง่าย[11]
รายได้ที่กระจายอย่างเท่าเทียมสวัสดิการเทียบเท่าของดัชนีแอตคินสัน (Atkinson Index) ที่มีตัวแปรความรังเกียจความไม่เท่าเทียม (inequality aversion) คือมัชฌิมเรขาคณิตของรายได้ทั้งหมด ส่วนเมื่อตัวแปรนั้นมีค่าที่ไม่เท่ากับ 1 รายได้ดังกล่าวจะมีค่าเท่ากับค่านอร์ม ( space) หารด้วยจำนวนของข้อมูล โดย
เรขาคณิต
แก้ในกรณีของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ความสูงคือความยาวของเส้นตรงที่ลากจากมุมฉากไปตั้งฉากกับด้านตรงข้ามมุมฉาก เส้นนี้แบ่งด้านตรงข้ามมุมฉากเป็นสองส่วน และมัชฌิมเรขาคณิตของทั้งสองส่วนนี้คือความสูงของรูปสามเหลี่ยมนั้น สมบัตินี้มีชื่อว่าทฤษฎีบทมัชฌิมเรขาคณิต
ในกรณีของวงรี กึ่งแกนโทคือมัชฌิมเรขาคณิตของระยะทางที่ยาวที่สุดกับระยะทางที่สั้นที่สุดจากโฟกัสไปยังวงรี และเป็นมัชฌิมเรขาคณิตของกึ่งแกนเอกกับกึ่งเลตัสเรกตัม และกึ่งแกนเอกคือมัชฌิมเรขาคณิตของระยะทางจากจุดศูนย์กลางไปยังโฟกัสจุดใดก็ตามกับระยะทางจากจุดศูนย์กลางไปยังเส้นบังคับ (Directrix (conic section)) เส้นใดก็ตาม
หรือกล่าวได้อีกแบบว่า หากมีรูปวงกลมรัศมีเท่ากับ เลือกจุดสองจุดซึ่งอยู่ตรงข้ามกันบนรูปวงกลม แล้วกดให้เปลี่ยนรูปกลายเป็นวงรีโดยมีกึ่งแกนเอกและกึ่งแกนโทเท่ากับ และ ตามลำดับ เนื่องจากพื้นที่ของวงกลมรูปเดิมกับวงรีรูปที่ได้มามีค่าเท่ากัน เรากล่าวได้ว่า
รัศมีของวงกลมเดิมคือมัชฌิมเรขาคณิตของกึ่งแกนเอกกับกึ่งแกนโทของวงรีที่ได้มาจากการเปลี่ยนรูปวงกลมรูปนั้น
ระยะทางไปยังขอบฟ้าของทรงกลมมีค่าประมาณเท่ากับมัชฌิมเรขาคณิตของระยะทางไปยังจุดบนทรงกลมที่อยู่ใกล้ที่สุดกับระยะทางไปยังจุดบนทรงกลมที่ไกลที่สุด หากกำหนดให้ระยะทางไปยังจุดบนทรงกลมที่ใกล้ที่สุดมีค่าน้อย
มัชฌิมเรขาคณิตถูกนำมาใช้ในการประมาณจัตุรัสพื้นที่เท่ารูปวงกลม (squaring the circle) ของศรีนิวาสะ รามานุชัน[12] และการสร้างรูปสิบเจ็ดเหลี่ยมด้วย "mean proportional"[13]
อัตราส่วนลักษณะ
แก้มัชฌิมเรขาคณิตถูกใช้ในการเลือกอัตราส่วนลักษณะประนีประนอมในภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว กล่าวคือหากมีอัตราส่วนลักษณะอยู่สองแบบ มัชฌิมเรขาคณิตของทั้งสองจะเป็นอัตราส่วนลักษณะที่ประนีประนอมระหว่างทั้งสองที่ทำให้บิดเบี้ยวหรือสูญเสียภาพไปเท่า ๆ กันในแง่หนึ่ง ในเชิงรูปธรรม รูปสี่เหลี่ยมสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน (ที่จุดศูนย์กลางเดียวกันและมีด้านที่ขนานกัน) แต่มีอัตราส่วนลักษณะต่างกัน มีส่วนร่วมกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีอัตราส่วนลักษณะเป็นมัชฌิมเรขาคณิตของทั้งสอง และเปลือกนอกของมัน (รูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่สุดที่ครอบรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป) ก็มีอัตราส่วนลักษณะเป็นมัชฌิมเรขาคณิตของทั้งสองเช่นกัน
ในการหาสมดุลระหว่างอัตราส่วนลักษณะ CinemaScope 2.35 กับ 4:3 มัชฌิมเรขาคณิตเท่ากับ เอสเอ็มพีทีอี (SMPTE) จึงเลือกอัตราส่วนลักษณะ เคินส์ พาวเวอส์ (Kerns Powers) ค้นพบอัตราส่วนลักษณะนี้ผ่านวิธีการเชิงประจักษ์ เขาตัดรูปสี่เหลี่ยมออกเป็นพื้นที่เท่ากันและตัดออกให้มีอัตราส่วนลักษณะเท่ากับอัตราส่วนที่มีใช้อยู่แพร่หลายในขณะนั้น เมื่อนำมาซ้อนกันโดยวางจุดศูนย์กลางให้ตรงกัน เขาพบว่ารูปสี่เหลี่ยมอัตราส่วนลักษณะทั้งหมดใส่พอดีกับรูปสี่เหลี่ยมภายนอกที่มีอัตราส่วนลักษณะเท่ากับ 1.77:1 และทั้งหมดก็คลุมพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมภายในร่วมกันที่มีอัตราส่วนลักษณะเท่ากับ 1.77:1 เช่นกัน[14]
เมื่อใช้เทคนิคหามัชฌิมเรขาคณิตแบบเดียวกันกับอัตราส่วนลักษณะ 16:9 และ 4:3 จะได้ผลลัพธ์โดยประมาณเท่ากับอัตราส่วนลักษณะ 14:9 ( ...) ซึ่งในแบบเดียวกัน เป็นการประนีประนอมระหว่างอัตราส่วนทั้งสอง[15]
ขนาดกระดาษ
แก้มัชฌิมเรขาคณิตถูกใช้คำนวณขนาดกระดาษซีรีส์ B และ C กระดาษขนาด มีพื้นที่เท่ากับมัชฌิมเรขาคณิตของพื้นที่ของกระดาษขนาด กับ ตัวอย่างเช่น พื้นที่ของกระดาษ B1 เท่ากับ เพราะเป็นมัชฌิมเรขาคณิตของพื้นที่ของกระดาษ A0 ( ) กับของกระดาษ A1 ( )
ขนาดกระดาษซีรีส์ C ใช้หลักการเดียวกัน โดยมีพื้นที่เท่ากับมัชฌิมเรขาคณิตของขนาดกระดาษซีรีส์ A และ B ตัวอย่างเช่น กระดาษ C4 มีพื้นที่เท่ากับมัชฌิมเรขาคณิตของพื้นที่ของกระดาษ A4 และ B4
ข้อได้เปรียบของความสัมพันธ์แบบนี้คือกระดาษ A4 สามารถใส่ลงในซองกระดาษขนาด C4 ได้พอดี และกระดาษทั้งสองใส่ลงในซองกระดาษขนาด B4 ได้พอดี
อื่น ๆ
แก้- ความราบเชิงสเปกตรัม (Spectral flatness) ในการประมวลผลสัญญาณคือหน่วยวัดความแบนราบหรือความแหลมของสเปกตรัม มีนิยามเป็นอัตราส่วนระหว่างมัชฌิมเรขาคณิตกับมัชฌิมเลขคณิตของสเปกตรัมกำลัง
- สารเคลือบกันแสงสะท้อน (Anti-reflective coatings) เป็นสารเคลือบที่ลดการสะท้อนระหว่างสื่อกลางสองประเภทที่มีดัชนีหักเหเท่ากับ และ โดยดัชนีหักเหที่ดีที่สุดของสารเคลือบกันแสงสะท้อน จะเท่ากับมัชฌิมเรขาคณิต
- ในการผสมสีเชิงลบ (Subtractive color mixing) เส้นโค้งความสะท้อนเชิงสเปกตรัม (spectral reflectance curve) ของส่วนผสมของสี (Color mixing) ที่มีระดับอ่อน (Tint, shade and tone) ความทึบแสง (Opacity (optics)) และความเจือจางเท่ากัน จะมีค่าโดยประมาณเท่ากับมัชฌิมเรขาคณิตของเส้นโค้งความสะท้อนของสีแต่ละสี โดยคำนวณที่แต่ละความยาวคลื่นในสเปกครัมของสีเหล่านั้น[16]
- ตัวกรองมัชฌิมเรขาคณิต (geometric mean filter) ถูกใช้ในการประมวลผลภาพเพื่อกรองสิ่งรบกวนออกไป
ดูเพิ่ม
แก้- การสร้างจัตุรัสพื้นที่เท่า (Quadrature (mathematics))
- การแจกแจงล็อกปรกติ (Log-normal distribution)
- ค่าเฉลี่ยกำลังสอง
- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเรขาคณิต (Geometric standard deviation)
- ทฤษฎีบทมัชฌิมเรขาคณิต
- ผลคูณ
- พิกัดเชิงไฮเพอร์โบลา (Hyperbolic coordinates)
- ภาวะความแปรปรวนต่าง (Heteroscedasticity)
- มัชฌิมเลขคณิต-เรขาคณิต
- มัชฌิมทั่วไป
- มัชฌิมฮาร์มอนิก
- มัชฌิมแบบเฮรอน (Heronian mean)
- มัชฌิมพีทาโกรัส
- มัชฌิมกึ่งเลขคณิต
- มัชฌิมเรขาคณิตถ่วงน้ำหนัก (Weighted geometric mean)
- อสมการของมิวร์เฮด (Muirhead's inequality)
- อัตราผลตอบแทน (Rate of return)
หมายเหตุ
แก้- ↑ มัชฌิมเรขาคณิตใช้ได้กับจำนวนบวกเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการหารากของผลคูณที่มีค่าเป็นลบ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจินตภาพ
อ้างอิง
แก้- ↑ Friehauf, Matt; Hertel, Mikaela; Liu, Juan; Luong, Stacey (2013). "On Compass and Straightedge Constructions: Means" (PDF). Department of Mathematics, University of Washington. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2018.
- ↑ Joyce, David E. (2013). "Book VI, Proposition 13, To find a mean proportional to two given straight lines.". Euclid's Elements. Department of Mathematics and Computer Science, Clark University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "2.5: Geometric Mean". Introductory Business Statistics (OpenStax). Statistics LibreTexts (ภาษาอังกฤษ). 20 เมษายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2021.
- ↑ Crawley, Michael J. (2005). Statistics: An Introduction using R. John Wiley & Sons Ltd. ISBN 9780470022986.
- ↑ ถ้า และ แล้ว ของ a กับ b และรัศมี
ใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสได้
ใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสได้
ใช้รูปสามเหลี่ยมคล้ายได้ - ↑ Mitchell, Douglas W. (2004). "More on spreads and non-arithmetic means". The Mathematical Gazette. 88: 142–144. doi:10.1017/S0025557200174534. S2CID 168239991.
- ↑ Fleming, Philip J.; Wallace, John J. (1986). "How not to lie with statistics: the correct way to summarize benchmark results". Communications of the ACM. 29 (3): 218–221. doi:10.1145/5666.5673. S2CID 1047380.
- ↑ Smith, James E. (1988). "Characterizing computer performance with a single number". Communications of the ACM. 31 (10): 1202–1206. doi:10.1145/63039.63043. S2CID 10805363.
- ↑ 9.0 9.1 Rowley, Eric E. (1987). The Financial System Today. Manchester University Press. ISBN 0719014875.
- ↑ Bird, Derek (12 มีนาคม 2013). Introducing the new RPIJ measure of Consumer Price Inflation (Report). Office for National Statistics. p. 4.
- ↑ "Frequently Asked Questions - Human Development Reports". hdr.undp.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2011.
The geometric mean reduces the level of substitutability between dimensions and at the same time ensures that a 1 percent decline in say life expectancy at birth has the same impact on the HDI as a 1 percent decline in education or income. Thus, as a basis for comparisons of achievements, this method is also more respectful of the intrinsic differences across the dimensions than a simple average.
- ↑ Ramanujan, S. (1914). "Modular equations and approximations to π" (PDF). Quarterly Journal of Mathematics. 45: 350–372. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ Stowell, T.P. (1876) [1818]. "Extract from Leybourn's Math. Repository". The Analyst. Vol. 3–4. Mills & Company – โดยทาง Google Books.
- ↑ 14.0 14.1 "The Father Of 16:9". TECHNICAL BULLETIN: Understanding Aspect Ratios (PDF). The CinemaSource Press. 2001. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2009.
- ↑ US 5956091, DREWERY; JOHN OLIVER; DEVEREUX; VICTOR GERALD, "Method of showing 16:9 pictures on 4:3 displays", issued 21 กันยายน 1999
- ↑ MacEvoy, Bruce. "Colormaking Attributes: Measuring Light & Color". handprint.com. Colorimetry. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์คำนวณมัชฌิมเรขาคณิตและเลขคณิต. เก็บถาวร 2023-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มัชฌิมเลขคณิตและเรขาคณิต (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ควรใช้มัชฌิมเรขาคณิตเมื่อใด (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การคำนวณมัชฌิมเรขาคณิตด้วยข้อมูลชนิดต่าง ๆ (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2010-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มัชฌิมเรขาคณิตที่เว็บไซต์ MathWorld (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ความหมายเชิงเรขาคณิตของมัชฌิมเรขาคณิต (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เครื่องคำนวณมัชฌิมเรขาคณิตสำหรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (ภาษาพีเอชพี)
- การคำนวณการแบ่งสรรปันส่วนที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐโดยใช้มัชฌิมเรขาคณิต (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2022-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์แคลคูลัสแบบนอนนิวโตเนียน (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นิยามและสูตรของมัชฌิมเรขาคณิต (ภาษาอังกฤษ). เก็บถาวร 2023-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Wilson, David A. L.; Martin, Barry (มีนาคม 2006). "The Distribution of the Geometric Mean". The Mathematical Gazette (ภาษาอังกฤษ). 90 (517): 40–49. JSTOR 3621411.
- Vogel, Richard M. (2020). "The geometric mean?" (PDF). Communications in Statistics - Theory and Meth (ภาษาอังกฤษ). 51 (1): 82–94. doi:10.1080/03610926.2020.1743313. ISSN 1532-415X. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2023 – โดยทาง sites.tufts.edu.