มังมหานรธา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหานรธา (พม่า: မဟာနော်ရထာ, Maha Nawrahta) ในพงศาวดารไทยเรียก มังมหานรธา (မင်းမဟာနော်ရထာ) โปแมง หรือ โปมัง[1] (ဗိုလ်မင်း) เป็นหนึ่งในขุนพลเอกของพระเจ้ามังระที่พระองค์ทรงไว้ใจเป็นอย่างมาก มังมหานรธามักจะเป็นตัวเลือกแรกๆที่พระเจ้ามังระทรงเลือกใช้งานโดยไม่คำนึงถึงอายุที่มากของเขาไม่ว่าผู้ใดจะทัดทาน
มหานรธา မဟာနော်ရထာ | |
---|---|
เกิด | หุบเขามู, ราชอาณาจักรพม่า |
เสียชีวิต | มีนาคม ค.ศ. 1767 วัดสีกุก นอกเมือง กรุงศรีอยุธยา สยาม |
รับใช้ | ราชวงศ์โก้นบอง |
แผนก/ | กองทัพอาณาจักรพม่า |
ประจำการ | ค.ศ. 1752–1767 |
ชั้นยศ | ผู้ร่วมบัญชาการทหารสูงสุด |
บังคับบัญชา | กองทัพฝ่ายใต้ (ค.ศ. 1765–1767) |
การยุทธ์ | สงครามโก้นบอง-หงสาวดี (ค.ศ. 1752–1757) สงครามพม่า-สยาม (ค.ศ. 1759–1760) สงครามพม่า-สยาม (ค.ศ. 1765–1767) |
สงครามพระเจ้าอลองพญา
แก้มังมหานรธาได้เข้าร่วมรบในสงครามพระเจ้าอลองพญา โดยมีตำแหน่งเป็นมังละสิริ (မင်းလှသီရိ) เป็นเพียงแม่ทัพระดับรอง โดยปรากฏบทบาทว่าได้เป็นแม่ทัพกองกลางรบกับอยุทธยาที่แม่น้ำตาลาน มีมังฆ้องนรธาเป็นปีกซ้าย มังละนรธาเป็นปีกขวา สิริธรรมราชา (พระเจ้ามังระ) เป็นทัพหนุน บุกเข้าโจมตีทัพกองทัพของพระยากลาโหม พระยารัตนาธิเบศ พระยาราชวังสัน รบตะลุมบอนกับทัพของพระยากลาโหมกลางคลองตาลานอย่างดุเดือด นอกจากนี้ยังมีทัพหลวงของพระเจ้าอลองพญามาเสริมด้วย ทัพของอยุธยาที่ค่ายบ้านตาลานถูกตีแตกยับเยิน พม่ายึดช้างของแม่ทัพอยุธยาได้หลายช้าง รวมถึงจับตัวแม่ทัพได้หลายคน[2]
ตีเมืองเชียงใหม่
แก้พ.ศ. 2306 พระเจ้ามังลอกโปรดให้โป่อภัยคามินีกับมังละสิริยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ นำตัวองค์จันทร์และครอบครัวมาถวาย พระเจ้ามังระที่ครองราชน์ต่อจึงทรงตั้งให้โป่อภัยคามินีเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนมังละสิริได้เลื่อนขึ้นเป็นมังมหานรธาที่เสนาบดีกลาโหม และให้ว่าการกรมม้า[3]
บุกกรุงศรีอยุธยา
แก้ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระได้ประกาศสงครามกับอยุธยา ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่พระองค์ทรงเลือกใช้มังมหานรธา ถึงขนาดปรารภในที่ประชุมขุนนางว่า "การทำสงครามกับอยุธยาจะสำเร็จได้ต้องอาศัยมังมหานรธาเป็นผู้นำทัพอีกทางหนึ่ง" พระองค์แต่งตั้งเขาเป็นผู้คุมกองทัพฝ่ายใต้ 30,000 นายในการทำสงครามคราวนี้ ซึ่งมังมหานรธาก็สามารถสนองพระบรมราชโองการของพระเจ้ามังระได้เป็นอย่างดี แม้จะเดินทางช้าแต่กองทัพของเขานั้นกลับมีประสิทธิภาพมาก แม้กองทัพจากอยุธยาจะยกขึ้นมาต้านทานเขาก็ยังสงบนิ่งสามารถหาทางรับ และรุกตอบโต้ได้อย่างมีวินัย ทำให้ตลอดเส้นทางแทบไม่พ่ายแพ้แก่ผู้ใดเลย จนสามารถล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้ใน พ.ศ. 2309 ก่อนเนเมียวสีหบดีจะยกมาสมทบในปีเดียวกัน กองทัพของทั้งคู่สามารถปิดล้อมเพื่อโดดเดียวอยุธยาจากการช่วยเหลือทั้งทางเหนือและใต้ได้อย่างสมบูรณ์ร่วม 14 เดือน แต่เขาต้องมาเสียชีวิตเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทัพพม่าจะประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงศรีอยุธยา
ปิดฉากกรุงศรีอยุธยา
แก้โดยในขณะที่กำลังป่วยมังมหานรธารู้แล้วว่า ไม่มีเวลาสำหรับการล้อมกรุงอีกต่อไปแล้ว เพราะศึกกับจีนก็ชี้ชะตากรุงอังวะเช่นกัน ก่อนจะสิ้นใจไม่นานเขาได้บอกแผนสุดท้ายให้แก่เนเมียวสีหบดี วิธีที่จะปิดฉากกรุงศรีอยุธยาโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด นั้นคือการขุดรากกำแพงเมืองแล้วสุมด้วยไฟ ท่านก็จะสามารถพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้ในครานี้
มังมหานรธาเสียชีวิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 ที่ค่ายสีกุก โดยพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา บันทึกว่า นายทัพนายกองทุก ๆ ค่าย ช่วยกันปลงศพมังมหานรธาเสร็จแล้วให้ก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ในค่ายนี้[4] เมื่อ พระเจ้ามังระ ทรงทราบถึงการเสียชีวิตของมังมหานรธา ก็ได้มีพระราชโองการให้จัดฝังร่างเขาอย่างสมเกียรติเป็นพิเศษ[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกหมายเลขที่ ๒/ก.๑๐๑
- ↑ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1640136872716443/
- ↑ สุเนตร ชุตินธรานนท์ พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า
- ↑ ค่ายสีกุก กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
- ↑ GE Harvey (1925). History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd. p. 252.