มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร[2] (อังกฤษ: Basilica of Saint Peter, ละติน: Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง)

มหาวิหารนักบุญเปโตร
มหาวิหารนักบุญเปโตรในพระสันตะปาปา
Ornate building in the early morning with a giant order of columns beneath a Latin inscription, fourteen statues on the roofline, and large dome on top.
เบื้องหน้าของมหาวิหารนักบุญเปโตร
แผนที่
41°54′08″N 12°27′12″E / 41.90222°N 12.45333°E / 41.90222; 12.45333
ที่ตั้งนครรัฐวาติกัน
ประเทศ นครรัฐวาติกัน
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์St. Peter's Basilica
ประวัติ
สถานะมหาวิหารเอกในสันตะปาปา
อุทิศแก่นักบุญเปโตร
เสกเมื่อ18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1626
สถาปัตยกรรม
สถาปนิก
รูปแบบสถาปัตย์เรอแนซ็องส์ และ บาโรก
งานฐานราก18 เมษายน ค.ศ. 1506
แล้วเสร็จ18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1626 (1626-11-18)
โครงสร้าง
อาคารยาว730 ฟุต (220 เมตร)
อาคารกว้าง500 ฟุต (150 เมตร)
ความสูงอาคาร448.1 ฟุต (136.6 เมตร)[1]
เนฟสูง151.5 ฟุต (46.2 เมตร)
โดมกว้าง (ภายนอก)137.7 ฟุต (42.0 เมตร)
โดมกว้าง (ภายใน)136.1 ฟุต (41.5 เมตร)
การปกครอง
มุขมณฑลมุขมณฑลโรม
นักบวช
หัวหน้าบาทหลวงAngelo Comastri
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนนครวาติกัน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iv, vi
ขึ้นเมื่อ1984 (วาระที่ 8)
เลขอ้างอิง286
รัฐภาคีสันตะสำนัก
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

ประวัติ

แก้

มหาวิหารนักบุญเปโตรเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารสูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม โบสถ์นี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน[3] เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ที่ตั้งโบสถ์เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของนักบุญซีโมนเปโตรซึ่งเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู คริสตจักรถือว่านักบุญเปโตรเป็นบิชอปองค์แรกของแอนติออก ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญเปโตรถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่นี้

ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนโบสถ์แบบคอนสแตนติน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626

แต่เดิมนั้นมหาวิหารนักบุญเปโตรมิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะโบสถ์ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีธรรมาสน์นักบุญเปโตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญเปโตรเองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี[4]

มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม

แก้
 
มหาวิหารนักบุญเปโตร จากภาพเขียนโดยวิวีอาโน โกดัซซี (Viviano Codazzi) เมื่อ ค.ศ. 1630 หอสองหอที่เห็นในภาพถูกรี้อภายหลัง

มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมเป็นโบสถ์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิกา พอมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวีญง ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 - 1377 (เรียกว่าอาวีญงปาปาซี) การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก การใช้ชื่อมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม[5]

ที่ฝังศพนักบุญเปโตร

แก้

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังศพนักบุญเปโตร[6] หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร

ที่ฝังศพอื่น ๆ

แก้

ภายในมหาวิหารมีที่ฝังศพกว่าร้อยที่ บางที่อยู่ภายในถ้ำวาติกัน (Vatican grotto) ซึ่งอยู่ภายใต้มหาวิหาร ภายในถ้ำมีพระสันตะปาปาฝังไว้ 91 องค์ บุคคลสำคัญที่ฝังภายในมหาวิหารก็มี

หินอ่อนจากโคลอสเซียม

แก้

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 เริ่มสร้างมหาวิหาร พระองค์สั่งซื้อหิน 2,522 เล่มเกวียนจาก โคลอสเซียมที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เงินที่ซื้อหินเอามาจากสมบัติที่ขนมาจากเยรูซาเลมเมื่อเยรูซาเลมเสียเมือง และจากการทำลายโบสถ์โดยนายพลของจักรพรรดิเวสปาเชียน (Vespasian) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิไททัส (Titus) เมื่อ ค.ศ. 70

อ้างอิง

แก้
  1. "The Dome". vaticanstate.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-08. สืบค้นเมื่อ 2016-09-08.
  2. "จตุรัสมหาวิหารนักบุญเปโตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  3. St. Peter's Basilica, Vatican City sacred-destinations.com (อังกฤษ)
  4. St. Peter's Basilica เก็บถาวร 2010-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน aviewoncities.com (อังกฤษ)
  5. Boorsch, Suzanne (Winter 1982–1983). "The Building of the Vatican: The Papacy and Architecture". The Metropolitan Museum of Art Bulletin. 40 (3): 4–8.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) (อังกฤษ)
  6. "University of Alberta Express News". In search of St. Peter's Tomb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-25. สืบค้นเมื่อ 2006-12-25. (อังกฤษ)

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ภาพ

แก้