อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (อังกฤษ: Imperial College London) หรือชื่อตามกฎหมายว่า อิมพิเรียลคอลเลจออฟไซอันเท็กนอลอจีแอนด์เมดซิน (อังกฤษ: Imperial College of Science, Technology and Medicine)[3] เป็นมหาวิทยาลัยใจกลางกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ[4] จนถึงปัจจุบัน บุคลากรของอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัล อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสถาบันมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์
Imperial College London | |
ตราอาร์ม (Coat of arms) | |
คติพจน์ | Scientia imperii decus et tutamen
"Scientific knowledge, the crowning glory and the safeguard of the empire" (ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เกียรติยศเหนือเศียรเกล้า และเกราะคุ้มครองจักรวรรดิ) |
---|---|
ประเภท | มหาวิทยาลัย |
สถาปนา | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | อลิซ แกสต์[1] |
ที่อยู่ | |
วิทยาเขต | เซาท์เคนซิงตัน Hammersmith St. Mary's Chelsea and Westminster Royal Brompton Charing Cross Silwood Park Wye |
สี | Imperial blue[2] |
เว็บไซต์ | www.imperial.ac.uk |
ปี ค.ศ. 2010 The Complete University Guide ได้จัดให้อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 แรกในสหราชอาณาจักร ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[5] เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นนานาชาติอันดับ 1 ของสหราชอาณาจักร[6] และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์เดลิเทเลกราฟต์ว่าเข้าศึกษาต่อ ยากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในสหราชอาณาจักร[7]
ปี ค.ศ. 2018 สำนักข่าวรอยเตอส์ จัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่สุดของโลกอันดับที่ 2[8] และได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์คลินิกและวิทยาศาสตร์สุขภาพดีที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก[9] และอันดับที่ 6 ของโลกด้านวิศวกรรมศาสตร์[10]
ปี ค.ศ. 2020 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 10 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ และคอกโครัลลีไซมอนส์[11][12]
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัสเซลล์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำในสมาพันธ์มหาวิทยาลัยยุโรปและสมาพันธ์ประชาคมมหาวิทยาลัย
ในช่วงแรก อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสมาชิกในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนที่จะแยกออกมาเป็นอิสระในครั้งฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย (8 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) โดยสมเด็จพระราชินีอลิธาเบธที่ 2 พร้อมด้วย เจ้าชายฟิลลิปดยุคแห่งเอดินเบอระ เสด็จพระราชดำเนิน ณ อิมพิเรียลคอลเลจ ลอนดอนในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2007
ประวัติ
แก้การก่อตั้ง
แก้สืบเนื่องจากการก่อตั้งอิมพิเรียลอินสติทูต (Imperial Institute) โดยเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย โดยในปี ค.ศ. 1887 สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เสด็จวางศิลาฤกษ์ ต่อมาอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน เริ่มก่อตั้งขึ้นจากการผนวกเอาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สถาบันหลักที่เป็นต้นกำเนิดวิทยาเขตเซาท์เคนซิงตันซึ่งเป็นวิทยาเขตหลักได้แก่ รอยัลสคูลออฟไมนส์ (อังกฤษ: Royal School of Mines) (ค.ศ. 1854 โดยเซอร์เฮนรี่ เดอ ลา บาช) รอยัลคอลเลจออฟไซอันเซส (อังกฤษ: Royal College of Sciences) (ค.ศ. 1881) และซิตีแอนด์กิลด์คอลเลจ (อังกฤษ: City and Guild College) (ค.ศ. 1884)[13]
คริสต์ศตวรรษที่ 20
แก้ในปี ค.ศ. 1907 คณะผู้บริหารฝ่ายการศึกษามีความประสงค์ที่จะรวมวิทยาลัยต้นกำเนิดทั้งสามเพื่อให้มีศักยภาพในการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น รอยัลสคูลออฟไมนส์ รอยัลคอลเลจออฟไซอันเซส และซิตีแอนด์กิลด์คอลเลจ จึงได้รวมกันเป็นมหาวิทยาลัยเดียวและขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยลอนดอน รอยัลชาร์เตอร์ซึ่งดูแลวิทยาลัยต้นกำเนิดทั้งสามได้ลงนามอนุมัติการจัดตั้งอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 โดยก่อตั้งวิทยาเขตหลักในพื้นที่ของสถาบันอิมพิเรียลในเซาท์เคนซิงตัน
ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1919 ได้มีการจัดตั้งกิจกรรมชมรมพายเรือสำหรับนักศึกษาในอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ทางมหาวิทยาลัยได้ซื้อพื้นที่บริเวณซิลวูดพาร์กเพื่อใช้เป็นที่สำหรับวิจัยและให้การศึกษาในด้านวิชาชีววิทยาซึ่งยากที่จะศึกษาในพื้นที่ของวิทยาเขตหลัก
ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ได้มีการเผยแพร่หนังสือพิมพ์ฟีลิกซ์ ซึ่งจัดทำโดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ในรั้วของมหาวิทยาลัย วันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1950 รัฐบาลอังกฤษได้วางโครงการสนับสนุนและพัฒนาอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนให้เป็นสถาบันชั้นนำในด้านการวิจัยและให้การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ปี ค.ศ. 1959 มูลนิธิวูลฟ์สันบริจาคเงินมูลค่า 350,000 ปอนด์เพื่อก่อตั้งภาควิชาชีวเคมี
ปี ค.ศ. 1963 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้จับมือกับสถาบันเทคโนโลยีอินเดีย (เดลี) ร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปี ค.ศ. 1971 ได้มีการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์บริหารตามด้วยการจัดตั้งภาควิชาความร่วมมือและความสัมพันธ์ในปี ค.ศ. 1972
ปี ค.ศ. 1980 ภาควิชาความร่วมมือและความร่วมมือได้ยุบรวมกับภาควิชาประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์กลายเป็นภาควิชามนุษยวิทยา
ปี ค.ศ. 1988 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้รวมเอาโรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลเซนต์แมรี เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ทำให้อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนกลายเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์อิมพิเรียลดังเช่นในปัจจุบัน
ปี ค.ศ. 1995 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง โดยมีเครือข่ายร่วมกับวารสารวิทยาศาสตร์ระดับโลก ในปีนี้อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนยังได้ผนวกเอาสถาบันปอดและหัวใจแห่งชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
ปี ค.ศ. 1997 โรงเรียนแพทย์ชาร์ลิงครอสและเวสมินสเตอร์ โรงเรียนแพทย์หลวงสำหรับบัณฑิต และสถาบันผดุงครรภ์และนรีเวชวิทยาได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาราชวิทยาลัย ทำให้เกิดการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ขึ้นอย่างเป็นทางการ
ปี ค.ศ. 1998 ได้มีการเปิดใช้อาคารเซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางงานวิจัยทางการแพทย์และชีววิทยาด้านการแพทย์
คริสต์ศตวรรษที่ 21
แก้ปี ค.ศ. 2000 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้ผนวกสถาบันไขข้อเคนเนดี และไวย์คอลเลจซึ่งศึกษาทางด้านเกษตรกรรมและเป็นส่วนหนึ่งของเครือมหาวิทยาลัยลอนดอนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
ปี ค.ศ. 2004 สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนธุรกิจอิมพิเรียลคอลเลจ
ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยได้ประกาศโครงการซายน์พาร์กที่วิทยาเขตไวย์ แต่ถูกยกเลิกไปในเดือนกันยายนปีถัดมาเนื่องด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ปัจจุบันไวย์คอลเลจถูกบริหารโดยมหาวิทยาลัยเคนท์โดยความร่วมมือของมหาราชวิทยาลัยและไวย์คอลเลจ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเคนท์ในความร่วมมือของอิมพิเรียลและไวย์คอลเลจ
ปี ค.ศ. 2008 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมสุขภาพโลก ขึ้นโดย ศ. นพ. ลอร์ดอารา ดาร์ซี แห่ง เดนแฮม[14] และได้เริ่มโครงการขยายวิทยาเขตไวท์ซิตีขึ้นทางฝั่งตะวันตกของกรุงลอนดอน เพื่อเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นที่ทำการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัทผลิตนวัตกรรมเอกชน รวมถึงหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเพิ่มเติม โดยใช้งบประมาณลงทุน 2 พันล้านปอนด์[15]
ปี ค.ศ. 2013 จัดตั้งห้องปฏิบัติการอวกาศขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศ โดยบูรณาการกับ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และภาคธุรกิจ[16]
ปี ค.ศ. 2014 จัดตั้งโรงเรียนออกแบบด้านวิศวกรรมไดสัน โดยทำการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมร่วมกับการออกแบบกับ ราชวิทยาลัยศิลปะ[17]
วิทยาเขต
แก้อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนดำเนินการบริหารและกิจการทุก ๆ อย่างภายในวิทยาเขตเซาท์เคนซิงตัน ย่านอันเป็นแหล่งรวมของทั้งสถาบันทางการศึกษาและศิลปะต่าง ๆ มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียอัลเบิร์ต รอยัลสคูลออฟมิวสิค รอยัลคอลเลจออฟอาร์ต สมาคมภูมิศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ โรงมหรสพหลวงอัลเบิร์ต ฯลฯ
นอกจากวิทยาเขตหลักที่เซาท์เคนซิงตันแล้ว อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนยังประกอบไปด้วยวิทยาเขตย่อย ๆ ต่าง ๆ ภายในมหานครลอนดอน และนอกมหานครลอนดอน
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนยังเป็นเครือข่ายขององค์การบริการสาธารณสุขแห่งชาติซึ่งดูแลควบคุมสถานพยาบาลหลายแห่งภายในมหานครลอนดอนและดูแลให้การอบรมและเปิดหลักสูตรทางการแพทย์ตามสถานพยาบาลและโรงพยาบาลเหล่านี้ ใน ปี ค.ศ.1997 พระราชบัญญัติอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้ระบุให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจสิทธิขาดในการดูแลบริหารโรงเรียนแพทย์ชาร์ลิงครอสและเวสต์มินสเตอร์ สถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติ และโรงเรียนแพทย์หลวงสำหรับบัณฑิต
การขยายพื้นที่ของวิทยาเขตเซาท์เคนซิงตันในช่วงปี 1960-1969 นั้นทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ขึ้นอย่างกว้างขวาง เหลือเพียงหอคอยควีนส์ทาวเวอร์เท่านั้นที่เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิม การก่อสร้างดำเนินต่อไป สิ่งก่อสร้างยุคปัจจุบันรวมถึงตึกทานากะ (โรงเรียนพาณิชยการอิมพิเรียลคอลเลจ) สถานออกกำลังกายอีตอส หอพักเซาท์ไซด์และอีสต์ไซด์ เป็นต้น
พิธีฉลองปริญญาและวุฒิบัตรแห่งอิมพิเรียลคอลเลจ
แก้อิมพิเรียลคอลเลจมีธรรมเนียมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเกี่ยวเนื่องกับการรับปริญญาและการมอบวุฒิบัตร โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นหลังปริญญาจะได้รับวุฒิบัตรแห่งอิมพิเรียลคอลเลจ (Diploma of Imperial College: DIC)[18] พิธีรับปริญญาบัตรมีชื่อเฉพาะคือ พิธีฉลองปริญญา (Commemoration Day) โดยถือเอาชื่อจากวันที่ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ เสด็จพระราชดำเนินมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1945[19]
อิมพิเรียลคอลเลจยังคงได้รับอภิสิทธิ์ในการจัดพิธีฉลองปริญญาสำหรับบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา ณ รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ มาจนถึงปัจจุบัน[20]
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง
แก้- ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ต้องการอ้างอิง]
- ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ - อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[21]
- ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา - ผู้ก่อตั้งและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียน[ต้องการอ้างอิง]
- ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา - นายกแพทยสภา และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[ต้องการอ้างอิง]
- ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล - ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง]
- ดร.ยศพงษ์ ลออนวล - นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น ค.ศ. 2017[22]
- ศ. ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น [ต้องการอ้างอิง]
- รศ. ดร. นพ.โสภาคย์ มนัสนยกรณ์ - ศัลยแพทย์ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รพ.จุฬาลงกรณ์[ต้องการอ้างอิง]
- ตากเพชร เลขาวิจิตร - นักแสดง นักแข่งรถ วิศวกร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[23]
- ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ - นักร้อง นักแสดง[ต้องการอ้างอิง]
- ผศ. ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน - หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ต้องการอ้างอิง]
- รศ. ดร.วรางค์รัตน์ จันทสาโร - อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
- สุชาติ เจียรานุสสติ - นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ผู้ก่อตั้ง SC Capital Partners[24]
- นัตวิไล อุทุมพฤกษ์พร - ผู้ประกอบการสตาร์ตอัป Forbes 30 Under 30 in Europe[25]
- ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ - รองเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ "'Collaboration essential', says Alice Gast on becoming Imperial's 16th President". สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ "Brand colours". Imperial College London. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย] — The Complete University Guide.
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/features/worlds-most-international-universities-2017
- ↑ https://www.telegraph.co.uk/education/0/the-10-hardest-universities-to-get-into/
- ↑ https://www.reuters.com/article/us-emea-reuters-ranking-innovative-unive/reuters-top-100-europes-most-innovative-universities-2018-idUSKBN1HW0B4
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/student/best-universities/best-universities-medicine
- ↑ https://www.theguardian.com/higher-education-network/2018/feb/28/qs-world-university-rankings-2018-engineering-and-technology
- ↑ https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2020/world-ranking#!/page/0/length/25/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats
- ↑ https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2021
- ↑ http://www.imperial.ac.uk/centenary/timeline/1845.shtml
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/global-health-innovation/about-us/
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/visit/campuses/white-city/
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/a-z-research/space-lab/events/spacelab-2015/
- ↑ http://www.imperial.ac.uk/design-engineering/
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/media/imperial-college/administration-and-support-services/registry/academic-governance/public/regulations/2010-11/academic-regs/Diploma-of-the-Imperial-College.pdf
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/graduation/about-graduation/
- ↑ https://www.imperial.ac.uk/graduation/about-graduation/
- ↑ https://www.chula.ac.th/management/168/
- ↑ https://www.britishcouncil.or.th/%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A5
- ↑ ตากเพชร เลขาวิจิตร
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2018-09-11.
- ↑ https://www.forbes.com/profile/pae-natwilai/#19641e61254b