มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

มหาวิทยาลัยในจังหวัดขอนแก่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2567 ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอในเมือง จังหวัดขอนแก่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน วิทยาขอนแก่น
ชื่อเดิมวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น (ไทย - เยอรมัน)
ชื่อย่อมทร.อีสาน วขก. / KKC.RMUTI
คติพจน์ฝีมือ ระเบียบ วินัย น้ำใจ
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนาวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น (ไทย - เยอรมัน)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
8 มกราคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
รองอธิการบดีปริญ นาชัยสิทธิ์
ผู้ศึกษา3,456 คน[1]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตขอนแก่น
150 หมู่ 6 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
วิทยาเขตขอนแก่น ศูนย์โคกสี
บ้านโคกสี ตำบลโคกสี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
สีสีประจำมหาวิทยาลัย
██ สีแสด
สีประจำวิทยาเขตขอนแก่น
██ สีน้ำเงิน
เว็บไซต์www.kkc.rmuti.ac.th

ประวัติมหาวิทยาลัย

แก้
ไฟล์:เทคโนไทย.jpg
การก่อตั้งวิทยาลัยในระยะแรกเริ่ม
 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เดิมก่อตั้งในสังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 รัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีการลงนามในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านช่างฝีมือให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นที่ตั้ง จึงใช้ชื่อเรียกกันว่า วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่นแต่บุคคลนิยมเรียกกันว่า เทคนิคไทย – เยอรมัน สังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ โดยจังหวัดขอนแก่นได้นำที่ดินสาธารณประโยชน์ ถ.ศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ทางด้าน ทิศตะวันออก เป็นสถานที่จัดตั้งมีเนื้อที่ 36 ไร่ ต่อมาได้ที่ดินจากโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ และซื้อจากเอกชนอีกร่วมเนื้อที่ปัจจุบัน จำนวน 106 ไร่

พ.ศ. 2507 ได้เปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกนักศึกษารุ่นแรก มีผู้มาสอบ 306 คน คัดเลือกไว้เพียง 52 คน นักศึกษาปีที่ 1 เรียนและปฏิบัติงานพื้นฐานฝึกฝีมือเหมือนกันทุกแผนก จะแยกตามความถนัดในชั้นปีที่ 2 ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผนก ได้แก่ ช่างกลโรงงาน ช่างท่อประสาน ช่างไฟฟ้า และเขียนแบบ เปิดเรียนครั้งแรก โดยขอใช้ห้องเรียนของโรงเรียนการช่างชาย (วิทยาลัยเทคนิคในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวจนถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน จึงได้ย้ายมาเรียนที่โรงฝึกงานแผนกช่างไฟฟ้า (แผนกช่างท่อและประสานโรงงาน 2 ) เมื่ออาคารเรียน 1 สร้างเสร็จจึงใช้เรียนวิชาสามัญและใช้เป็นอาคารอำนวยการด้วย สำหรับความร่วมเมื่อและความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น ส้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคม 2518 แต่ทางรัฐบาลเยอรมันยังให้ความช่วยเหลือในการจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ฝึกปฏิบัติสำหรับเครื่องจักรตามโรงงานต่างๆพร้อมทั้งสนันสนุนให้ทุนแก่อาจารย์และนักศึกษาในการไปฝึกอบรบ และศึกษาต่อ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเรื่อยมา

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยฯ ทรงปลูกต้นประดู่ เพื่อความเป็นสิริมงคล บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยฯ อันเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็งและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยฯ จึงถือเอาวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาตลอดมา

พ.ศ. 2513 ได้ทำการเปิดสอนหลังสูตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างกลโรงงานและแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 5 แผนกวิชา เรียนระหว่างเวลา 14.20-20.00 น. และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.15 น. ปี 2515 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และปี 2516 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคนอกเวลาหลักสูตร 2 ปี 6 เดือน ในแผนกวิชาช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ ช่างท่อประสาน ช่างไฟฟ้าและช่างก่อสร้าง ต่อมาสัญญาความช่วยเหลือของรัฐบาลเยอรมันสิ้นสุดลงในปี 2518 แต่ยังคงเหลือผู้เชี่ยวชาญไว้ 1 คน และเปิดแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย[2]

โครงการยกฐานะมหาวิทยาลัย

แก้

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน “โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคนิคไทย – เยอรมัน” โดยมี ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการ ตัวแทนภาคเอกชน และประชาสังคม เพื่อผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบเชิงวิชาชีพอย่างแท้จริงที่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ ความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบในครั้งต่อไป

ข้อมูลทั่วไป

แก้
  • ตราประจำมหาวิทยาลัย : พระมหาพิชัยมงกุฎ
  • สีประจำมหาวิทยาลัย : ██ สีแสด
  • สีประจำวิทยาเขต : ██ สีน้ำเงิน
  • ต้นไม้ประจำวิทยาเขต: ต้นประดู่ทรงปลูกพระราชทาน
  • ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย: ดอกแคแสด
  • ดอกไม้ประจำวิทยาเขต: ดอกประดู่
  • พระพุทธรูปประจำวิทยาเขต: พระพุทธนวราชมงคลนุสรณ์
  • คติพจน์ของมหาวิทยาลัย: ฝีมือ ระเบียบ วินัย น้ำใจ
  • เพลงประจำมหาวิทยาลัย: มาร์ชราชมงคล

พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อสถาบัน

แก้

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยฯ และได้ทรงปลูกต้นประดู่พระราชทาน บริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยฯ ฝั่งถนนศรีจันทร์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเข็มแข็งและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยฯจึงถือเอาวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี พร้อมกันกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอื่นๆ ทั่วประเทศ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

การศึกษา

แก้

วิทยาเขตขอนแก่น ประกอบด้วย 3 คณะ 1 วิทยาลัยดังนี้

กิจกรรมของมหาวิทยาลัย

แก้
ไฟล์:พาน้องใหม่ไหว้พระธาตุ.jpg
กิจกรรมพาน้องใหม่ไหว้พระธาตุขามแก่น


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาขอนแก่น มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องของความรู้ ความคิด สติปัญญา มีความกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทางที่ถูกที่ควร การอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่คณะและในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ เช่น

  • กิจกรรมอบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมเวฬุวัน
  • กิจกรรมพาน้องใหม่ไหว้พระธาตุฯ
  • กิจกรรมเชียร์กลาง
  • กิจกรรมสานส้มพันธ์น้องพี่
  • กิจกรรมการบริจาคโลหิต
  • กิจกรรมประกวดดาว เดือน และดาวเทียมคณะ

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อาคาร และสถานที่

แก้

อาคาร

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "จำนวนนักศึกษา วิทยาเขตขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-26. สืบค้นเมื่อ 2014-05-05.

http://www.kkc.rmuti.ac.th/

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้