มนัส ตั้งสุข
มนัส ตั้งสุข (27 สิงหาคม พ.ศ. 2515 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567) เป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกร และวิทยากรชาวไทย เคยเป็นผู้ประกาศข่าวทางททบ.5 เอชดี, เอ็นบีที 2 เอชดี และ พีพีทีวี และเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
มนัส ตั้งสุข | |
---|---|
เกิด | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2515 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (51 ปี) โรงพยาบาลราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
ชื่ออื่น | อั๋น |
ศิษย์เก่า | คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม |
อาชีพ | ผู้ประกาศข่าว, พิธีกร, วิทยากร |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2544–2567 |
นายจ้าง | ททบ.5 เอชดี (พ.ศ. 2544 - 2558, พ.ศ. 2564 - 2567) เอ็นบีที 2 เอชดี (พ.ศ. 2558 - 2559, พ.ศ. 2561 - 2567) พีพีทีวี (พ.ศ. 2559 - 2561) |
ประวัติ
แก้มนัสเกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรม จากวิทยาลัยดุสิตธานี, ปริญญาโท ในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้ประกาศข่าว
แก้มนัสต้องการเป็นผู้ประกาศข่าว เพราะทุกวันชอบดูข่าวในพระราชสำนัก ที่นำเสนอโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลากหลายโครงการ และข่าวการเมืองที่มองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นอนาคตของชาติ จึงสมัครเป็นผู้ประกาศข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 ผู้ประกาศข่าวในรุ่นดังกล่าว
ต่อมาในยุคเริ่มต้นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย มนัสได้ย้ายไปเป็นผู้ประกาศข่าวที่พีพีทีวี ก่อนจะย้ายมาที่เอ็นบีที 2 เอชดี ตามลำดับ และยังเป็นพิธีกรอิสระในรายการต่าง ๆ เช่น เมืองไทย 18 น.[1], Talk Together ออกอากาศทาง ททบ.5 นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในสถาบันการประชาสัมพันธ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และวิทยากรประจำสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)[2]
เสียชีวิต
แก้ก่อนหน้านี้ มนัสเคยมีอาการป่วยอย่างหนัก จนทำให้ไม่ปรากฏตัวทางหน้าจอโทรทัศน์ไปช่วงหนึ่ง[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม มนัสมีอาการความดันโลหิตสูง จึงหมดสติจนล้มลง จนศีรษะกระทบพื้นและหัวแตก ทำให้ต้องถูกนำตัวส่งเข้ารักษาในหน่วยอภิบาลของโรงพยาบาลราชวิถี แแพทย์ตรวจพบว่ามีเลือดคั่งในสมอง สมองบวม เนื่องจากก้านสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักขณะศีรษะกระทบพื้น[3] และเสียชีวิตเมื่อเวลา 00:02 น. ของเช้าวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สิริอายุ 51 ปี[4] มีกำหนดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร มีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 5 สิงหาคม สวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 5–7 สิงหาคม และฌาปนกิจในวันที่ 8 สิงหาคม[5]
ผลงาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (สิงหาคม 2024) |
รางวัล
แก้- รางวัลเทพทอง
- รางวัลสุพรรณหงส์ (สีเงิน)
- รางวัลผู้ประกาศข่าวชายดีเด่นขวัญใจมหาชน จากงาน "มายามหาชน"
- รางวัลผู้รายงานข่าวชายดีเด่น รางวัลพิฆเนศวร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติ "มนัส ตั้งสุข" ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรมากฝีมือ". พีพีทีวี. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รำลึก "ดร.อั๋น มนัส ตั้งสุข" จบการโรงแรมสู่คนหน้าจอ อยากเป็นผู้ประกาศข่าวเพราะชอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
- ↑ "ผู้ประกาศข่าวดัง "มนัส ตั้งสุข" วูบ-ล้มหัวฟาดพื้น เส้นเลือดในสมองแตก นำตัวส่ง ICU". สนุก.คอม. 3 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
- ↑ "ผู้ประกาศข่าว ดร.มนัส ตั้งสุข เสียชีวิต หลังเกิดอุบัติเหตุล้มหัวฟาดพื้น". ไทยรัฐ. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
- ↑ PANITCHART, NAPAPORN (4 สิงหาคม 2024). "ครอบครัวชวนร่วมส่ง 'มนัส ตั้งสุข' ครั้งสุดท้าย ณ ศาลา 18 วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน". The Bangkok Insight. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)