ภาษาเนวาร์

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาเนวารี)

ภาษาเนวาร์[3] หรือ ภาษาเนวารี[4] หรือ เนปาล ภาษา[5] (नेपाल भाषा, Nepal Bhasa, Newah Bhaye) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งของเนปาล อยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า เป็นภาษาในตระกูลนี้เพียงภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี พูดโดยชาวเนวาร์ ซึ่งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุ มีความคล้ายคลึงกับภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียนด้วย

ภาษาเนวาร์
𑐣𑐾𑐥𑐵𑐮 𑐨𑐵𑐳𑐵‎, Nepal Bhasa
𑐣𑐾𑐰𑐵𑑅 𑐨𑐵𑐫𑑂, Nevāh Bhāy
ออกเสียง[newaː bʱæː]
ประเทศที่มีการพูดประเทศเนปาล
ภูมิภาคNepal Mandala
ชาติพันธุ์ชาวเนวาร์ 1.26 ล้านคน (สำมะโน ค.ศ. 2001?)[1]
จำนวนผู้พูด860,000  (2011 census)[2]
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
รูปแบบก่อนหน้า
Classical Newar
  • ภาษาเนวาร์
ภาษาถิ่น
Sindhupalchok
Kathmandu
Lalitpur
Bhaktapur
Panauti
Banepa
Hetauda
Dhulikhel
Chitlang
ระบบการเขียนอักษรรัญชนา, อักษรปรัจลิต, อักษรภูชิโมล, อักษรเทวนาครี และอักษรเนปาลอื่น ๆ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ เนปาล จังหวัด หมายเลข 3 (เพิ่มเติม)

 อินเดีย

ผู้วางระเบียบNepal Bhasa Academy
รหัสภาษา
ISO 639-2new
ISO 639-3มีหลากหลาย:
new – Newari
nwx – Middle Newar
phj – Pahari Newar
นักภาษาศาสตร์new Newari
 nwx Middle Newar
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

คำว่า เนปาล ภาษา นี้เป็นคนละภาษากับภาษาเนปาล (ซึ่งเจ้าของภาษาเรียกว่า เนปาลี ภาษา)

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

แก้

มีผู้พูดในเนปาลราว 1 ล้านคน เมื่อพ.ศ. 2544 มีผู้พูดนอกประเทศเนปาลราว 2-3 พันคน ผู้พูดกระจายไปในบริเวณต่างๆ ดังนี้

  • ในเนปาล: หุบเขากาฏมาณฑุ โทลาขา เพเนปา ธุลิเขล ภิมเผที (มักวันปุร์) ปาเนาตี ปัลปา ตริศุลี นุวาโกต โภชปุร์ พิรัตนาคาร์ พักลุง พันทิปุร์ พิรคุลี เหตาอุนทา และเมืองอื่นๆ
  • ในอินเดีย: รัฐสิกขิม รัฐเบงกอลตะวันตก เพตติอาห์ และอันดามัน
  • ในทิเบต: ขาสา

เนื่องจากการอพยพ จึงมีผู้พูดภาษาเนวาร์ กระจายไปในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ และอังกฤษ

ประวัติและพัฒนาการ

แก้

ต้นกำเนิดของภาษานี้ไม่แน่ชัด นอกจากมีข้อมูลว่าได้รับอิทธิพลจากภาษาทิเบต ภาษาไกราตี ภาษาไมถิลี ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาคาส (ภาษาเนปาล) ภาษาฮินดีและภาษาอื่นๆ ในบริเวณนั้น ภาษานี้เข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาสันสกฤตในยุคกลางของเนปาล โดยเป็นภาษาที่ใช้ในศิลาเลขหรือศิลาจารึก หลักฐานเก่าสุดของภาษานี้คือ “ใบปาล์มจากอูกู พาหัล” มีอายุราว พ.ศ. 1657 ตัวอย่างบางบรรทัดซึ่งเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับธุรกิจและการค้าได้แก่

छीन ढाको तृसंघष परिभोग। छु पुलेंग कीत्य बिपार वस्त्र बिवु मिखा तिवु मदुगुन छु सात दुगुनव ल्है।

ภาษานี้มีการใช้อย่างต่อเนื่องในยุคกลางของเนปาล เป็นทั้งภาษาในกวีนิพนธ์และบทละคร ตัวอย่างเช่น หนังสือ โมโอลเทพศาศิเทพ เขียนโดย ชคัตประกาศ มัลลา ซึ่งเป็นการบรรยายถึงพระศิวะ

धु छेगुकि पाछाव वाहान तिलहित बिया हिङ लाहाति थाय थायस

ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาคาส (ภาษาเนปาล) ในสมัยราชวงศ์ศะห์ ภาษาคาสกลายเป็นภาษาราชการและเรียกว่าภาษาเนปาลี ส่วนภาษาเนวาร์ที่เคยใช้ชื่อภาษาเนปาลมาก่อน เปลี่ยนมาใช้ชื่อภาษาเนวาร์แทน กวีที่มีชื่อเสียงของภาษาเนวาร์คือ สิทธิทัส มหาชู ซึ่งมีชีวิตในยุคมืดของภาษาเนวาร์ เขาแปลรามายณะป็นภาษาเนวาร์ และเขียนบทกวีเกี่ยวกับศีลธรรม ตัวอย่างเช่น

सज्जन मनुष्या संगतनं मूर्ख नापं भिना वै पलेला लपते ल वंसा म्वति थें ल सना वै

ภาษาเนวาร์มีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาที่ผ่านมาจนแบ่งได้เป็นยุคเก่าและยุคใหม่ แต่ไม่มีจุดแบ่งที่ชัดเจนระหว่างสองยุคนี้ ภาษาเนวาร์ยุคใหม่จัดเป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าที่ถูกทำให้เป็นอินเดียมากที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อกับผู้คนที่พูดภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน เป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยเพิ่มการผันคำนาม การผันกริยาตามกาล ปัจจุบันภาษาเนวาร์ยุคใหม่ มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และเว็บไซต์

อ้างอิง

แก้
  1. Newar ที่ Ethnologue (15th ed., 2005)  
  2. Newari ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Middle Newar ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Pahari Newar ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. "Newar". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  4. Genetti, Carol (2007). A Grammar of Dolakha Newar. Walter de Gruyter. p. 10. ISBN 978-3-11-019303-9. Some people in Newar community, including some prominent Newar linguists, consider the derivational suffix -i found in the term Newari to constitute an 'Indianization' of the language name. These people thus hold the opinion that the term Newari is non-respectful of Newar culture.
  5. Maharjan, Resha (2018). The Journey of Nepal Bhasa: From Decline to Revitalization (M.Phil. thesis). UIT The Arctic University of Norway.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:Wikitionary