ภาษาม้งขาว
ภาษาม้งขาว หรือ ภาษาม้งเด๊อว (Hmong Daw) มีผู้พูดทั้งหมด 514,895 คน พบในจีน 232,700 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันตกของกุ้ยโจว ทางใต้ของเสฉวนและยูนนาน พบในลาว 169,800 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคเหนือ พบในไทย 32,395 คน (พ.ศ. 2543) ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน พิษณุโลก เลย สุโขทัย กำแพงเพชร แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ ลำปาง ในเวียดนามพบทางภาคเหนือพบได้บ้างในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น จังหวัดดั๊กลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศสและสหรัฐด้วย
ภาษาม้งขาว | |
---|---|
Hmong Daw Hmoob Dawb | |
ประเทศที่มีการพูด | จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย และสหรัฐ |
ชาติพันธุ์ | ชาวม้ง |
จำนวนผู้พูด | 514,895 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ม้ง-เมี่ยน
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | hmn |
ISO 639-3 | mww |
เข้าใจกันได้กับภาษาม้งเขียว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เป็นภาษาที่มีพยัญชนะมาก บางเสียงไม่มีในภาษาไทย ไม่มีเสียงตัวสะกด ไม่มีความต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว เสียงวรรณยุกต์ มี 8 เสียงคือ
- เสียงต่ำ-ตก มีการกักเส้นเสียงตอนท้ายทำให้สระเสียงสั้นกว่าปกติ คล้ายเยงเอกกึ่งเสียงโทในภาษาไทย
- เสียงต่ำ-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวาในภาษาไทย
- เสียงกลาง-ระดับ คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย
- เสียงต่ำ-ระดับ คล้ายเสียงเอกในภาษาไทย
- เสียงกลาง-ตก คล้ายเสียงโทในภาษาไทย แต่ต่ำกว่าและมีลมออกมามาก
- เสียงสูง-ขึ้น คล้ายเสียงตรีในภาษาไทย
- เสียงสูง-ตก คล้ายเสียงโทในภาษาไทย
- เสียงกลาง-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวาในภาษาไทย แต่เสียงเริ่มต้นสูงกว่า และเลื่อนขึ้นสูงกว่า เสียงนี้พบน้อย
อ้างอิง
แก้- ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530
- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.