ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา
ฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา (เขมร: ក្រុមបាល់ទាត់ជម្រើសជាតិកម្ពុជា, Krŏm Băltoăt Chômreus Chéatĕ Kâmpŭchéa) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของราชอาณาจักรกัมพูชาในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลกัมพูชา โดยเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน มีผลงานดีที่สุดในการแข่งขันระดับทางการคือการคว้าอันดับ 4 ในรายการเอเชียนคัพ 1972 กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกฟีฟ่าใน ค.ศ. 1953 และเคยใช้ชื่อทีมว่า ทีมฟุตบอลสาธารณรัฐเขมร ในช่วง ค.ศ. 1970–1975 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นกัมพูชาอย่างในปัจจุบันหลังจากอำนาจการปกครองของเขมรแดงสิ้นสุดลงในช่วงทศวรรษ 1990
ฉายา | |||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลกัมพูชา (FFC) | ||
สมาพันธ์ย่อย | เอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) | ||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | JorTingNong[3][4] | ||
กัปตัน | Soeuy Visal | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Kouch Sokumpheak (65) | ||
ทำประตูสูงสุด | ฮก โสเจตรา (20)[5] | ||
สนามเหย้า | กีฬาสถานชาติมรดกเตโช | ||
รหัสฟีฟ่า | CAM | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 180 1 (20 มิถุนายน 2024)[6] | ||
อันดับสูงสุด | 153 (มีนาคม ค.ศ. 2011) | ||
อันดับต่ำสุด | 198 (สิงหาคม ค.ศ. 2014) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
มาลายา 9–2 กัมพูชา (กัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาลายา; 17 มีนาคม ค.ศ. 1956)[7] | |||
ชนะสูงสุด | |||
กัมพูชา 8–0 เยเมนเหนือ (พนมเปญ ประเทศกัมพูชา; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966) | |||
แพ้สูงสุด | |||
อิหร่าน 14–0 กัมพูชา (เตหะราน ประเทศอิหร่าน; 10 ตุลาคม ค.ศ. 2019) | |||
เอเชียนคัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1972) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 4 (1972) | ||
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2006) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2006) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน | |||
เข้าร่วม | 9 (ครั้งแรกใน 1996) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (1996, 2000, 2002, 2004, 2008, 2016, 2018, 2020, 2022) | ||
เว็บไซต์ | ffcambodia.com |
ประวัติ
แก้ประเทศกัมพูชาเริ่มก่อตั้งทีมฟุตบอลภายหลังจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสสิ้นสุดใน ค.ศ. 1954 ลงเล่นเกมแรกพบทีมสหพันธรัฐมาลายา (ทีมชาติมาเลเซีย ในปัจจุบัน) ซึ่งกัมพูชาแพ้ไปด้วยผลประตู 2–9
เช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ในเอเชียในยุคนั้น กัมพูชาไม่มีส่วนร่วมในการแข่งขันรายการใหญ่อย่างฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก และเอเชียนคัพเนื่องจากยังอยู่ในช่วงสร้างทีมและพัฒนากีฬาฟุตบอล อย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ลอน นอล ก่อการรัฐประหารล้มอำนาจของรัฐบาลและก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร ทีมฟุตบอลของกัมพูชาก็ได้ร่วมแข่งขันรายการสำคัญครั้งแรกคือเอเชียนคัพ 1972 รอบคัดเลือก และเอาชนะฮ่องกงไปได้ และในการแข่งขันรอบสุดท้ายซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทย กัมพูชาซึ่งในช่วงเวลานั้นใช้ชื่อทีมว่าสาธารณรัฐเขมรลงเล่นในกลุ่มบี โดยแพ้เกาหลีใต้ในนัดแรก 1–4 แต่เอาชนะคูเวตในนัดที่สอง 4–0 ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศและแพ้อิหร่าน 1–2 ตามด้วยการแพ้จุดโทษทีมชาติไทยเจ้าภาพคว้าอันดับ 4 ไปครอง และนั่นเป็นความสำเร็จสูงสุดในการแข่งขันระดับทางการของกัมพูชามาถึงปัจจุบัน โดยหลังจากนั้นพวกเขาไม่มีส่วนร่วมในการแข่งขันรายการใดหลายปีเนื่องจากการปกครองของเขมรแดง
ภายหลังจากความวุ่นวายในประเทศในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการรุกรานของเวียดนาม กัมพูชาได้กลับมาแข่งขันระดับนานาชาติอีกครั้งใน ค.ศ. 1993 และเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า ทีมฟุตบอลราชอาณาจักรกัมพูชา มาถึงปัจจุบัน พวกเขาลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 1996 และแพ้รวดทุกนัดในรอบแบ่งกลุ่ม แม้จะถูกมองว่าเป็นทีมที่ด้อยที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้ ทว่ากัมพูชาก็แสดงสปิริตให้แฟนฟุตบอลได้เห็นถึงความตั้งใจในการเล่น อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถรักษาสปิริตนั้นได้ในรายการต่อ ๆ ไปและยังคงมีผลงานย่ำแย่ แต่ก็ยังมีเรื่องดีอยู่บ้างเมื่อทีมได้ค้นพบผู้เล่นดาวรุ่งพรสวรรค์สูงอย่าง ฮก โสเจตรา ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของกัมพูชามาถึงปัจจุบัน
กัมพูชาส่งทีมร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 รอบคัดเลือก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พวกเขาร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก และได้ร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกในครั้งต่อ ๆ มาอย่างต่อเนื่อง กระนั้น พวกเขาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลงานโดยตกรอบแรกของรอบคัดเลือกด้วยการเป็นทีมอันดับสุดท้ายทุกครั้ง และยังได้ถอนตัวจากการแข่งขันเอเชียนคัพในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2003–2007 รวมทั้งไม่ผ่านรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนถึงสามครั้งติดต่อกันในช่วงเวลานั้น
กัมพูชาพัฒนาทีมขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา เริ่มมีการสร้างทีมใหม่ด้วยการมาถึงของ ลี แท-ฮุน ผู้ผึกสอนชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่น การฝึกซ้อม รวมถึงมีการพัฒนาระบบเยาวชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการฟุตบอลกัมพูชา ลีสร้างทีมโดยใช้ผู้เล่นอายุน้อยเป็นแกนหลัก ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ชาน วัฒนาคา นักฟุตบอลชาวกัมพูชาคนแรกที่ได้ไปเล่นอาชีพในลีกต่างประเทศ และทีมเริ่มได้รับความสนใจและสนับสนุนจากแฟนฟุตบอลมากขึ้นนับตั้งแต่นั้น แต่พวกเขาก็ยังไม่ผ่านรอบคัดเลือกรายการสำคัญทั้ง เอเอฟซีชาเลนจ์คัพ 2012 และ 2014 รวมถึงเอเชียนคัพ 2015
ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 กัมพูชาพบกับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีม แม้พวกเขาจะตกรอบโดยแพ้เวียดนามและจอร์แดน แต่พวกเขาเอาชนะอัฟกานิสถานซึ่งมีอันดับโลกดีกว่าพวกเขาได้ 1–0 ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกและครั้งเดียวในการแข่งขันเอเชียนคัพรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายของกัมพูชา และเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทีมเข้าสู่ยุคใหม่หลังเขมรแดงสิ้นอำนาจ
ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก กัมพูชาผ่านรอบแรกได้โดยเอาชนะปากีสถานรวมผลประตูสองนัด 4–1 แต่ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 พวกเขาต้องอยู่ร่วมกลุ่มกับทีมอื่นที่แข็งแกร่งกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นอิหร่านซึ่งเป็นทีมชั้นนำของเอเชีย รวมถึงฮ่องกง, อิรัก และบาห์เรน โดยผลงานดีที่สุดของกัมพูชาคือการเสมอฮ่องกง 1–1 ในนัดแรก ก่อนจะแพ้ในอีก 7 นัดรวดที่เหลือรวมทั้งแพ้อิหร่านด้วยผลประตูถึง 0–14 ซึ่งเป็นการแพ้ด้วยผลประตูที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ทีม[8] และตกรอบแรกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 แต่ยังชนะได้หนึ่งนัดโดยเอาชนะลาว 3–0
ในปัจจุบัน กัมพูชามีนโยบายการพัฒนาทีมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการว่าจ้างบุคลากรมืออาชีพจากวงการฟุตบอลญี่ปุ่น พวกเขามี ริว ฮิโรเสะ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[9] รวมถึงการดึงตัว เคซูเกะ ฮนดะ อดีตนักฟุตบอลชื่อดังเข้ามาเป็นผู้จัดการทีม[10][11]
ผลงาน
แก้ฟุตบอลโลก
แก้- 1930 ถึง 1994 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1998 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2006 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2014 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2018 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2026 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เอเชียนคัพ
แก้- 1956 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1960 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 1968 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 1972 - อันดับ 4
- 1976 ถึง 1996 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2000 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2004 ถึง 2023 - ไม่ได้เข้าร่วม
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
แก้- 1996 - รอบแรก
- 1998 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2000 ถึง 2004 - รอบแรก
- 2007 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2020 - รอบแรก
- 2022 - รอบแรก
เอเอฟซี แชลเลนจ์คัพ
แก้- 2006 - รอบแรก
อ้างอิง
แก้- ↑ "Angkor Warriors have it all to do against Asia's very best - Khmer Times". 9 October 2019.
- ↑ "Koupreys fall to Lions - Khmer Times". 17 October 2018.
- ↑ http://ww12.camsports.org/%7Ctitle=camsports.org%7Cwebsite=ww12.camsports.org}}[ลิงก์เสีย]
- ↑ "FFC announces new coach for Cambodian national football team - Khmer Times". 28 March 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2023. สืบค้นเมื่อ 29 March 2021.
- ↑ "Cambodia reviving historical passion for football".
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "Cambodia matches, ratings and points exchanged". World Football Elo Ratings: Cambodia. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
- ↑ "Cambodia versus Iran World Cup qualifying match postponed again - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-14.
- ↑ "FFC announces new coach for Cambodian national football team - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-28.
- ↑ "Cambodian Nat'l Team GM setting up football team in Japan - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-17.
- ↑ https://thmeythmey.com/?page=detail&id=101845