พูดคุย:รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ตัดสัญญาณโทรศัพท์ และ อินเทอร์เน็ต

แก้

มีรายงานบางแหล่งบอกว่าทหารเข้าไปที่ CAT สามารถตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตได้ถ้าต้องการ ตัด--Pi@k 19:04, 19 กันยายน 2006 (UTC)

คำสั่งฉบับที่สาม

แก้

คือว่าผมหาไม่เจออ่ะครับ เจอ หนึ่ง สอง สี่ ห้า 131.215.7.233 06:24, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ปฏิวัติหรือรัฐประหาร

แก้

ชักไม่ค่อยแน่ใจครับว่าควรจะเรียกว่าอะไร เพราะหนังสือของรามคำแหงบอกว่าที่ผ่านมามีปฏิวัติครั้งเดียว คือ พ.ศ. 2475 แต่คำอธิบายในหนังสือ ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย เขียนโดย นคร/อุกฤษ พจนวรพงษ์ พิมพ์ปี 2549 บอกว่าถ้ามีการยุบรัฐสภา ยกเลิกรัฐธรรมนูญ น่าจะเรียกว่า การปฏิวัติ --Pi@k 05:45, 20 กันยายน 2006 (UTC)

คงอยู่ที่ว่าจะนิยามยังไง เราใช้ศัพท์ตามฝรั่งเสียมาก ถ้า ปฏิวัติ คือ revolution ก็คงมีครั้งเดียว แต่เห็นว่าควรใช้ "อภิวัฒน์" มากกว่าปฏิวัติ, แต่ถ้าว่าตามความเข้าใจหรือความคุ้นเคยแล้ว คนทั่วไปมองว่าการยึดอำนาจ เป็นปฏิวัติแน่ๆ นักรัฐศาสตร์ใช้ศัพท์วิชาการ ความหมายลึก ละเอียด แยกแยะ, ชาวบ้านอาศัยความหมายระดับตื้น --ธวัชชัย 05:52, 20 กันยายน 2006 (UTC)
เข้าใจว่า "ปฏิวัติ หมายถึง การล้มล้างระบอบการปกครอง" ซึ่งของไทยก็มีตอน พ.ศ.2475 และ " รัฐประหาร หมายถึง การยึดอำนาจการปกครอง" --ScorpianPK 20:10, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ความแตกต่างระหว่าง คำว่า กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร
กบฏ = ใช้กำลังยึดอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ ฝ่ายก่อการแพ้ เช่น กบฏ ร.ศ.130, กบฏบวรเดช, กบฏยังเตอร์ก
รัฐประหาร = การใช้กำลังยึดอำนาจ เพื่อเข้ากุมอำนาจรัฐ โดยฝ่ายก่อการทำสำเร็จ
ปฏิวัติ = การใช้กำลังยึดอำนาจ ล้มล้างการปกครองเดิม เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ เช่นเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีเพียงครั้งเดียว --อ็อกตร้า บอนด์ 08:01, 23 กันยายน 2006 (UTC)

อย่าลืมย้ายไปวิกิซอร์ซนะ

แก้

--Burlight 07:01, 20 กันยายน 2006 (UTC)

คำแถลงการณ์และประกาศ ย้ายไปที่วิกิซอร์ซแล้วครับ  :) --Manop | พูดคุย -   19:43, 21 กันยายน 2006 (UTC)
Thanks! --Burlight 03:21, 24 กันยายน 2006 (UTC)

บล็อก?

แก้

จะใส่ลิงก์ไปบล็อกไว้นี่จะดีเหรอครับ? -- Pramook 07:23, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ขออนุญาตนำมาใส่ไว้ในหน้านี้นะครับ
--Kie 13:39, 20 กันยายน 2006 (UTC)
ถ้าเนื้อหาในตัวบทความมีการอ้างอิงบล็อกนั้น หรือบล็อกนั้นมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง(อย่างมาก) การใส่ลิงก์ไปก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาครับ เหมือนกับการลิงก์ไปเว็บไซต์อื่น ๆ ตามปกติ // กรณีนี้ การอ้างอิงไปยังบล็อก อาจจะเกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อย ปฏิกิริยาจากประชาชน/จากต่างประเทศ -- bact' คุย 21:02, 23 กันยายน 2006 (UTC)

รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหายไปจากเว็บรัฐสภา

แก้

131.215.7.233 09:32, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ตรวจสอบ

แก้

เวลา 22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3 ที่นำเสนอรายการปกติ

ไม่ใช่ ช่อง 7 และ ช่อง 3 หรือครับ? ผมว่าผมไม่ได้ดู คนค้นฅน อยู่นะ --Wap 13:39, 20 กันยายน 2006 (UTC)
ตอนนั้นกำลังมีคนค้นฅน พอประมาณ 4 ทุ่มครึ่งได้มีข่าวด่วนแทรกเข้ามาครับ พร้อมกับขึ้นหน้าคุณทักษิณ ที่เขียนว่าสถานการณ์ฉุกเฉิน เปิดไปได้ชั่วหนึ่ง ทีวีช่อง 9 ก็ดับ แล้วจึงเปลี่ยนไปเหมือนกับช่องอื่นครับ อันนี้ผมนั่งดูอย่ มั่นใจ 100 % Mda 20:50, 20 กันยายน 2006

วิกิพีเดียเป็น log repository เหรอ?

แก้

ขออภัยที่พูดตรงๆบทความนี้ทุเรศที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นในวิกิพีเดียมาเลย คุณคิดว่า วิกิพีเดีย เป็นlog repository รึอย่างไร? มีอะไรก็append มีอะไรก็append มันเป็นสารานุกรมนะ ใช้มันให้เป็น Collaborative writing tool หน่อยซิ (ผมมีเจตนาที่ดี ช่วยแก้ให้มันเป็นสารานุกรมมากขึ้น ก็มาย้อนeditของผมไป ผมไม่ติดใจอะไรหรอก ก็รู้ว่าadminทำงานหนัก เห็นใจ แต่อยากจะให้สมาชิกช่วยกันทำให้บทความออกมาให้ดีหน่อย กล้าที่จะแก้ไข และก็อย่าไปย้อนeditคนที่เค้ากล้าที่จะแก้ไขให้บทความมันดีขึ้น) --203.144.160.251 14:23, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ผมต้องขออภัยจริงๆ ครับ เพราะว่าผมไป revert ข้อความของคุณ ตอนที่ผมเห็นเพียงแค่ edit ที่ 1 (คุณยังไม่ได้เอาข้อความที่ตัดไปมาแปะใส่ "ข้อมูลปลีกย่อย" โดยเอาข้อความอื่นมาแทน) ผมเห็นแค่นั้นก็เลย revert ครับ บังเอิญว่าคุณได้มาแก้ไขแปะข้อความคืนก่อนที่ผมจะกด revert ไปไม่กี่วินาที มันก็เลยโดนย้อนไปครับ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของผมเอง ก็ขออภัยไว้ด้วยครับถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจ (แต่ผมก็เห็นว่าข้อความนั้นควรจะอยู่ใน "ปฏิกิริยา" มากกว่า "ข้อมูลปลีกย่อย" นะครับ) --Wap 06:44, 21 กันยายน 2006 (UTC)

ความเป็นกลาง

แก้

เห็นมีเทมเพลตบทความไม่เป็นกลาง แต่ไม่เห็นมีความเห็นในหน้าพูดคุยเลยว่าไม่เป็นกลางอย่างไร ? Liger ( ~ /|\ ~ ) 09:09, 21 กันยายน 2006 (UTC)

ผมก็ว่าบทความนำเสนอข้อมูลรอบด้านแล้วนะครับ มีแหล่งอ้างอิงด้วย --Pi@k 09:19, 21 กันยายน 2006 (UTC)

defendthaiconstitution

แก้

เว็บไซต์ 1 หน้าจาก free website (geocities) template ของ defendthaiconstitution ไม่ทราบว่าน่าเชื่อถือพอที่จะนำมาอ้างอิงหรือเปล่า? ไม่มีรูปและ link ไปที่อื่นที่ตรวจสอบได้เลย ไม่มีชื่อแกนนำ ที่ติดต่อ ฯลฯ ขอหลักฐาน หรืออ้างอิงอื่นดีไม๊คะ ด้วยความเคารพ ในส่วนผู้ที่คัดค้าน คปค.ใน ต่างประเทศค่ะ --Look-Narm 15:36, 21 กันยายน 2006 (UTC)

รู้สึกว่าเป็นเว็บที่เพิ่งสร้างใหม่วันสองวันนี่ด้วยครับ ผมเอาข้อความส่วนนั้นออกแล้วนะครับ เพราะแหล่งอ้างอิงมีความน่าเชื่อถือต่ำ อย่างน้อยน่าจะมีรูปประกอบ ว่ามีการประท้วงจริง --Manop | พูดคุย -   19:43, 21 กันยายน 2006 (UTC)
เพิ่มเติมครับ พอดีเจอข่าวในซีเอ็นเอ็นว่า ว่ามีกลุ่มผู้สนับสนุน คปค. ที่นิวยอร์ก เลยนำมาใส่ เพราะเห็นว่ามีทั้งรูปถ่ายและเป็นข่าวจากเว็บที่เชื่อถือได้ครับ --Manop | พูดคุย -   04:50, 22 กันยายน 2006 (UTC)

มีคนใส่กลับเข้ามาอีกแล้วครับ เว็บนี้ คุณ Patiwat คนเดิม ([1]) สงสัยต้องลองถามเจ้าตัวครับ --Manop | พูดคุย -   18:31, 23 กันยายน 2006 (UTC)

สงสัยว่า website ประเภทนี้สามารถอ้างอิงได้ใน wikipedia หรือไม่น่ะค่ะ เพราะคนหนึ่งคนก็สามารถลงทะเบียนง่ายๆ ฟรี และแทบไม่ต้องอ้างอิงอะไรเลย เนื้อหาในนั้นก็ไม่ได้ระบุอะไรที่อ้างอิงได้เลย รวมทั้งตัวบุคคลผู้จัดสร้าง website ด้วย ที่สงสัยมากๆก็คือ คุณ Patiwat อ้างว่าข้อมูลบางอันจากหลายแหล่งก่อนหน้านี้ ไม่น่าเชื่อถือ แต่ในกรณีนี้น่าเชื่อถือ หรือคะ? แหะๆ แปลกๆ เป็นงงงงค่ะ สองมาตรฐาน?--Look-Narm 04:21, 24 กันยายน 2006 (UTC)

ลิงก์อ้างอิงเสีย

แก้

http://www.thaiinsider.com/ShowNews.php?Link=News/SetIndex/2006-09-20/18-16.htm เข้าไปแล้วไม่มีเนื้อหาครับ ทำอย่างไรดี --Pi@k 03:32, 22 กันยายน 2006 (UTC)

คิดว่าต้องลบทิ้ง ไม่เช่นนั้น ก็ต้องใส่ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} --61.47.113.95 06:58, 27 กันยายน 2006 (UTC)

ป้ายเตือน

แก้

เข้ามาเห็นป้ายเตือน "โปรดทราบ เนื่องจากมี คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยห้ามเขียน บทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นอันขาด ถ้าพบจะถูกลบทันที ฉะนั้นโปรดระวังในการแก้ไขบทความด้วย" ก็เลยงงนิดหน่อยว่าวิกิพีเดียอยู่ใต้การควบคุมของปฏิวัติด้วยหรือ? --Kie 16:18, 22 กันยายน 2006 (UTC)

ข้อมูลเพิ่มเติม: เซิร์ฟเวอร์ของวิกิพีเดียไทยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย, มูลนิธิที่ดูแลวิกิพีเดียไม่ได้อยู่ใต้กฎหมายไทย, ผู้ร่วมแก้ไขวิกิพีเดียไทย อยู่ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ -- 172.176.157.14 16:31, 22 กันยายน 2006 (UTC)
นำข้อความ(ด้านบน)ที่ถูกลบโดย ผู้ใช้:Manop คืน -- เนื้อหาไม่ผิดนโยบายวิกิพีเดีย ไม่มีความจำเป็นต้องลบ ไม่ว่าผู้เขียนจะล็อกอินหรือไม่ก็ตาม -- bact' คุย 05:55, 23 กันยายน 2006 (UTC)
ก็รู้ตัวดีนี่ครับ นึกว่าไม่รู้ซะอีก คราวนี้เห็นล็อกอินแล้ว ฮุฮุ --Manop | พูดคุย -  
รู้ว่าข้อความดังกล่าวไม่ผิดนโยบายวิกิพีเดียครับ // พึงระลึกว่าทุกการแก้ไข้ถูกบันทึกอยู่ในประวัติ -- การประพฤติผิดจากนโยบายโดยจงใจหลายครั้ง อาจนำไปสู่การถูกบล็อกได้ หรือในกรณีที่เป็นผู้ดูแลด้วย การประพฤติผิดนโยบายโดยจงใจ หรือเลือกปฏิบัติ อาจจะส่งผลให้ถูกเสนอชื่อเพื่อถอดถอนจากการเป็นผู้ดูแลได้ กรุณาระมัดระวังด้วย ขอบคุณครับ -- bact' คุย 20:55, 23 กันยายน 2006 (UTC)
นั่นอ่ะดิ ถ้าเอาป้ายนั้นมาแปะได้ เราควรแปะมันพร้อม POV ไหมครับ อ้อ แล้วใครจะเป็นคนลบอ่ะครับ --131.215.7.233 17:29, 22 กันยายน 2006 (UTC)
ผมปรับแก้ข้อความนะครับ ตอนแรกอ่านดูอาจจะอ่านงงนิดหน่อย คือจริงๆ แล้วทุกคนลบได้และอยากให้ระมัดระวังในการเขียนมากขึ้น และช่วยสอดส่องที่จะมีคนมาแอบวิจารณ์การเมืองในนี้ --Manop | พูดคุย -   17:45, 22 กันยายน 2006 (UTC)
ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับป้ายอันนี้หน่อยครับ คือผมคิด ๆ ดูแล้ว ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเตือนเรื่องนี้เลยครับ เพราะถ้ามีคนแสดงความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงบทความให้ดีขึ้น ก็ต้องถูกลบออกไปอยู่แล้ว เช่นเดียวกับที่เราทำกับบทความทุกบทความในวิกิพีเดีย ผมคิดว่าป้ายนี้ควรจะเอาออกโดยเร็ว หากท่านใดเห็นขัดแย้งหรือมองในมุมอื่นที่ผมมองไม่เห็น ผมยินดีและพร้อมที่จะฟังเหตุผล ด้วยความเคารพ --Pi@k 02:04, 23 กันยายน 2006 (UTC)
เห็นด้วยเป็นอยากมากครับ ว่าควรเอาป้ายที่ว่าออก มิเช่นนั้น คงต้องนำนโยบายทั้งหมดมาทำเป็นป้ายให้หมด อีกประการหนึ่ง คนที่พูดภาษาไทยอาจจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นคนไทยก็ได้ จึงไม่ควรแสดงออกเหมือนกับว่า วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นของรัฐใดเป็นพิเศษ Vee 06:46, 23 กันยายน 2006 (UTC)
ส่วนตัวแล้วผมอยากให้มีช่วงนี้นะครับ เนื่องด้วย (1) เตือนผู้ใช้ใหม่เป็นพิเศษ (2) เตือนผู้ใช้เก่าไม่ให้มาเขียนล่อเป้าในที่นี่ นะครับ แต่อย่างที่คุณ Pi@k บอกไว้ว่าความเห็นอย่างไรก็จะถูกลบ และในกล่องด้านบนสุดก็มีคำอธิบายแล้วเช่นกัน ซึ่งซ้ำซ้อนกันอยู่ --Manop | พูดคุย -   02:57, 23 กันยายน 2006 (UTC)
ขอเพิ่มเติมหน่อยนะครับ ถึงแม้เซิร์ฟเวอร์ของวิกิพีเดียไทยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย, มูลนิธิที่ดูแลวิกิพีเดียไม่ได้อยู่ใต้กฎหมายไทย ICT ก็มีสิทธิ์ลบได้ครับ(ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม) เว็บต่างชาติหลายเว็บก็โดนปิดไปแล้ว แม้แต่ภาพในกูเกิล วิดีโอคลิปโดนลบหมดครับ(หมายถึงพวกลามกหรือหมิ่นพระบรมฯ นะครับ)Prince 06:12, 23 กันยายน 2006 (UTC)
เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ทางกระทรวง ICT จะต้องติดต่อเตือนและขอความร่วมมือไปกับทางมูลนิธิฯ เองครับ หากพบว่ามีการทำผิดกฎหมายไทย และทางมูลนิธิฯ จะเป็นผู้พิจารณาเองว่าเหมาะสม/จะให้ความร่วมมือหรือไม่ -- ในกรณีที่มูลนิธิฯ ไม่ให้ความร่วมมือ ทางกระทรวงฯ ก็ยังมีสิทธิบล็ิอกเว็บเพื่อไม่ให้ผู้ใช้ในประเทศไทยเข้าได้ ซึ่งก็เป็นไปตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ (ประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายไทย) -- อย่างไรก็ตามผู้ใช้ในประเทศอื่น ๆ ก็ยังมีสิทธิเข้าเว็บได้อยู่ -- bact' คุย 06:29, 23 กันยายน 2006 (UTC)

เห็นด้วยกับผู้ใช้ Pi@k ครับ เห็นควรอย่างยิ่งว่าควรเอาป้ายเตือนแบบพิเศษ (..คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549..) นี้ออกโดยทันที (รวมทั้งที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วย) เนื่องจากไม่มีความจำเป็นเลย เพราะนโยบายวิกิพีเดียที่มีอยู่ก็ชัดเจนและครอบคลุมเรื่องที่เป็นห่วงหมดแล้ว

  • หากมีความเห็นปะปนในบทความ -- ลบออก - เหมือนบทความปกติ
  • หากเนื้อหาบิดเบือน/ผิด -- แก้ไข/ลบออก - เหมือนบทความปกติ
  • หากเนื้อหาไม่มีการอ้างอิง -- แจ้งเตือนในบทความ/ลบออก - เหมือนบทความปกติ
  • หากเนื้อหามีการพาดพิงบุคคล -- ทำตามนโยบายวิกิพีเดีย (เช่นลบเนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิง) - เหมือนบทความปกติ
  • หากมีการก่อกวน -- ลบออก/เตือนผู้เขียน - เหมือนบทความปกติ
  • หากมีการก่อกวนซ้ำโดยผู้เขียนรายเดิม -- บล็อกผู้เขียน - เหมือนบทความปกติ
  • หากมีการก่อกวนเป็นจำนวนมาก -- ล็อกหน้า - เหมือนบทความปกติ

หากต้องการย้ำเรื่องใด ก็สามารถใช้ป้ายเตือนทั่ว ๆ ไปที่ใช้กับบทความอื่น ๆ ในวิกิพีเดียได้ เช่น เหตุการณ์ปัจจุบัน, ตรวจความเป็นกลาง, ตรวจสอบความถูกต้อง, ต้องการอ้างอิง ฯลฯ พึงระลึกว่า วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมเสรี และคุณค่าของมัน ก็อยู่ที่การรักษาคุณภาพเนื้อหาให้มีแต่ข้อเท็จจริง ที่ครบถ้วนเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ถูกควบคุมบังคับหรือตัดตอน ด้วยความเคารพ -- bact' คุย 06:29, 23 กันยายน 2006 (UTC)

ความเข้าใจส่วนตัวคิดว่าที่มีป้ายนี้เพราะไม่ต้องการให้มีการแสดงความเห็นทางการเมือง เช่น ใช้คำผรุสวาทหรือเป็นปฏิปักษ์ แต่ในเมื่อการแก้ไขต่าง ๆ ถูกตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ข้อความที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวจะถูกลบภายในเวลาอันรวดเร็วอยู่แล้ว ดังนั้น ผมไม่รู้สึกเลยว่าวิกิพีเดียจะล่อแหลมต่อการถูกปิดกั้นจากไอซีที --Pi@k 06:27, 23 กันยายน 2006 (UTC)
ถ้าอย่างนั้นก็มาลงคะแนนเสียงดีกว่าครับ(ใครค้าน ขอเหตุผลก็ดีครับ) เดี๋ยวมาดูอีกทีตอนหัวค่ำครับPrince 06:40, 23 กันยายน 2006 (UTC)

ลงคะแนน

แก้

ควรเอาป้ายเตือน "โปรดทราบ เนื่องจากมี คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549 ..." ออก หรือ ควรเก็บไว้ ?

เอาป้ายเตือนออก

  1. สนับสนุนในการลบป้ายเตือนออก. Patiwat 07:21, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  2. ไม่มีความจำเป็น (ดังที่อธิบายไว้ด้านบนแล้ว) -- bact' 07:36, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  3. ควรลบป้ายเตือนดังกล่าวออกโดยเร็วที่สุด Vee 07:58, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  4. สนับสุนในการ เอาออกครับ Piti118 08:30, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  5. - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 08:31, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  6. เอาออกได้ แต่ต้องหมั่นตรวจดูเนื้อหาด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นสถานการณ์ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย --อ็อกตร้า บอนด์ 14:16, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  7. Kie 14:31, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  8. เอาออกครับ เราสามารถที่จะเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นกลางและไม่โน้มเอียงไปในทางใดทางหนึ่งใด โดย ไม่ต้องมีการห้ามใดๆ เพราะเราเอาป้ายห้ามไปแสดงไว้เช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเราได้ทำการเซ็นเซอร์สารานุกรมของเราเอง ซึ่งเป็น "สารานุกรมเสรี" ซึ่งจุดประสงค์หลักของวิกิพีเดียก็คือนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง จึงไม่ควรจำกัดการนำเสนอข้อเท็จจริงใดๆ ตราบใดที่ข้อเท็จจริงนั้นยังคงเป็นกลาง และอ้างอิงได้ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดๆ (รวมถึง คปค.) อีกประการก็คือ ถ้าการนำป้ายมาแปะเช่นนี้ เกิดขึ้นจากความกังวลหรือกลัวการถูกบล็อคจาก ICT แล้วสิ่งนี้ก็จะบั่นทอนความเป็นสารานุกรมของเราไป และดั่งที่นโยบายของวิกิพีเดียบอกไว้ว่า "Wikipedia is not censored" คือ ไม่มีการเซ็นเซอร์วิกิพีเดียครับ จึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะห้ามนำเสนอข้อเท็จจริงที่ส่งผลต่อ คปค. อีกทั้ง การที่เซิฟเวอร์ของ Wikipedia นั้นอยู่ในสหรัฐฯ จึงไม่ผิดต่อหลักกฎหมายใดๆ จึงขอย้ำอีกครั้งครับว่า "ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง" ที่จะสั่งห้ามกฎที่อยู่นอกเหนือนโยบายและบั่นทอนความเป็นสารานุกรมเสรีเช่นนี้ จึงขอออกเสียงให้เอาป้ายออกให้เร็วที่สุดครับ (อ้างอิง: [2]) --Kelos Omos 14:55, 23 กันยายน 2006 (UTC)

เป็นกลาง

  1. Manop | พูดคุย -   18:06, 23 กันยายน 2006 (UTC)
  2. อย่างไรก็ได้ไม่มีปัญหาค่ะ ไร้นาม 12:38, 16 ตุลาคม 2006 (UTC)

เก็บป้ายเตือนไว้


ตอนนี้มีคนเอาป้ายเตือนออกแล้วนะครับในหน้าหลัก ไม่ทราบว่าเป็นใครเพราะคนที่เอาออกไม่ได้ล็อกอิน --Manop | พูดคุย -   18:06, 23 กันยายน 2006 (UTC)

จากผลลงคะแนนปัจจุบัน -- ให้เอาออก 8, เป็นกลาง 1, ให้เก็บไว้ 0 -- ขออนุญาตปลดลงทันที เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสารานุกรมเสรี

  • หน้าบทความรัฐประหาร มีคนปลดลงแล้ว
  • ผมตามปลดในหน้าพูดคุยนี้ + หน้าบทความ คปค. + หน้าพูดคุย คปค. ออกด้วย

-- bact' คุย 20:55, 23 กันยายน 2006 (UTC)

จะเอาเรื่องป้ายเตือนลงในวิกิพีเดียด้วยหรือ?

แก้

เท่าที่ดูจากประวัติการแก้ไข คุณ ผู้ใช้:Prince เป็นคนเอาป้ายเตือนมาแปะไว้ในบทความรัฐประหารเอง ถ้าหากเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ คปค. ผมเห็นว่าไม่ีควรเอาเก็บเนื้อหานี้ไว้ครับ -- Pramook 09:55, 25 กันยายน 2006 (UTC)

imho, if it's going to be in ในโลกอินเทอร์เน็ต section (as it now), YES. but if it's going to be การลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน, NO.

why? as K'Pramook said, this has nothing to do with คปค. (or at least we cannot prove it), so it shouldn't be put in การลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน, as it was an action of คปค.. but still, the incident was actually occured, just as other incidents in ในโลกอินเทอร์เน็ต, like "จำนวนสมาชิกออนไลน์อยู่มากเป็นประวัติการณ์" one, for example.

The think the ในโลกอินเทอร์เน็ต section is to describes how the online society reacts to the coup, just the same as we have sections that describes how local people, other countries react.

In the case of Thai Wikipedia, the incident somehow showed that there are fear/uncertainty in the project/community - and that's the thing that it was/still happen. So I see no problem to have it, as long as we made it read clear that it was NOT an action by คปค. (but (a) Wikipedian(s). Anyway, I don't think it's suitable to tell who s/he is in the article, as it has no importance/significance to the article).

Regards, 141.89.97.204 15:39, 25 กันยายน 2006 (UTC)

เหตุการณ์ วันที่ 22

แก้

คือว่า เค้าเอา เทปบันทึกภาพ มาฉาย หรือว่า แค่เอารูปมาให้ดูครับ ผมเห็นแต่รูปนิ่งหนึ่งรูปในทุกสำนักข่าวอ่ะครับ ใครอยู่เมืองไทยดูทีวี ช่วย confirm ด้วยครับ 131.215.7.233 20:48, 22 กันยายน 2006 (UTC)

  • คืนวันที่ 21 เริ่มเผยแพร่ภาพถ่ายการเข้าเฝ้าของนายทหาร ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 19 ต่อ 20 กันยา ครับ จากนั้นในวันที่ 22 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเปิดเทปพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ (น่าจะถ่ายที่ ที่ทำการกองทัพบก ประมาณเย็นวันที่ 21) - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 22:40, 22 กันยายน 2006 (UTC)

วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549

แก้

ช่วยกันไปเขียน บทความวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549บ้างก็ดีนะครับ :) --Burlight 03:27, 24 กันยายน 2006 (UTC)

ปฏิกิริยาของตลาดการเงิน

แก้

หัวข้อ "ปฏิกิริยาของตลาดการเงิน" (ซึ่งความจริงน่าจะใช้หัวข้อ "ผลกระทบต่อตลาดการเงิน"มากกว่า ในด้านที่มันเป็น effect ไม่ใช่ reaction) หัวข้อนี้ ควรจะนำ fact เกี่ยวกับตลาดการเงินมาลง ไม่ใช่เอาคำพูดหรือคำเตือนหรือความคิดเห็นของใครคนใดคนหนึ่งมาลง เว้นแต่ว่าจะเป็นการประเมินจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากทั่วโลกเท่านั้น ซึ่งก็ควรแยกไปอยู่ในส่วน Credit ratings ให้ชัดเจน ไม่ใช่เอามาปนกับ fact --61.47.113.95 07:16, 27 กันยายน 2006 (UTC)

คำสั่งชุมนุมทางการเมือง 5 คนขึ้นไป/อินเทอร์เน็ต

แก้

ด้วยความเคารพ ขออนุญาต แก้คุณไม่ล็อคอิน (203.152.xxx) 2 เรื่องอีกครั้งนะคะ

  • การควบคุมสื่อที่เขียนมานั้น ไม่ได้มีเป็นการเซ็นเซอร์จึงขออนุญาตแก้เป็น การควบคุม แทนนะคะส่วนอ้างอิงที่ นสพ.มติชนนั้น ขณะนี้ website ไม่สามารถเข้าได้ ปกติการ refer ไปที่หนังสือพิมพ์ (hardcopy) ก็ไม่น่าเป็นไรนะคะ ระบุหน้าไว้ด้วยแล้วอ่ะค่ะ ดูวิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา ประกอบนะคะ
  • การชุมนุม 5 คน ยังไม่มีการจับกุมจริงเลย ในกรณีคุณฉลาดและคุณทวี เป็นการประท้วง จำนวน 2 คน ที่วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยค่ะ

---Look-Narm 01:59, 11 ตุลาคม 2006 (UTC)

  • อ้อ..อีกอันนึงการรัฐสภาฯเอารัฐธรรมนูญ 2540 ออกนี่ เป็นการควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต หรือเปล่าคะ เพราะ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ก็อยู่ดีนะคะ [3], [4] --Look-Narm 02:08, 11 ตุลาคม 2006 (UTC)

ล็อกชั่วคราว

แก้

ผมขอล็อกหน้าหลักไว้ชั่วคราวนะครับ เนื่องจากเห็นว่ามีการแก้ไขกลับไปกลับมาหลายรอบ และขณะเดียวกันควรจะมีการตกลงกันในหน้าอภิปราย ในส่วนนี้ก่อนครับ ถึงอย่างไรหน้านี้ล็อกไม่ได้หมายความว่า ห้ามแก้ไข แต่สามารถแก้ไขได้ตามปกติครับ สำหรับผู้ใช้ทั่วไป --Manop | พูดคุย -   15:39, 11 ตุลาคม 2006 (UTC)

เหตุการณ์ในสื่อ

แก้

ขออนุญาตคุณไร้นามลบ ตรงที่ระบุว่า เหตุการณ์ ในวันที่ 6, 14 ตค.49 ไม่ปรากฏในสื่อเช่นเคยออก เพราะมีในสื่อนะคะ ทั้ง นสพ. และโทรทัศน์ (ฟรีทีวี) มีการสัมภาษณ์ด้วย ---Look-Narm 15:19, 15 ตุลาคม 2006 (UTC)

ได้ค่ะคุณ Look-Narm ลบได้ไม่มีปัญหา พอดีตอนเขียนเพราะเห็นมีสัมภาษณ์ออก ITV เพียงในมุมที่ว่าผู้มาชุมนุมมารำลึกเหตุการณ์ในอดีตเฉยๆ ค่ะ ข่าวไม่ได้ลงว่ามีการตั้งใจนัดกันมาชุมนุมเพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ไร้นาม 12:34, 16 ตุลาคม 2006 (UTC)

เรื่องนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 แห่งราชอาณาจักรไทย

แก้

ขอความกรุณาช่วยเพิ่มเติมเรื่องของการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 แห่งราชอาณาจักรไทยด้วยครับ

" ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ได้รับการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 แห่งราชอาณาจักรไทย "

ควรเพิ่ม ประกาศต่างๆ ที่ออกมา และรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย

แก้

ควรเพิ่ม ประกาศต่างๆ ที่ออกมา และรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย พร้อม การปลด ข้าราชการ และการแต่งตั้ง ข้าราชการ กรรมการรัฐวิสาหกิจด้วย ในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมา ขอบคุณครับ

ขอให้ปลดล็อก

แก้

ดูจากประวัติการแก้ไข หน้านี้ไม่ได้ถูกแก้ไขมา 2 สัปดาห์แล้ว น่าจะปลดล็อกได้นะครับ -- 58.136.80.170 02:40, 13 ธันวาคม 2006 (UTC)

การชุมนุมวันที่ 10 ธันวาคม 2549

แก้

วันที่ 10 ธ.ค. 49 มีกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านคณะรัฐประหารหลายกลุ่ม (หนึ่งในนั้นคือ "เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร") มาชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวง ประมาณจำนวนผู้ชุมนุมอยู่ในหลักร้อยคน ไม่ถึงพัน มีการปราศัยโจมตี คมช. และคณะรัฐบาล มีการพูดถึงประเด็นการเพิ่มงบกลาโหม เรื่องอสมท. การจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และไม่อนุญาตให้ประชาชนจากจังหวัดอื่นเดินทางมาร่วมชุมนุม ฯลฯ หลังจากนั้นเมื่อเวลาเลย 18:00 น. ไปเล็กน้อย ก็มีการเดินขบวนตามถนนราชดำเนินไปยังอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย และทำการชุมนุมต่อที่นั่น ข่าวไทยโพสต์

ไม่เป็นกลาง?

แก้

ผมไม่พบว่า ส่วนใดไม่เป็นกลางครับ บทความนั้นมีเนื้อหายาวมาก ดูแล้วมีแหล่งอ้างอิงเป็นจำนวนมาก และลักษณะการเขียนนั้นอยู่ในรูปแบบเป็นสารานุกรม --Jutiphan | พูดคุย - 00:42, 15 มกราคม 2007 (UTC)

เสนอแนะการปรับปรุงเพื่อเป็นบทความคุณภาพ

แก้
ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

สั่งยุบสภา

แก้

สภาผู้แทนราษฎร ได้สิ้นสุดลงไปตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ และจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ก่อรัฐประหารนั้น ก็ยังไม่มีการเลือกตั้งก่อนช่วงรัฐประหาร จึงถือว่าในตอนนั้นไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ขอให้แก้ไขด้วยครับ --125.24.6.216 17:47, 11 มีนาคม 2555 (ICT)

กลับไปที่หน้า "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549"