สันโตษีมาตา

(เปลี่ยนทางจาก พระแม่สันโตษี)

สันโตษีมาตา (ฮินดี: संतोषी माता; Santoshi Mata) หรือ สันโตษีมา (संतोषी माँ; Santoshi Maa) เป็นเทวีในศาสนาฮินดูที่บูชาในฐานะเทวีแห่งความพึงพอใจ[1] มีการเคารพบูชามากเป็นพิเศษโดยสตรีในแถบอินเดียเหนือและเนปาล

สันโตษีมาตา
เทวีแห่งความความพึงพอใจ
ชื่อในอักษรเทวนาครีसंतोषी माता
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี
ที่ประทับสวานันทโลก
อาวุธดาบ, หม้อข้าวทอง, ตริศูล
วันวันศุกร์
พาหนะเสือ, วัว, บัว
คัมภีร์ชัยสันโตษีมา (ภาพยนตร์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดา
พี่น้องศุภ/เกษม, ลาภ

ประวัติศาสตร์

แก้

ภาพยนตร์ปี 1975 เรื่อง ชัยสันโตษีมา เป็นภาพยนตร์ที่ยกระดับให้สันโตษีมาตา เทพเจ้าที่เป็นที่รู้จักน้อยเข้าสู่การเป็น "เทพองค์ใหม่" ในปรัมปราฮินดู[2][3] การฉายภาพยนตร์จะมีการประกอบพิธีทางศาสนาควบคู่ไปด้วย ผู้ชมบางส่วนเดินทางเข้าชมภาพยนตร์เท้าเปล่า ประดุจกำลังเดินเข้าเทวสถาน นับจากการฉายภาพยนตร์ได้เกิดเทวาลัยจำนวนมากที่บูชาพระนางขึ้นไปทั่วแถบอินเดียเหนือ[3] ภาพยนตร์เข้าสู่สถานะความเป็น "คัลต์" (cult status) และเวลาหลายปีนับจากการเข้าฉาย ได้มีการฉายภาพยนตร์นี้เป็นพิเศษในช่วงกลางวันของวันศุกร์สำหรับสตรีที่ทำการ วรตะ (อดอาหาร) ได้เข้าชมและประกอบพิธีบูชา ภาพยนตร์ทุนต่ำนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้รับการกล่าวขานโดยสื่อว่าเป็น "การเกิดขึ้นโดยฉับพลันของเทวียุคใหม่ เทวีเซลลูลอยด์" และยังนำไปสู่ความสนใจทางวิชาการมากมายเกี่ยวกับศึกษาในพระนาง[3]

วรตะ

แก้

สันโตษีมาตาพรต หรือ สันโตษีมาตาวรตะ (Santoshi Mata vrata) เป็นการถือพรตที่ปฏิบัติในวันศุกร์ต่อเนื่องกัน 16 ศุกร์ หรือจนกว่าคำขอจะประสบผล ผู้ถือพรตจะประกอบพิธี บูชา พระนางและถวายดอกไม้ ธูป และถ้วยใส่นํ้าตาลดิบกับถั่วลูกไก่ย่าง (คุรจนะ; gur-chana) ในระหว่างวันที่ถือพรต จะทานเพียงมื้อเดียว และจะเลี่ยงการทานอาหารรสขมหรือเปรี้ยว รวมถึงจะส่งต่ออาหารพวกนี้แก่บุคคลอื่น เนื่องมาจากอาหารรสเช่นนี้จะบดบัง "ความพึงพอใจ" จากนั้นผู้ถือพรตจะต้องทำพิธี อุทยปัน (udyapan; สรุป) ที่มีเด็กชายแปดคนนำอาหารมื้อเทศกาลมาเสิร์ฟให้[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Lutgendorf, Philip (July–August 2002). "A 'Made to Satisfaction Goddess': Jai Santoshi Maa Revisited (Part Two)" (PDF). Manushi (131): 24–37.
  2. Hawley p. 3
  3. 3.0 3.1 3.2 Lutgendorf, Philip (July–August 2002). "A Superhit Goddess: Jai Santoshi Maa and Caste Hierarchy in Indian Films (Part I)" (PDF). Manushi (131): 10–6.