พระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าโรแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Robert I de France) (15 สิงหาคม 866 - 15 มิถุนายน 923) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 11 ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระอิสริยยศเป็นเคานต์แห่งพอยตีร์ส มาร์ควิสแห่งเนอุสเตรียและออร์ลีนส์ และเคาน์ต์แห่งปารีส[1]

พระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงก์ตะวันตก
ครองราชย์29 มิถุนายน 922 - 15 มิถุนายน 923
ราชาภิเษก29 มิถุนายน 922
ก่อนหน้าชาร์ลที่ 3
ถัดไปโรดอล์ฟ
พระราชสมภพ15 สิงหาคม 866
สวรรคต15 มิถุนายน 923 (พระชนมายุ 56 พรรษา)
ราชวงศ์ราชวงศ์กาโรแล็งเชียง
พระราชบิดาโรเบิร์ตผู้แข็งแกร่ง
พระราชมารดาอเดลาอิเดแห่งตัวร์

พระเจ้าโรแบร์ที่ 1 เป็นพระโอรสในโรเบิร์ตผู้แข็งแกร่งกับอเดลาอิเดแห่งตัวร์ พระองค์เป็นพระอนุชาในโอโด เคานต์แห่งปารีส หลังจากที่โอโดพระเชษฐาของพระองค์สิ้นพระชนม์พระองค์ก็ไม่ได้เรียกร้องสิทธิที่จะปกครองฝรั่งเศส[2] พระองค์ทรงปล่อยให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3ปกครองฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันพระองค์เองก็ทรงปกครองราชอาณาจักรแฟรงก์ทางเหนือ[3]

ต่อมาประชาชนเริ่มไม่พอใจกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3[4] ทำให้มีประชาชนเริ่มสนับสนุนพระองค์และต้องการให้พระองค์เป็นกษัตริย์แทน[5] พระองค์จึงก่อกบฏ สุดท้ายพระองค์ถูกสังหารในสงคราม แต่กองทัพของพระองค์ได้รับชัยชนะ และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ถูกจับกุม[6]

ประวัติ

แก้

รอแบต์ประสูติในปี ค.ศ. 866 พระองค์เป็นบุตรชายที่เกิดหลังการเสียชีวิตของบิดา รอแบต์ผู้แข็งแกร่ง เคานต์แห่งอ็องฌู และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าโอโดที่ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกในปี ค.ศ. 888[1] ซึ่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกจะวิวัฒนาการกลายเป็นราชอาณาจักรฝรั่งเศส[2] และภายใต้การปกครองของพระเจ้าโอโด ปารีสถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวง พระเจ้ารอแบต์และพระเจ้าโอโดเป็นกษัตริย์ที่มาจากราชวงศ์รอแบเตียง[7]

ในปี ค.ศ. 885 รอแบต์เข้าร่วมป้องกันปารีสในตอนที่ชาวไวกิงปิดล้อมโจมตีเมืองปารีส[4] พระเจ้าโอโดได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้ปกครองเคานตีต่างๆ เช่น เคานตีปารีส และเป็นพระอธิการผู้ดูแลผลประโยชน์ของวิหารหลายแห่ง รอแบต์ยังดำรงตำแหน่งเป็นดยุคของชาวแฟรงก์ ตำแหน่งสูงสุดในทางทหาร

เมื่อพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 898 พระองค์ไม่ได้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก กลับกันทรงยอมรับอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ราชวงศ์การอแล็งแฌียง พระเจ้าชาร์ลส์ผู้เรียบง่าย ต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ทรงรับรองตำแหน่งและการครอบครองของรอแบต์ หลังจากที่รอแบต์คุ้มกันอาณาจักรแฟรงก์ตอนเหนือจากการโจมตีของชาวไวกิงได้อย่างต่อเนื่อง รอแบต์ปราบกองกำลังกลุ่มใหญ่ของไวกิงในหุบเขาแม่น้ำลัวร์ได้ในปี ค.ศ. 921 หลังการพ่ายแพ้ผู้รุกรานได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์และตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับน็องต์ส์[8]

ครองราชย์เป็นกษัตริย์

แก้

สันติภาพระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ผู้เรียบง่ายกับข้าราชบริพารผู้ทรงอำนาจของพระองค์แตกหักในปี ค.ศ. 921 เมื่อความโปรดปรานของชาร์ลส์ที่มีต่อฮากาโนจุดชนวนให้เกิดการก่อกบฏ ด้วยการสนับสนุนของกลุ่มนักบวชและกลุ่มขุนนางชาวแฟรงก์ผู้ทรงอำนาจ รอแบต์หยิบอาวุธขึ้นมาขับไล่ชาร์ลส์ไปลอร์แรนและสวมมงกุฎให้ตนเองเป็นกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ที่แร็งส์ในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 922[9]

ในปี ค.ศ. 911 การปกครองของรอแบต์ถูกท้าทายโดยผู้นำชาวไวกิง รอลโล ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดัชชีนอร์ม็องดีตามที่พระเจ้าชาร์ลส์ผู้เรียบง่ายได้เคยอนุญาต ในช่วงรัชสมัยของรอแบต์ รอลโลยังคงภักดีต่อชาร์ลส์ที่พยายามแย่งชิงบัลลังก์กลับคืนมา[8] พระองค์รวบรวมกองทัพ เดินทัพมาต่อสู้กับรอแบต์จนรอแบต์ถูกสังหารในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 923 ที่สมรภูมิซวยส์ซงส์ ทว่ากองทัพของรอแบต์ชนะศึกและชาร์ลส์ถูกจับกุมตัวได้[10] ชาร์ลส์ถูกคุมขังจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 929 บุตรเขยของรอแบต์ รุดอล์ฟ ดยุคแห่งเบอร์กันดี สืบทอดตำแหน่งต่อเป็นกษัตริย์ในชื่อพระเจ้าราอูล[11]

ครอบครัว

แก้

พระมเหสีคนแรกของรอแบต์คือไอลิส[12] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

รอแบต์แต่งงานครั้งที่สองในปี ค.ศ. 890 กับเบียทริซแห่งแวร์ม็องดัวส์ บุตรสาวของแอแบต์ที่ 1 แห่งแวร์ม็องดัวส์[1] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: Verlag von J. A. Stargardt, 1984), Tafel 10
  2. 2.0 2.1 Colin Jones, The Cambridge Illustrated History of France (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), p. 74
  3. Jim Bradbury, The Capetians: kings of France, 987-1328 (London: Hambledon Continuum, 2007), p. 34
  4. 4.0 4.1 Robert F. Berkhofer, Day of Reckoning: Power and Accountability in Medieval France (Philadelphia, Pa. University of Pennsylvania Press 2004). p. 29
  5. Roger Collins, Early Medieval Europe, 300–1000, Second Edition (New York: St. Martin's Press, 1999), pp. 376-7
  6. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 7-8
  7. Jim Bradbury, The Capetians: kings of France, 987–1328 (London: Hambledon Continuum, 2007), p. 34
  8. 8.0 8.1 Roger Collins, Early Medieval Europe, 300–1000, Second Edition (New York: St. Martin's Press, 1999), pp. 376–7
  9. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 6–7
  10. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 7–8
  11. Roger Collins, Early Medieval Europe, 300–1000, Second Edition (New York: St. Martin's Press, 1999), p. 361
  12. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), p. 92
  13. 13.0 13.1 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band III Teilband 1 (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 49
  14. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 21 n. 77, 92
  15. Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: Verlag von J. A. Stargardt, 1984), Tafel 11