รอลโลแห่งนอร์ม็องดี
รอลโล หรือ กาอาง รอล์ฟ[1] (อังกฤษ: Rollo หรือ Gaange Rolf, ภาษานอร์มัน: Rou, นอร์สเก่า: Hrólfr, ฝรั่งเศส: Rollon; ค.ศ. 846 – 930) เป็นชาวไวกิ้งที่กลายเป็นผู้ปกครองคนแรกของนอร์ม็องดี บางครั้งก็ถูกเรียกว่าดยุคที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี ชื่อสแกนดิเนเวียของเขาคือ รอล์ฟ ที่ถูกขยายเพิ่มว่า กาอาง รอล์ฟ เนื่องจากเขามีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ม้าโตเต็มวัยจะแบกไหว เขาจึงต้องเดิน (หรือ "gaa" ในภาษาดาโนนอร์วีเจียน) รอลโลปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะบุคคลที่โดดเด่นท่ามกลางชาวนอร์ส ที่มีฐานที่มั่นถาวรที่มั่นคงบนผืนแผ่นดินของชาวแฟรงก์ในหุบเขาแม่น้ำเซนล่าง พระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย กษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย ยกดินแดนระหว่างปากแม่น้ำเซนกับเมืองรูอ็องในปัจจุบันให้เขา แลกกับการให้รอลโลยินยอมยุติการปล้นทรัพย์และให้การคุ้มกันชาวแฟรงก์จากการรุกรานของชาวไวกิ้งในอนาคต[2]
กาอาง รอล์ฟ, รอลโล | |
---|---|
รอลโลที่รูปปั้นหกดยุค, จัตุรัสเมืองฟาเลส | |
ดยุคแห่งนอร์ม็องดี, เคานต์แห่งรูอ็อง | |
เกิด | ค.ศ. 846 |
เสียชีวิต | ค.ศ. 930, นอร์ม็องดี |
ภรรยา | โปปป้าแห่งบายูซ์
จีเซลาแห่งฝรั่งเศส |
บุตร/ธิดา | วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว |
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
รอลโลได้รับการบันทึกครั้งแรกในฐานะผู้นำของผู้ตั้งรกรากชาวไวกิ้งกลุ่มดังกล่าวในกฎบัตรของ ค.ศ. 918 และเขาครองตำแหน่งในแคว้นนอร์ม็องดีจนถึง ค.ศ. 928 เป็นอย่างน้อย เขาได้รับการสืบทอดต่อโดยบุตรชาย วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว ในดัชชีนอร์ม็องดีที่เขาก่อตั้ง[3] ลูกหลานของรอลโลกับผู้ติดตามกลายเป็นที่รู้จักในชื่อชาวนอร์มัน หลังการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันกับการพิชิตอิตาลีใต้และซิซิลีในสองศตวรรษที่ตามมา ลูกหลานของเขาขึ้นปกครองอังกฤษยุคนอร์มัน (ตระกูลนอร์ม็องดี), ราชอาณาจักรซิซิลี (กษัตริย์แห่งซิซิลี) เช่นเดียวกับราชรัฐอันติอ็อค ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 10 จนถึงคริสตศตวรรษที่ 12 ทิ้งมรดกตกทอดที่คงอยู่ยืนยาวในด้านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไว้ให้ยุโรปและตะวันออกใกล้[4]
การเริ่มต้นของนอร์ม็องดี
แก้ใน ค.ศ. 918 พระเจ้าชาร์ลกับรอลโลเจอกันที่ชายแดนของวิกซ็องกับรูมัวซ์ รูมัวซ์เป็นชื่อในตอนนั้นของมณฑลที่มีรูอ็องเป็นเมืองหลวง[5] ในกฎบัตรกษัตริย์ยืนยันสิทธิ์ของรอลโลในเมืองรูอ็อง พระองค์ยังมอบอาณาเขตทางตะวันตกของชายแดนของบริตทานีทั้งหมดให้แก่เขา[5] ใน ค.ศ. 924 นอร์ม็องดีเติบโตขึ้นเป็นราชรัฐ[6] ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้บายูซ์กับเมนมา[7] รอลโลปรากฏในจดหมายเหตุหลายแห่ง เขาต่อสู้แย่งชิงปราสาทอูกับพระเจ้าราอูล เขายังให้ความช่วยเหลือพระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่ายในการต่อสู้กับแอร์แบต์ที่ 2 แห่งแวร์ม็องดัวซ์[8] รอลโลตายราว ค.ศ. 928[9] เขาถูกสืบทอดต่อโดยบุตรชาย วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว[9]
ครอบครัว
แก้รอลโลแต่งงานครั้งแรกกับโปปป้า[10] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน คือ
- วิลเลี่ยมที่ 1 ผู้ดาบยาว เขาสืบทอดต่อจากบิดาเป็นแพร็งเซป (princeps) แห่งนอร์ม็องดี[10]
- แฌร์ล็อค ภรรยาของวิลเลี่ยมที่ 3 ดยุคแห่งอากีแตน[10]
เขาแต่งงานครั้งต่อมากับจิเซลา พระธิดาของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 ผู้เรียบง่าย กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส[11] ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Editors Gunnar Ander & Karl-Erik Löfqvist, "Allmänna Historien i berättelser 1"; Eng:"Common History in Tales 1", Published by Norstedts, 1960, no ISBN, page 239-240
- ↑ David Bates Normandy Before 1066 (Longman 1982), pp. 8–10.
- ↑ "Rollo | duke of Normandy". Encyclopedia Britannica. Retrieved 2017-11-10.
- ↑ Francois Neveux and Howard Curtis, A Brief History of the Normans: The Conquests that Changed the Face of Europe, Robinson 2008.
- ↑ 5.0 5.1 David Crouch, The Normans; The History of a Dynasty (London; New York: Hambledon Continuum, 2007), p. 4
- ↑ David Crouch, The Normans; The History of a Dynasty(London; New York: Hambledon Continuum, 2007), p. 7
- ↑ The Normans in Europe, trans. Elisabeth van Houts (Manchester; New York: Manchester University Press, 2000), p. 16
- ↑ The Annals of Flodoard of Reims 919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xxi
- ↑ 9.0 9.1 The Normans in Europe, ed. & trans. Elisabeth van Houts (Manchester; New York: Manchester University Press, 2000), p. 2
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Detlev Schwennicke, Europaische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europaischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 79
- ↑ 11.0 11.1 Detlev Schwennicke, Europaische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europaischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 1