พระเจ้าเซจงมหาราช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าเซจงมหาราช (เกาหลี: 세종대왕; ฮันจา: 世宗大王 , พ.ศ. 1940 ถึง พ.ศ. 1993) พระนามเดิมว่า อี โด (เกาหลี: 이도) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่สี่แห่งราชวงศ์โชซ็อน เดิมทีมีพระอิสริยยศว่า เจ้าชายชุงนย็อง (เกาหลี: 중녕대군) พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อนและพระราชินีว็อนกย็อง ในปี ค.ศ. 1418 พระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทต่อจากพระเชษฐาของพระองค์คือเจ้าชายรัชทายาทอี เจ (เกาหลี: 왕세자이제) ซึ่งถูกถอดจากพระอิสริยยศ ปัจจุบัน พระเจ้าเซจงมหาราชได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี
พระเจ้าเซจงมหาราช | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน | |||||
ครองราชย์ | 18 กันยายน พ.ศ. 1961—8 เมษายน พ.ศ. 1993 (31 ปี 303 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 18 กันยายน พ.ศ. 1961 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าแทจง | ||||
ถัดไป | พระเจ้ามุนจง | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | พระเจ้าหลวงแทจง (1961–1965) (อดีตพระราชา) มกุฎราชกุมารอี ฮยาง (1985–1993) (รัชทายาท) | ||||
พระราชสมภพ | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 1940 | ||||
สวรรคต | 8 เมษายน พ.ศ. 1993 (52 ปี 328 วัน) | ||||
คู่อภิเษก | พระนางโซฮ็อน | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อน พระเจ้าเซโจ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โชซ็อน | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าแทจง | ||||
พระราชมารดา | พระราชินีว็อนกย็อง | ||||
ศาสนา | พุทธ (เดิมลัทธิขงจื๊อ) |
Korean name | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Sejong Daewang |
เอ็มอาร์ | Sejong Taewang |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이도 |
ฮันจา | 李裪 |
อาร์อาร์ | I Do |
เอ็มอาร์ | Yi To |
ชื่อวัยเยาว์ | |
ฮันกึล | 원정 |
ฮันจา | 元正 |
อาร์อาร์ | Won Jeong |
เอ็มอาร์ | Wŏn Chŏng |
แม้จะขึ้นครองราชบัลลังก์หลังจากการสละราชบัลลังก์โดยสมัครใจของพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1418 แต่พระเจ้าเซจงก็เป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดในขณะที่พระเจ้าแทจงยังคงกุมพระราชอำนาจที่แท้จริงและปกครองประเทศจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1422 พระเจ้าเซจงจึงเป็นกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลา 28 ปี แม้ว่าหลังจากปี ค.ศ. 1439 พระองค์จะประชวรหนักมากขึ้น[1] และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1442 พระราชโอรสองค์โตของพระองค์คือเจ้าชายรัชทายาทอี ฮยาง (เกาหลี: 왕세자이향, พระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อนในอนาคต) จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระเจ้าเซจงได้สนับสนุนและส่งเสริมลัทธิขงจื๊อแบบเกาหลีและลัทธิขงจื๊อใหม่และออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายที่สำคัญ พระองค์สร้างและประกาศใช้อักษรเกาหลี (ปัจจุบันเรียกว่าอักษรฮันกึล)[2][3] ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนะนำมาตรการเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ พระองค์ส่งทัพไปทางเหนือและก่อตั้ง Samin Jeongchaek (นโยบายการย้ายถิ่นฐานของชาวนา) เพื่อดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ทางใต้ พระองค์ช่วยปราบโจรสลัดญี่ปุ่นระหว่างการรุกรานโอเออิ
พระราชประวัติ
อี โด (เกาหลี: 이도; ฮันจา: 李裪) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามของพระเจ้าแทจงกับพระราชินีว็อนกย็อง เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าชายชุงนยอง (충녕대군; 忠寧大君) และทรงอภิเษกกับพระชายาชิม ซึ่งภายหลังได้รับสถาปนาเป็นพระนางโซฮ็อน พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์คือเจ้าชายยังนยอง และเจ้าชายฮโยรยองเห็นถึงความสามารถของเจ้าชายชุงนยองแต่ยังเยาว์ จึงคิดจะยกบัลลังก์ให้โดยการประพฤติตนเหลวแหลกในราชสำนัก ทำให้เจ้าชายทั้งสองถูกขับออกจากวัง เมื่อพระเจ้าแทจงสละบัลลังก์ใน พ.ศ. 1961 ก็ได้ให้เจ้าชายชุงนยองครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจง
ฮันกึล
ราชกิจอย่างแรกของพระเจ้าเซจงคือการก่อตั้งชิบฮย็อนจอน สำนักปราชญ์ขงจื้อที่เป็นแหล่งรวมผู้มีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาขงจื้อของประเทศ และยังเป็นแหล่งการศึกษาของนักปราชญ์ขงจื้อที่สำคัญอีกหลายท่านในอนาคต
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานชาวเกาหลีไม่มีอักษรเป็นของตนเองแต่ใช้อักษรจีนที่รับมา เรียกว่าฮันจา ซึ่งอักษรจีนเป็นอักษรที่สลับซับซ้อนในการเขียน การเรียนรู้และการจดจำ ดังนั้นในสมัยโชซ็อนจึงมีแต่ยังบันที่เป็นชนชั้นขุนนางเท่านั้นที่เขียนฮันจาเป็น ชาวบ้านสามัญชนทั่วไปจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อีกทั้งอักษรจีนยังใช้แทนเสียงในภาษาเกาหลี ได้ไม่ลื่นนัก ใน พ.ศ. 1989 พระเจ้าเซจงจึงทรงให้นักปราชญ์และนักประดิษฐ์ชื่อ จางยองชิล เดิมเป็นทหารองครักษ์ แต่พระเจ้าเซจงทรงเล็งเห็นในความสามารถจึงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางขั้นชอง 3 พุม พระราชทานกำลังทรัพย์และอำนาจที่จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ จางยองชิลได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝน อันแรกของโลกในปี พ.ศ. 1984 และยังสร้างนาฬิกาน้ำ นาฬิกาแดด และลูกโลกจำลองท้องฟ้า สำหรับโหรหลวงใช้ในการศึกษาดวงดาว แต่ชางยองชิลนั้นได้รับการต่อต้านจากขุนนาง เพราะชางยองชิลเป็นชอนมิน ชนชั้นต่ำสุดในสังคมโชซ็อน ต่ำแหน่งสูง ๆ ของขุนนางสงวนไว้สำหรับยังบันเท่านั้น จนในที่สุดชางยองชิลก็ถูกปลดใน พ.ศ. 1985
พระเจ้าเซจงทรงเห็นถึงปัญหาของชาวนา ในการทำเกษตรกรรม แล้วไม่ได้ผล และได้รับความลำบากเมื่อน้ำท่วม หรือแห้งแล้ง จึงทรงให้มีการแต่งหนังสือนงซาจิกซอล รวบรวมความรู้ประสบการณ์ในการทำการเกษตรจากเกษตรกรอาวุโสทั่วอาณาจักร และยังทรงลดภาษีเกษตรกร เพื่อมิให้เกษตรกรต้องลำบากและมีทรัพย์ในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น[4]
ป้องกันประเทศ
พระเจ้าเซจงยังทรงดำเนินนโยบายต้านทานผู้รุกรานต่างชาติอีกด้วย โดยพระเจ้าแทจงซึ่งเป็นแทซังวังอยู่นั้นได้แนะนำให้พระเจ้าเซจงส่งอีจองมูไปบุกเกาะซึชิมาที่เป็นแหล่งของโจรสลัดญี่ปุ่น จน พ.ศ. 1962 ตระกูลโซเจ้าครองเกาะซึชิมาได้ยอมจำนนและส่งบรรณาการไปยังฮันซอง และพ.ศ. 1963 เกาะซึชิมาก็ขึ้นตรงต่อมณฑลคยองซังของโชซ็อน
ทางเหนือพระเจ้าเซจงก็ทรงก่อตั้ง สี่ป้อมหกปราการ (เกาหลี: 사군육진; ซากุนยุกจิน) เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกแมนจูทางเหนือ และใน พ.ศ. 1976 ทรงส่งคิมจงซอ ไปบุกขยายอาณาเขตทางเหนือ จนโชซ็อนมีอาณาเขตติดแม่น้ำยาลู
พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระเจ้าเซจงนั้นยังคุณประโยชน์มากมายต่ออาณาจักรโชซ็อน และรวมไปถึงประเทศเกาหลีทั้งเหนือและใต้ในปัจจุบันด้วย เพราะทรงส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลี ทำให้ชาวเกาหลีมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองในทุกวันนี้ และพระสาทิสลักษณ์ของพระองค์ยังปรากฏบนธนบัตร 10,000 วอนของเกาหลีใต้ เมื่อพระนางโซฮ็อนสวรรคต พระเจ้าเซจงทรงเศร้าโศกพระราชหฤทัย จนสวรรคตใน พ.ศ. 1993 มีพระเจ้ามุนจง สืบต่อราชบัลลังก์
พระนามเต็ม
- พระเจ้าเซจง จางฮอน ยองมุน เยมู อินซอง มยองฮโย
- 세종장헌영문예무인성명효대왕
- 世宗莊憲英文睿武仁聖明孝大王
พระบรมวงศานุวงศ์
- พระราชบิดา: พระเจ้าแทจง (태종)
- พระราชมารดา: พระนางว็อนกย็อง สกุลมิน แห่งยอฮึง (เกาหลี: 원경왕후 민씨; ฮันจา: 元敬王后 閔氏, กันยายน 1337 – 12 กันยายน 1391)
พระอัครมเหสี พระสนม พระราชโอรส พระธิดา
- พระนางโซฮ็อน สกุลซิม แห่งช็องซง (เกาหลี: 소헌왕후 심씨; ฮันจา: 昭憲王后 沈氏, 28 กันยายน 1395-24 มีนาคม 1446)
- อี ฮยาง, พระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อน
- อี ยู, พระเจ้าเซโจ
- อี ยอง, เจ้าชายอันพยอง
- อี กู, เจ้าชายอีมยอง
- อี ยอ, เจ้าชายควางพยอง
- อี ยู, เจ้าชายกึมซอง พ
- อี อิม, เจ้าชายพยองวอน
- อี ยอม, เจ้าชายยอนกึม
- เจ้าหญิงจองโซ
- เจ้าหญิงจองอึย
- พระสนมเอกฮเยบิน สกุลยาง แห่งชองจู (เกาหลี: 혜빈 양씨; ฮันจา: 惠嬪 楊氏, ?-9 พฤศจิกายน 1455)
- อี โอ, เจ้าชายฮันนัม
- อี ฮย็อน, เจ้าชายซูชอน
- อี จอน, เจ้าชายยองพุง
- พระสนมเอกยองบิน สกุลคัง แห่งจินจู (เกาหลี: 영빈 강씨; ฮันจา: 令嬪 姜氏)
- อี ยอง, เจ้าชายฮวาอึย
- พระสนมเอกซินบิน สกุลคิม แห่งชองจู (เกาหลี: 신빈 김씨; ฮันจา: 慎嬪 金氏, 1406-4 กันยายน 1464)
- อี จอง, เจ้าชายคเยยาง
- อี คง, เจ้าชายอึยชาง
- อี ชิม, เจ้าชายมิลซอง
- อี ยอน, เจ้าชายอิกฮย็อน
- อี ทัง, เจ้าชายยองแฮ
- อี โก, เจ้าชายทัมยาง
- เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
- เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
- พระสนมควีอิน สกุลปาร์ค (เกาหลี: 귀인 박씨; ฮันจา: 貴人 朴氏)
- พระสนมควีอิน สกุลชเว (เกาหลี: 귀인 최씨; ฮันจา: 貴人 崔氏)
- พระสนมโซยอง ตระกูลฮง (เกาหลี: 소용 홍씨)
- พระสนมซุกวอน ตระกูลลี (เกาหลี: 숙원 이씨)
- เจ้าหญิงจองอัน
- ซังชิม ตระกูลซง (เกาหลี: 상침 송씨; ฮันจา: 尙寢 宋氏, ค.ศ. 1396-ค.ศ. 1463)
- เจ้าหญิงจองฮย็อน
- พระสนมซากี ตระกูลชา (เกาหลี: 사기 차씨; ฮันจา: 司記 車氏, ?-10 กรกฎาคม 1444)
- เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าเซจงมหาราช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ "跬步之間, 但知有人, 而不辨爲某某也". National Institute of Korean History. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
- ↑ Kim-Renaud, Young-Key (1997). The Korean Alphabet: Its History and Structure (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 15. ISBN 9780824817237.
- ↑ "알고 싶은 한글". 국립국어원. National Institute of Korean Language. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
- ↑ www.chosonkorea.org/index.php/people/kings/king-sejong-the-great
ก่อนหน้า | พระเจ้าเซจงมหาราช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าแทจง | พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน (พ.ศ. 1961 - พ.ศ. 1993) |
พระเจ้ามุนจง|} |