พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี (เดิม หม่อมเจ้าราษี; 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2391 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2442) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยียง
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี | |
---|---|
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2391 |
สิ้นพระชนม์ | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2442 (50 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเยียง |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2391[1] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยียง พระองค์ประสูติในขณะที่พระราชบิดายังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อแรกประสูติจึงดำรงพระยศเป็น หม่อมเจ้าราษี หลังจากพระราชบิดาได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วจึงเลื่อนเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าราษี
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์เจ้าราษี ทรงได้เข้าเป็นสามัญสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณในพระบรมมหาราชวัง และทรงประทานเงินบำรุงปีละ 20 บาทเป็นประจำทุกปี ปรากฏความใน วชิรญาณวิเศษ ว่า[2]
"...ตั้งแต่วันที่ ๕ จนถึงวันที่ ๑๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ในระหว่าง ๗ วันนี้ ท่านสมาชิกได้มายังหอพระสมุดวชิรญาณ ๒๒ ท่าน ได้ลงชื่อ ๓๙ ครั้ง แลหนังสือที่ได้ให้ยืม ๔๕ ครั้ง แลสมาชิกได้นำเงินค่าเกมบิลเลียดมาส่ง ๕ ท่าน รวมเปนเงิน ๙๕ บาท ๑๖ อัฐ สมาชิกได้นำเงินบำรุงหอพระสมุดวชิรญาณจำนวนปีที่ ๑๓ มาส่งยังหอพระสมุดวชิรญาณ เปนเงินรายละ ๒๐ บาท ดังจะมีรายพระนามแลนามแจ้งต่อไปนี้ คือ... พระเจ้าบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าราษี ๑..."
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2442 พระชันษา 52 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2443[1]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- หม่อมเจ้าราษี (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2391 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าเจ้าราษี (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจ้าราษี (พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2430)[3][4]
- พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี (พ.ศ. 2430 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2442)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าราษี (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
- ↑ วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ แผ่นที่ ๑๒ วันพฤหัศบดี ที่ ๑๘ เดือน มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
- ↑ กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 229
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 10 (ตอน 35): หน้า 377. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)