พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทินกร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา (สกุลเดิม ณ บางช้าง) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. 1163 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบิดายังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระโสทรภราดาและโสทรภคินี 4 พระองค์ ได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (ต้นราชสกุลพนมวัน)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 |
สิ้นพระชนม์ | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 (55 ปี) |
พระบุตร | 23 องค์ |
ราชสกุล | ทินกร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2 |
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าชายทินกรขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213 โดยมีเจ้ากรมเป็นหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ปลัดกรมเป็นขุนพินิจบริบาล สมุหบาญชีเป็น หมื่นชำนาญลิขิต บังคับบัญชากรมพระนครบาล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์มีผลงานในการเขียนบทละครไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า สุวรรณหงษ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักเพลงยาว และสักวาชั้นเยี่ยม ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นสักวากันมากในหมู่กวี ถือว่าเป็นศิลปชั้นสูงซึ่งเจ้านายสูงศักดิ์และผู้ดีมักนัดชุมนุมลอยเรือ เล่นสักวากันในงานนักขัตฤกษ์หรือในโอกาสพิเศษ สำหรับโคลงสี่สุภาพ ก็ทรงนิพนธ์ไว้ไพเราะมาก เช่น เรื่อง นิราศฉะเชิงเทรา ฯลฯ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ประชวรด้วยพระโรคทุลาวะสะ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ส. 1218 ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 สิริพระชันษา รวม 56 ปี ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2400 เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระศพกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ และกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ 2 พระศพ มาลงเรือเอกไชยที่หน้าวัดพระเชตุพน เวลา 2 ยามเศษ แห่ห้ามไปเข้าเมรุผ้าขาวที่หลังวัดอรุณราชวราราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพ 2 วัน 2 คืน ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2400 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์
พระโอรส พระธิดา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระชายา 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงเลียบ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์) และมีหม่อมอีกหลายคน มีพระโอรสและพระธิดารวม 23 องค์ ดังนี้
- หม่อมเจ้าชายรังษี ทินกร
- หม่อมเจ้าหญิงประทิน ทินกร
- หม่อมเจ้าหญิงประจง ทินกร
- หม่อมเจ้าหญิงนงนุช ทินกร (พ.ศ. 2379 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2437)
- หม่อมเจ้าหญิงประภาณ ทินกร
- หม่อมเจ้าหญิงเล็กประภัสสร ทินกร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ. 2405)
- หม่อมเจ้าชายเพ็ญบูรณ์ ทินกร (พ.ศ. 2381 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2432)[1]
- หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
- หม่อมเจ้าชายปาน ทินกร (พ.ศ. 2401 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456)
- หม่อมเจ้าหญิงเป้า ทินกร (พ.ศ. 2401 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2421)
- หม่อมเจ้าชายไพบูลย์ ทินกร มีโอรสธิดา 4 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงใหญ่ ทินกร
- หม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก ทินกร
- หม่อมราชวงศ์แดง ทินกร
- หม่อมราชวงศ์ปฐม (หุ่น) ทินกร มีบุตรธิดาต่างมารดารวม 2 คน[2]
- นายเหม เวชกร (มารดาชื่อ หม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ) สมรสกับนางแช่มชื่น คมขำ ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน สำหรับนามสกุลเวชกรนั้นได้ขอใช้นามสกุลตามขุนประสิทธิ์เวชการ (แหยม เวชชกร) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ให้การอุปการะในช่วงวัยรุ่น โดยตัดอักษร ช ในนามสกุลเดิมออก 1 ตัว
- หม่อมหลวงหญิงพวง ทินกร (ไม่ทราบนามมารดา)
- หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์ ทินกร บางแห่งเขียนว่าหม่อมเจ้าพูลสวัสดิ์ (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2441) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงงาม สนิทวงศ์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) มีโอรสธิดา 4 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร สมรสกับเจิม บุนนาค ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค) มีบุตรธิดา ดังนี้
- พลตรี หม่อมหลวงโอสถ ทินกร
- หม่อมหลวงอุดม ทินกร
- หม่อมหลวงอัธยา ทินกร (แฝด)
- หม่อมหลวงอารมณ์ ทินกร (แฝด)
- หม่อมหลวงทิพย์สุคนธ์ ทินกร
- หม่อมหลวงชโลม ทินกร
- หม่อมหลวงมณฑล ทินกร
- พันโท หม่อมหลวงพูนศักดิ์ ทินกร
- หม่อมหลวงอุทัย ทินกร
- หม่อมราชวงศ์ชวน ทินกร 1.หม่อมหลวงโชย ทินกร
- หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร สมรสกับเจิม บุนนาค ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค) มีบุตรธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าหญิงรัชนี ทินกร (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ชันษากว่า 57 ปี) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเจริญ สนิทวงศ์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
- หม่อมเจ้าชายเป๋า ทินกร ประสูติแต่หม่อมเจ้าหญิงเลียบ
- หม่อมเจ้าชายเจียก ทินกร ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม สกุลเดิม ณ บางช้าง (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ชันษากว่า 55 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2451 โดยเหตุที่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์นั้นเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานการพระศพเสมอด้วยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า) เสกสมรสกับหม่อมเถาวัลย์ ทินกร ณ อยุธยา และยังมีหม่อมอีก 1 คน คือ หม่อมแก้ว ทินกร ณ อยุธยา มีโอรสและธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงเปล่ง ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงไปล่ ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงปรุง ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์กัน ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์แกม ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงผกา ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงก้อย ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์เกี่ยว ทินกร มีหม่อมแก้วเป็นมารดา สมรสกับปลื้ม ฐิตรัต มีบุตรธิดา ดังนี้
- หม่อมหลวงประอรพิศ ทินกร
- หม่อมหลวงประกิต ทินกร
- พันตรี หม่อมหลวงประทีป ทินกร
- หม่อมหลวงประสงค์หมาย ทินกร
- หม่อมหลวงประไพวดี ทินกร
- หม่อมหลวงประณีน้อม ทินกร
- หม่อมหลวงประนอมพันธุ์ ทินกร
- หม่อมหลวงประทานพร ทินกร
- หม่อมหลวงประพจน์ ทินกร
- หม่อมราชวงศ์หญิงกะรัต ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์กำหนัด ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
- หม่อมเจ้าชายปั๋ง (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าชายติ่ง ทินกร
- หม่อมเจ้าหญิงบุษบง (พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2440)
พระโอรสและพระธิดาทั้ง 23 พระองค์นี้ มีสืบราชสกุลเพียง 5 องค์เท่านั้น คือ หม่อมเจ้าชายปาน, หม่อมเจ้าชายไพบูลย์, หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์, หม่อมเจ้าชายเป๋า และหม่อมเจ้าชายเจียก
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- หม่อมเจ้าทินกร (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2349)
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทินกร (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ หสช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1212 เลขที่ 168 สมุดไทยดำระบุว่าเป็นหม่อมเจ้าหญิง
- ↑ สมศักดิ์ ทินกร ณ อยุธยา. สืบสายราชสกุลทินกร. (2531), หน้า 37. อ้างถึงใน พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ. (2561). เรื่องผีของเหม เวชกร: ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513). วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.