พระอุปคุต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระอุปคุต หรืออีกชื่อคือ พระอุปคุปต์ (Upagupta) เป็นพระภิกษุองค์สำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช[1] และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาท ซึ่งชื่อ "อุปคุต" มีความหมายว่า ผู้คุ้มครองรักษา
พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมนับถือของชาวอินเดีย มอญ และชาวไทยวน และอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนที่พระองค์ผนวชอยู่ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย
ประวัติ
แก้ประวัติ
แก้เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบท้าววสวัตตี มีเรื่องเล่ามาว่าประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ กรุงปาฏลีบุตร (ปัจจุบันคือเมืองปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพญามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพญามารจนยอมแพ้[1]
ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น[2]
ความสับสนกับพระบัวเข็ม
แก้พระอุปคุตมักถูกสับสนกับ พระบัวเข็ม ซึ่งเป็นพระในตำนานของพม่า-มอญ-ล้านนา ซึ่งแตกต่างกันกับพระอุปคุตทั้งในทางประติมากรรมและประวัติของพระทั้งสององค์ที่แตกต่างกัน[3] อย่างไรก็ตามในทางพระเครื่องมักถือให้พระอุปคุตเป็นพระองค์เดียวกับ ในทางพระเครื่องมีประวัติว่า "พระบัวเข็ม" เดิมเป็นพระพุทธรูปมอญ เข้ามาแพร่หลายในไทยช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระรามัญได้นำมาถวายพระวชิรญาณภิกขุ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) โดยเชื่อในพุทธคุณว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดลาภผล ความมั่งมี ขจัดภยันตราย และมีอิทธิฤทธิ์ในทางขอฝนอีกด้วย[4]
ที่ปราจีนบุรี มีผู้พบพระพุทธรูป เป็นพระบัวเข็มที่แกะสลักด้วยไม้ลอยน้ำมา จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดใหม่ท่าพาณิชย์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ตำนานพระอุปคุต (ไทย)
- ↑ ประเพณีเป็งปุ๊ด ตักบาตรเที่ยงคืน[ลิงก์เสีย] (ไทย)
- ↑ กิ่งมณี, อรุณศักดิ์ (2017). ทิพยประติมา. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส. ISBN 978-616-7674-13-1.
- ↑ ประวัติ "พระบัวเข็ม" เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)
- ↑ "พระบัวเข็ม" ลอยในแม่น้ำปราจีน[ลิงก์เสีย]
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บทความ "ตำนานพระอุปคุต" เก็บถาวร 2009-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)