พระยาพิมพิสารราชา
พระยาพิมพิสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ตรงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงครองนครแพร่ต่อจากพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลา
พระยาพิมพิสารราชา | |
---|---|
พระยานครแพร่ | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2390 — พ.ศ. 2429[1] |
ก่อนหน้า | พระยาอินทวิไชย |
ถัดไป | เจ้าพิริยเทพวงษ์ |
ประสูติ | พ.ศ. 2354 |
ถึงแก่พิราลัย | พ.ศ. 2429 |
พระชายา | แม่เจ้าแก้วไหลมาราชเทวี แม่เจ้าธิดาเทวี แม่เจ้าคำใย้เทวี หม่อมจันทร์ |
พระบุตร | 5 พระองค์ |
ราชวงศ์ | แสนซ้าย |
พระบิดา | พระยาวังขวา |
พระมารดา | แม่เจ้าปิ่นแก้ว |
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง ราชวงศ์แสนซ้าย | |
---|---|
* | พระยาแสนซ้าย |
* | พระยาเทพวงศ์ |
* | พระยาอินทวิไชย |
พระยาพิมพิสารราชา | |
เจ้าพิริยเทพวงษ์ | |
พระประวัติ
แก้พระยาพิมสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร[1] มีนามเดิมว่าเจ้าพิมพิสาร ประสูติเมื่อพ.ศ. 2354 เป็นโอรสของพระยาวังขวา (เฒ่า) กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว น้องสาวของ พระยาแสนซ้าย เจ้าเมืองแพร่ แต่ในหนังสือเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย เรียบเรียงโดยบัวผิว วงศ์พระถาง เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช และร.ต.ดวงแก้ว รัตนวงศ์ ระบุว่า เป็นพระธิดาพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 1 กับแม่เจ้าสุชาดา และเป็นพระขนิษของพระยาอินทวิไชย เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 3
เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวงศ์ เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระยาแพร่ ขณะมีชันษาได้ 34 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน[2]
พระยาพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าหลวงที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ 1 อัน หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว เทน้ำที่เหลือทิ้ง หรือใช้กระบวยเล็กตักดื่มซ้ำเมื่อไม่อิ่ม ต่างก็โดนก๋งยิง (เป็นอาวุธที่ใช้ลูกหินขนาดเล็กเป็นกระสุนสามารถทำให้เจ็บตัวหรือเป็นแผลได้) ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่รู้จักประมาณตนเอง หรือไม่ประหยัด นอกจากนี้เจ้าหลวงพิมพิสารยังมีกิจการค้าไม้สัก ทำรายได้เข้าเมืองแพร่นับหลายล้านบาทต่อปี ทำให้เศรษฐกิจในเมืองแพร่มีความต่อเนื่องและเป็นไปได้ดี[3]และพระองค์ยังทรงบูรณะวัดหลวง เมืองนครแพร่ในปี พ.ศ. 2416
พระยาพิมพิสารราชา ถึงแก่พิราลัยเวลาบ่าย 5 โมง แรม 7 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ พ.ศ. 2429 สิริชนมายุได้ 74 วัสสา
ราชโอรส-ธิดา
แก้พระยาพิมพิสาร มีพระชายา และราชโอรส-ธิดา ดังนี้[3]
- แม่เจ้าแก้วไหลมาราชเทวี (พบหลักฐานในแผ่นศิลา-จารึกที่วัดหลวง) แต่ไม่ปรากฏมีว่าราชบุตร ด้วยกันหรือไม่
- แม่เจ้าธิดาเทวี (ธิดาเจ้าหนานคัมภีระ) มีราชโอรส-ธิดา 4 พระองค์ คือ
- เจ้าบัวไข สมรสกับ เจ้าหนานไชยลังกา (บุตรพระวังขวา(เจ้าหนานคำแสน) กับเจ้าบัวเขียว) ไม่มีบุตร
- เจ้าเบาะ สมรสกับ พระยาอุปราช (เจ้าหัวหน้า) มีโอรส-ธิดา 2 คน
- 1.เจ้าฟองคำ สามีไม่ทราบนาม
- 2.เจ้าน้อยทวงศ์ สมรสกับเจ้าขันคำ รสเข้ม (ไม่มีบุตร)
- แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา เสกสมรสกับเจ้าหนานศรีทิ (เจ้านายเมืองน่าน) มีโอรส-ธิดา 3 คน
- 1.เจ้าน้อยศรีเมือง หงส์ยี่สิบสาม
- 2.แม่เจ้าฟอง บรรเลง สมรสกับนายหนานแสน บรรเลง โยมมารดา-บิดา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) อดีตเจ้าคณะตรวจการภาค 4 และ 5
- 3.แม่เจ้าแก้วเหลี่ยมเพชร
- เจ้าน้อยเทพวงศ์ ต่อมาคือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย
- แม่เจ้าคำใย้เทวี มีโอรส 1 พระองค์ คือ
- พระสุริยะจางวาง (น้อยมหาอินทร์ สารศิริวงศ์) เจ้าสุริยะจางวางนครแพร่ เสกสมรส 4 ครั้ง
- สมรสครั้งที่1 กับแม่เจ้าสุชาดา (ไม่มีบุตร)
- สมรสครั้งที่2 กับหม่อมฟองแก้ว มีธิดา 1 คน คือ
- เจ้าบุญนำ วังซ้าย (สารศิริวงศ์)
- สมรสครั้งที่3 กับหม่อมเป็ง มีโอรส 1 คน คือ
- เจ้าน้อยคำ สารศิริวงศ์
- สมรสครั้งที่4 กับหม่อมแก้ว มีโอรส 1 คน คือ
- เจ้าน้อยเป็ด สารศิริวงศ์
- หม่อมจันทร์ (พบชื่อในประวัติพญาพรหมโวหาร) ไม่ปรากฏว่ามีราชบุตรด้วยกันหรือไม่
พระอิสริยยศ
แก้- พ.ศ. 2356 เจ้าพิมพิสาร
- ก่อนพ.ศ. 2390 พระยาราชวงศ์
- พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2429 พระยานครแพร่
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของพระยาพิมพิสารราชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือและตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. หน้า 20. ISBN 978-616-220-054-0
- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑-๔. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2555. 2,136 หน้า. หน้า 1559. ISBN 978-616-7146-30-0
- ↑ 3.0 3.1 "เจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร หรือขาเค)". วังฟ่อนดอตคอม. 18 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
ก่อนหน้า | พระยาพิมพิสารราชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาอินทวิไชย | เจ้าผู้ครองนครแพร่ (พ.ศ. 2390 — พ.ศ. 2429) |
เจ้าพิริยเทพวงษ์ |