พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)

มหาอำมาตย์ตรี พระยานลราชสุวัจน์ ชื่อจริง ทองดี นลราชสุวัจน์ (สกุลเดิม วณิกพันธุ์ ; 8 สิงหาคม พ.ศ. 2424 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2496) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13

พระยานลราชสุวัจน์
(ทองดี นลราชสุวัจน์)
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ชั่วคราว)
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าปรีดี พนมยงค์
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2424
เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 มีนาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงอ่อน นลราชสุวัจน์

ประวัติ

แก้

พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) เป็นบุตรนายคง และนางจุ้ย เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน

พระยานลราชสุวัจน์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2496 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2496[1]

งานการเมือง

แก้

พระสุธรรมวินิจฉัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13[2]

เมื่อ พ.ศ. 2489 หลังการลาออกของปรีดี พนมยงค์ พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) และสงวน จูฑะเตมีย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตามมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญ และได้มีส่วนร่วมในการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชให้เสด็จขึ้นครองราชย์[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ 2[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  3. บทที่ 3 สถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งนายตำรวจเอกเป็นหัวราชสำนัก (จำนวน ๑๖ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๐๑, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๑, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๙๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๙, ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอน ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙