พระยาชัยสุนทร (หล้า)

พระยาชัยสุนทร (หล้า) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวหล้า” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 (พ.ศ. 2381–2390)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูล “วงศ์กาฬสินธุ์“ ซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

พระยาชัยสุนทร
(หล้า)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2381 – พ.ศ. 2390
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(เจียม)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(ทอง)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2390
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

ชาติกำเนิด

แก้

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระธานี(หมาป้อง)อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นชายได้แก่ ท้าวเจียม ท้าวลาว ท้าวละ ท้าวหล้า ส่วนบุตรหญิงไม่ปรากฏนาม

การรับราชการ

แก้

•เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ “หลวงไชยอาสา” ตำแหน่งนายกอง ในสมัยพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 และได้เป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3

•ภายหลังพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ. 2380 กรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลให้โปรดเกล้าฯ พระทานสัญญาบัตรตั้งท้าวหล้า เป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และพระสุวรรณ(เกษ)บุตรท้าวหมาสุย เป็นที่อุปฮาด ท้าวทองบุตรพระยาไชยสุนทร(เจียม) เป็นที่ราชวงศ์ และท้าวปัดสา(ละ)บุตรท้าวหมาป้อง เป็นที่ราชบุตร

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

•ปี พ.ศ. 2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระบรมราชโองการใบบอกพระราชทานสารตราต้งเมืองสกลนครมายังกรมการเมืองกาฬสินธุ์ที่รักษาราชการเมืองสกลนคร โปรดเกล้าฯให้ ท้าวลาวบุตรท้าวหมาป้องราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์เป็นที่อุปฮาดเมืองสกลนครและท้าวด่างบุตรพระยาไชยสุนทร(เจียม)ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นที่ราชบุตรเมืองสกลนครและให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ไปจัดทำแผนที่แบ่งเขตแขวงเมืองสกลนครและเมืองกาฬสินธุ์ ดังปรากฏในท้องตราดังกล่าวแล้ว

•ปี พ.ศ. 2384 ครัวเมืองวัง มีราชวงศ์กอ เป็นหัวหน้า ได้อพยพมาต้งอยู่ที่บ้านกุดสิมหรือบ้านกุดกว้างที่ห้วยน้ำยัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์กอ เป็น “พระธิเบศรวงศา” เจ้าเมือง ยกบ้านกุดสิมเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ ให้ท้าวคองเป็นอุปฮาด ท้าวตั้วเป็นราชวงศ์ ท้าวเนตรเป็นราชบุตร ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

•ปี พ.ศ. 2387 ได้เป็นแม่กองจัดสร้างวัดกลาง เป็นพระอารามหลวงประจำเมือง โดยแยกธรณีสงฆ์ออกมาจากวัดศรีบุญเรือง(เหนือ) ซึ่งแต่เดิมคือวัดเดียวกัน

•ปี พ.ศ. 2388 หมื่นเดชอุดม ชาวเมืองเวียงจันทน์ ได้พาไพร่พลบ้านห้วยนายม แขวงเมืองวังมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านภูแล่นช้างชายเขาภูพานด้านทิศตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นเดชอุดมเป็นที่ “พระพิชัยอุดมเดช” เจ้าเมืองภูแล่นช้าง ให้เพี้ยโคตรหลักคำเป็นอุปฮาด ให้เพี้ยมหาราชเป็นราชวงศ์และให้เพี้ยดวงพรหมสีเป็นราชบุตร ยกบ้านภูแล่นช้างเป็นเมืองภูแล่นช้าง ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ผูกส่วยผลเรว ส่งเงินแทนปีละ 8 ชั่ง มีจำนวนเลก 318 คน

•ปี พ.ศ. 2388 ครัวเมืองคำเกิดของพระคำดวนและครัวเมืองคำม่วนของพระคำแดงรวมกันจำนวน 2,859 คน อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อครั้งพระยามหาอำมาตย์(ป้อม อมาตยกุล)เป็นแม่กองมาเกลี้ยกลรอม พระยามหาอำมาตย์ให้ครัวพระคำดวนมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าขอนยาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระคำดวนเป็น “พระสุวรรณภักดี” เจ้าเมืองท่าขอนยาง และแต่งตั้งกรมการเมืองคำเกิดเป็นอุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ช่วยราชการพระสุวรรณภักดีเมืองท่าขอนยางผกส่วยผลเรว ส่งเงินแทนปีละ 10 ชั่ง มีจำนวนเลก 407 คน ให้ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนครัวเมืองคำม่วน มีพระคำแดง เป็นหัวหน้าอพยพมาตั้งที่บ้านบึงกระดาน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระคำแดง เป็น “พระศรีสุวรรณ” เจ้าเมือง ยกบ้านบึงกระดานเป็นเมืองแซงบาดาล ให้ทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์

ถึงแก่กรรม

แก้

•พระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 10 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2490 สืบมาภายหลังลูกหลานเรียกขานทานว่า “อัญญาหลวงองค์น้อย” สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 เพียงเท่านี้

ทายาท

แก้

พระยาไชยสุนทร(หล้า) สมรสกับ อัญญานางคำแดง มีบุตร 7 คน ได้แก่

1) นางขาว สมรสกับ พระอิทธิสาร(ด่าง) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และสกลนคร บุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางอ่อน 2)นางน้อย 3)ท้าวเปีย 4)ท้าวอุปละ เป็นต้น

2) พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 9 สมรสกับ คุณหญิงพา ณ กาฬสินธุ์ บุตรีคนที่ 2 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 มีบุตร 10 คน ได้แก่ 1)ท้าวหนูแดง 2)พระสุริยมาตย์(สุรินทร์) ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์ 3)พระไชยแสง(ทองอินทร์) นายกองเมืองกาฬสินธุ์ 4)พระศรีธงไชย(คำตา) กรมการเมืองพิเศษสกล 5)หลวงไชยสวัสดิ์(คำแสน) เสมียนตราเมืองกาฬสินธุ์ 6)ขุนไชยสาร(จารย์เฮ้า) ผู้ดูแลพาหนะเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ 7)นางข่าง 8)นางคะ 9)นางบัวสา 10)ท้าวคำหวา เป็นต้น

3) พระศรีวรวงศ์(สี) ผู้ช่วยเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับ นางเจียงคำ บุตรีคนที่ 2 ของพระอุปสิทธิ์(สีน) กรมการเมืองสกลนคร มีบุตร 9 คน คือ 1)นางแพง 2)นางสระ 3)นางเอี่ยม 4)ท้าวทิตย์ 5)นางขำ 6)ท้าวทะ 7)ขุนพรหมวิศัย(เทพ) 8)ท้าวเถื่อน 9)ท้าวธรรม เป็นต้น

4) พระไชยราช(ไชย) กรมการเมืองสกลนคร สมรสกับ นางอุด บุตรีคนที่ 7 ของพระยาไชยสุนทร(จารย์ละ) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 มีบุตร 11 คน ได้แก่ 1)ท้าวคำขาน 2)ท้าวคำสาร 3)นางข่าว 4)นางคำขาว 5)ท้าวปี 6)ท้าวชาลี 7)ท้าวคำสิงห์ 8)ท้าวคำแสน 9)ท้าวคำส่อง 10)ท้าวคำตัน 11)ท้าวคำจันทร์ เป็นต้น

5) พระอุปสิทธิ์(สีน) กรมการเมืองสกลนคร สมรสกับ นางคำผิว บุตรีของพระยาประจันตประเทศธานี(ปิด) เจ้าเมืองสกลนคร มีบุตร 7 คน ได้แก่ 1)นางเจียงคำ 2)นางบัว 3)นางด้วง 4)นางสุมณฑา 5)นางทองแก้ว(กับนางเขียว) 6)นางเหลี่ยม(กับนางเขียว) 7)นางพรหมา(กับนางเขียว) เป็นต้น

6) พระโพธิสาร(คำ) ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับใครไม่ทราบนาม มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)ท้าวสีหาราช 2)ท้าวสูญเมฆขลา 3)ท้าวสีสุราช 4)ท้าวเชียงสา 5)นางเชียงสี เป็นต้น

7) นางหมอก สมรสกับ ขุนไชยวงศ์ กำนันตำบลบ้านวังยาง แขวงเมืองสกลนคร มีบุตร 7 คน ได้แก่ 1)นางทอง 2)นางกอง 3)ท้าวเชียงคุณ 4)ท้าวพรหม 5)นางเป็ง 6)นางใบ ​​7)นางลี ​​เป็นต้น

สายตระกูล

แก้
ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (หล้า) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (เจียม)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2381 - 2490)
  พระยาชัยสุนทร (ทอง)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]