ตราแผ่นดินของเบลเยียม

ตราแผ่นดินของเบลเยียม (อังกฤษ: Coat of arms of Belgium) เป็นตราอาร์มของประเทศเบลเยียมที่เริ่มใช้เป็นตราประจำชาติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ตราแผ่นดินประกอบด้วยสิงโตเบลเยียม (Leo Belgicus) ตามมาตรา 193 (เดิมมาตรา 125) ของรัฐธรรมนูฐเบลเยียมที่ระบุว่า ชาติเบลเยียมใชสีแดง, เหลือง และ ดำเป็นสีประจำชาติ และตราอาร์มมีสิงโตเบลเยียมพร้อมด้วยคำขวัญ 'ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง' (UNITY MAKES STRENGTH) พระราชบัญญัติที่ออกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1837 ระบุรูปทรงของตราอาร์มโดยบรรยายทั้งตรามหาลัญจกรณ์ และตราประทับของราชอาณาจักร

ตราอาร์มของเบลเยียม
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราแผ่นดิน
ตราย่อใช้โดยรัฐบาลแห่งเบลเยียม
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
เริ่มใช้17 มีนาคม ค.ศ. 1837
โล่พื้นตราสีดำ, สิงโตยืนยกขาสองข้างหันข้างสีทอง (สิงโตเบลเยียม (Leo Belgicus))
ประคองข้างสิงโตสองตัวยืนยกขาสองข้างหันหน้าสีธรรมชาติ
คำขวัญฝรั่งเศส: L'UNION FAIT LA FORCE
ดัตช์: EENDRACHT MAAKT MACHT
อิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์
ส่วนประกอบอื่นมือแห่งความยุติธรรม, คทายอดสิงโต, หอกสองเล่มที่ปลายเป็นธงชาติเบลเยียม

ตราใหญ่

แก้

นิยามของตราอย่างเป็นทางการ:

นิยามของตรา
Sable, a lion rampant or, armed and langued gules
พื้นตราสีดำ, สิงโตยืนยกขาสองข้างหันข้างสีทอง, เล็บและลิ้นสีแดง
หมายเหตุ: แปลตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนนิยามของตรา

เหนือโล่เป็นหมวกเกราะเปิดกระบังมีพู่ประดับสีทอง ขอบสีดำ และเครื่องยอดเป็นมงกุฎ ด้านหลังโล่เป็นมือแห่งความยุติธรรมและคทายอดสิงโต สร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ล้อมรอบโล่ ประคองข้างด้วยสิงโตสองตัวถือหอกที่ยอดเป็นธงชาติเบลเยียมสีแดง, เหลือง และ ดำ ใต้ฐานรองเป็นคำขวัญเป็นภาษาฝรั่งเศส: L'UNION FAIT LA FORCE หรือเป็นเป็นภาษาดัตช์: EENDRACHT MAAKT MACHT ('ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง') แถบคำขวัญเป็นพื้นสีแดงขอบเส้นขนานดำทั้งบนและล่าง ตัวอักษรของคำขวัญเป็นสีทอง ตั้งแต่ออกเป็นพระราชประกาศในปี ค.ศ. 1837 คำขวัญก็มิได้รับการแปลอย่างเป็นทางการ และมักจะใช้คำขวัญที่เป็นภาษาดัตช์ ตราที่บรรยายทั้งหมดอยู่ภายในเสื้อคลุมขนเออร์มินที่แต่งด้วยครุยและสายคาดที่มีปลายเป็นพู่ รวบยอดด้วยมงกุฎ ตอนบนสุดเหนือเสื้อคลุมเป็นแถบที่มีตราของจังหวัดเก้าจังหวัดที่ประกอบกันเป็นเบลเยียมในปี ค.ศ. 1837 ที่รวมทั้งอันท์เวิร์พ, ฟลานเดอร์สตะวันตก, ฟลานเดอร์สตะวันออก, ลีเยช, บราบองต์, เอโนต์, ลิมบวร์ก, ลักเซ็มเบิร์ก และ นาเมอร์

ตรามหาจลัญจกรณ์ใหญ่เป็นตราที่มิได้ใช้บ่อยครั้งนัก เมื่อใช้ก็จะใช้ในการประทับบนกฎหมายหรือสนธิสัญญาต่างประเทศ

เมื่อบราบองต์แบ่งแยกออกไปเป็นเฟล็มมิชบราบองต์, วอลลูนบราบองต์ และบรัสเซลส์ในปี ค.ศ. 1995 ตราอาร์มใหญ่ก็มิได้แสดงดินแดนจริงของเบลเยียม

ภาพตราอาร์ม

แก้
ตราอาร์มองค์พระมหากษัตริย์
ตราอาร์มสมาชิกในพระราชวงศ์


ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • Andrée Scufflaire. Les origines du sceau de l'Etat belge, in: Roger Harmignies, ed. Sources de l'héraldique en Europe occidentale, (Brussels, 1985) 201-225.
  • Hubert de Vries. Wapens van de Nederlanden: De historische ontwikkeling van de heraldische symbolen van Nederlanden, België, hun provincies en Luxemburg (Amsterdam, 1995).
  • Philippe du Bois de Ryckholt. Dictionnaire des cris et devises de la noblesse belge Receuil généalogique et héraldique, 24 (Brussels, 1976) p. 17-18.
  • "Belgian royal coat of arms gets a 'modern' update". Brussel Times. 1 August 2019. Retrieved 2 August 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้