พระธยานิพุทธะ
พระธยานิพุทธะ หรือ พระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้ในคัมภีร์มหาไวโรจนสูตรมีพระธารณีมนตร์ว่าโอม อโฆมะ ไวโรจนะ มหามุทรา มณี ปัทมะ ชวล ประ วะ รัตน ยะ หูม อักษพีชะ อา[1]
จำนวน
แก้พระธยานิพุทธะโดยทั่วไปมี 5 พระองค์ ได้แก่
พระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์นี้ได้สร้างพระธยานิโพธิสัตว์ขึ้นด้วยอำนาจฌานของตนอีก 5 องค์ ได้แก่
- พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เกิดจากพระไวโรจนพุทธะ
- พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ เกิดจากพระอักโษภยพุทธะ
- พระรัตนปาณีโพธิสัตว์ เกิดจากพระรัตนสัมภวพุทธะ
- พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เกิดจากพระอมิตาภพุทธะ
- พระวิศวปาณีโพธิสัตว์ เกิดจากพระอโมฆสิทธิพุทธะ
พระอโมฆสิทธิพุทธะ
(เหนือ) |
||
พระอมิตาภพุทธะ
(ตะวันตก) |
พระไวโรจนพุทธะ
(ศูนย์กลาง) |
พระอักโษภยพุทธะ
(ตะวันออก) |
พระรัตนสัมภวพุทธะ
(ใต้) |
ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่:
พุทธะ | ภาษาสันสกฤต | ภาษาญี่ปุ่น | ภาษาจีน |
---|---|---|---|
พระไวโรจนพุทธะ | वैरोचन | 大日如来, Dainichi Nyorai | 毘盧如來, Pilu Rulai |
พระอักโษภยพุทธะ | अक्षोभ्य | 阿閦如来, Ashuku Nyorai | 阿閦如來, Achu Rulai |
พระอมิตาภพุทธะ | अमिताभ | 阿弥陀如来, Amida Nyorai | 彌陀如來, Mituo Rulai |
रत्नशिखिन् | 宝髻如来, | 寳髻如來, Baoji Rulai | |
พระรัตนสัมภวพุทธะ | रत्नसंभव | 宝生如来, Hōshō Nyorai | 寳生如來, Baosheng Rulai |
พระอโมฆสิทธิพุทธะ | अमोघसिद्धि | 不空成就如来, Fukūjōju Nyorai | 成就如來, Chengjiu Rulai |
ลักษณะของแต่ละพระองค์
แก้โคตร | พุทธะ | ปัญญาญาณ | กิเลส | ขันธ์ | ปฏิกิริยา | สัญลักษณ์ | ธาตุ | สี | ฤดูกาล | ทิศทาง | มุทรา |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พุทธะ | พระไวโรจนพุทธะ | ปัญญาอันสูงสุด | ความหลง | วิญญาณขันธ์ (รูปขันธ์) | หมุนธรรมจักร (การสอน) | ธรรมจักร | อากาศธาตุ | สีขาว | ไม่มี | ศูนย์กลาง | ธรรมจักรมุทรา |
รัตนะ | พระรัตนสัมภวพุทธะ | เท่าเทียม | ความเย่อหยิ่ง (มานะ) | เวทนาขันธ์ | ความร่ำรวย | รัตนมณี | ธาตุดิน | สืทอง สีเหลือง | ฤดูใบไม้ร่วง | ใต้ | วรท
มุทรา |
ปัทมะ | พระอมิตาภพุทธะ | ปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี | ความปรารถนา (โลภะ) | สัญญาขันธ์ | เสน่ห์ดึงดูด, การเอาชนะ | ดอกบัว | ธาตุไฟ | สีแดง | ฤดูร้อน | ตะวันตก | ธยานมุทรา |
กรรมะ | พระอโมฆสิทธิพุทธะ | แบบสำเร็จทุกอย่าง | ความอิจฉา | สังขารขันธ์ | ความสงบระงับ | วัชระแฝด | ธาตุลม | สีเขียว | ฤดูหนาว | เหนือ | อภยมุทรา |
วัชระ | พระอักโษภยพุทธะ | แบบกระจกเงา | ความโกรธ (โทสะ) | รูปขันธ์ | การปกป้องและการทำลาย | สายฟ้า, วัชระ | ธาตุน้ำ | สีน้ำเงิน | ฤดูใบไม้ผลิ | ตะวันออก | ภูมิผัสมุทรา |
การนับถือในประเทศต่าง ๆ
แก้- เนปาลและทิเบต นับถือพระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์ข้างต้น โดยถือว่าพระธยานิพุทธะเป็นตัวแทนของอายตนะภายใน 5 และพระธยานิโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของอายตนะภายนอก 5 ซึ่งประกอบเป็นร่างกายของสรรพสัตว์ มีการกำหนดตำแหน่งของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ในพุทธมณฑลซึ่งใช้ในการประกอบพิธ๊กรรมทางศาสนานิกายวัชรยาน รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของการประดิษฐานพระพุทธะเหล่านี้ไว้ในเจดีย์ในประเทศเนปาล
- จีนและญี่ปุ่น ชาวพุทธนิกายสุขาวดี นับถือพระอมิตาภพุทธะเพียงองค์เดียว ในญี่ปุ่นได้เพิ่มพระธยานิพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตว์ ถือว่าเป็นหัวหน้าของพุทธะทั้งหมด หรือเป็นอาทิพุทธะ การนับถือพระธยานิพุทธะในญี่ปุ่นพบในนิกายชินกอนเป็นส่วนใหญ่ นิกายอื่นพบน้อย
ระเบียงภาพ
แก้-
พระไวโรจนพุทธะ, ประติมากรรมสำริดศิลปะเกาหลีสมัยอาณาจักรซิลลา วัดบุลกุกซา ประเทศเกาหลีใต้
-
พระอักโษภยะพุทธะ, ภาพจิตรกรรมศิลปะทิเบต
-
พระอมิตาภพุทธะ ศิลปะจีน ปางยืน
-
พระอโมฆสิทธิพุทธะ, ภาพจิตรกรรมศิลปะทิเบต
-
พระรัตนสัมภวพุทธะ, ภาพจิตรกรรมศิลปะทิเบต
-
พระอักโษภยะพุทธะ, ประติมากรรมหินแกะสลัก ศิลปะชวา
-
พระอมิตาภพุทธะ, ประติมากรรมหินแกะสลัก ศิลปะชวาสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้จากบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย
-
พระอโมฆสิทธิพุทธะ, ประติมากรรมหินแกะสลัก ศิลปะชวาสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้จากบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย
-
พระรัตนสัมภวพุทธะ, ประติมากรรมหินแกะสลัก ศิลปะชวาสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้จากบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย
อ้างอิง
แก้- ↑ 《大毘盧遮那成佛神變加持經》CBETA 電子版No. 848 入真言門 ...buddhism.lib.ntu.edu.tw › sutra › chi_pdf › sutra10
บรรณานุกรม
แก้- ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
- ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548