พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส)
พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส: Parti socialiste, PS) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในฝรั่งเศส ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1969 ซึ่งมีฟร็องซัว มีแตร็อง เป็นเลขาธิการเอก (ฝรั่งเศส: Premier secrétaire) คนแรกของพรรค ตำแหน่งนี้เทียบได้กับหัวหน้าพรรคในการเมือง
พรรคสังคมนิยม Parti socialiste | |
---|---|
ชื่อย่อ | PS |
ผู้ก่อตั้ง | ฟร็องซัว มีแตร็อง อะแล็ง ซาวารี |
เลขาธิการเอก | โอลิเวียร์ ฟอร์ |
รองเลขาธิการเอก | โจฮันนา โรล็องด์ นีกอลา เมเยอร์-โรซินญอลล์ |
ก่อตั้ง | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 |
รวมตัวกับ | ดูรายชื่อ
|
ที่ทำการ | 99, rue Molière 94200 Ivry-sur-Seine |
ฝ่ายเยาวชน | เยาว์สังคมนิยม |
สมาชิกภาพ (ปี ค.ศ. 2023) | 45,000 |
อุดมการณ์ | เสรีนิยมทางสังคม ประชาธิปไตยสังคมนิยม สังคมนิเวศวิทยา ลัทธนิยมยุโรป สังคมนิยม |
จุดยืน | ฝ่ายซ้ายกลางถึงฝ่ายซ้าย |
กลุ่มระดับชาติ |
|
กลุ่มระดับสากล | พันธมิตรก้าวหน้า สังคมนิยมนานาชาติ |
กลุ่มในรัฐสภายุโรป | พันธมิตรก้าวหน้าของสังคมนิยมและเดโมแครตในรัฐสภายุโรป (S&D) |
สี | สีชมพู, สีเขียว |
สมัชชาแห่งชาติ | 65 / 577
|
วุฒิสภา | 64 / 348
|
รัฐสภายุโรป | 10 / 81
|
สภาแผนก (ประธาน) | 23 / 98
|
สภาภูมิภาค (ประธาน) | 4 / 18
|
นายกเทศมนตรี[a] | 45 / 279
|
เว็บไซต์ | |
www.parti-socialiste.fr |
เลขาธิการเอกของพรรคในปัจจุบันเป็น โอลิเวียร์ ฟอร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากฌ็อง-กริสตอฟ กัมบาเดลิส
ประวัติการเลือกตั้งประธานาธิบดี
แก้ฟร็องซัว มีแตร็อง ซึ่งเป็นเลขาธิการเอกหรือหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ได้ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1974 และได้ผ่านรอบที่ 2 ชิงตำแหน่งกับวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง ผู้สมัครพรรคสหพันธ์สาธารณรัฐอิสระแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา แต่ในที่สุดก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมา มีแตร็องก็เป็นผู้สมัครของพรรคอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของปีค.ศ. 1981 และหลังผ่านรอบที่ 2 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ทำให้มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรคสังคมนิยมและฝ่ายซ้าย
มีแตร็อง ขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ 7 ปีแล้ว ลงเป็นผู้สมัครของพรรคอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของปีค.ศ. 1988 ซึ่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง
หลังจากนั้น ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1995 ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการเอกของพรรคตั้งแต่มีแตร็องดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ลงเป็นผู้สมัครของพรรค แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากฌัก ชีรัก อดีตนายกรัฐมนตรีในการนำของฌิสการ์ แด็สแต็ง (ค.ศ. 1974 - 1976) และมีแตร็อง (ค.ศ. 1986 - 1988) ได้รับการเลือกตั้งแทน ต่อมา ฌ็อสแป็งก็ลงเป็นผู้สมัครอีกครั้งในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2002 แต่ไม่ได้ผ่านรอบที่ 2 เนื่องจากมีฌ็อง-มารี เลอ แปน ผู้สมัครพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาจัด ได้ผ่านรอบที่ 2 ชิงตำแหน่งกับฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีในขณะนั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งในรอบที่ 2
ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2007 เซกอแลน รัวยาลเป็นผู้สมัครของพรรค ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกของพรรคสังคมนิยมที่ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เธอได้ผ่านรอบที่ 2 และชิงตำแหน่งกับนีกอลา ซาร์กอซี ผู้สมัครพรรคสหภาพเพื่อขบวนการประชาชน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งในรอบที่ 2
ในปีค.ศ. 2011 พรรคสังคมนิยมได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปีถัดไป (ค.ศ. 2012) ซึ่งมีฟร็องซัว ออล็องด์ เลขาธิการเอกของพรรคตั้งแต่ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ไปดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ. 1997 และ มาร์ทีน โอบรี นายกเทศมนตรีเมืองลีล เป็นผู้สมัครที่ได้ผ่านรอบที่ 2 และในที่สุดก็เป็นออล็องด์ที่ได้รับการเลือกตั้งและแต่งตั้งเป็นผู้สมัครของพรรคสังคมนิยม ต่อมา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีค.ศ. 2012 ออล็องด์ก็ผ่านรอบที่ 2 และชิงตำแหน่งกับนีกอลา ซาร์กอซี ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น จากนั้นในรอบที่ 2 ออล็องด์ได้รับการเลือกตั้ง ทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีแรกที่มาจากพรรคสังคมนิยมในระหว่าง 24 ปี (ปีค.ศ. 1988)
ต่อมา ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ฟร็องซัว ออล็องด์ ประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศระหว่างการแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ ว่าจะไม่ลงเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งของปีถัดไป[1] ซี่งเป็นคนแรกในประวัติศาสัตร์ของสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ จากนั้น ในเดือนถัดไป (มกราคม ค.ศ. 2017) พรรคก็ได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกอีกครั้งเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้งของปีเดียวกัน (เมษายน ค.ศ. 2017) ซึ่งมีเบอนัว อามง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การอดุมศึกษาและการวิจัยภายใต้รัฐบาลชุดแรกของมานุเอล วาลส์ และมานุเอล วาลส์ อดีตนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของฟร็องซัว ออล็องด์ ซึ่งลาออกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 สองบุคคลนี้เป็นผู้สมัครที่ผ่านรอบที่ 2 ของการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรก และในที่สุดก็เป็นเบอนัว อามง ที่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งในเดือนเมษายน อามงไม่ได้รับการเลือกตั้งด้วยไม่ได้ผ่านรอบที่ 2 และเป็นครั้งแรกที่สุดที่ผู้สมัครของพรรคสังคมนิยมได้รับสัดส่วนคะแนนต่ำที่สุด (6.3%) ตั้งแต่กาสตง เดิฟแฟร์ ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1969 (ซึ่งได้รับ 5.01%)[2]
เพื่อการเลือกตั้งประธาธิบดีของปีค.ศ. 2022 พรรคสังคมนิยมได้จัดการเลือกตั้งผู้สมัครรอบแรกภายในพรรคในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งมีอาน อีดาลโก นายกเทศมนตรีปารีส ได้รับการเลือกตั้งและเป็นผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้ง[3] แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง อีดาลโกได้รับ 1.74% ซึ่งเป็นสัดส่วนคะแนนต่ำกว่าเบอนัว อามง ในปีค.ศ. 2017 และสัดส่วนคะแนนต่ำที่สุดที่พรรคเคยได้รับ
ประวัติการเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติ
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นฟร็องซัว มีแตร็อง เป็นผู้นำพันธมิตรสหภาพฝ่ายซ้าย (ฝรั่งเศส: Union de la gauche) ซึ่งพันธมิตรสหภาพฝ่ายซ้ายได้รับคะแนนเสียงสูงที่สุดในรอบที่ 1 (10,593,306 คน) แต่ในรอบที่ 2 พันธมิตรกลับมาเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งได้ชนะ 177 ที่นั่ง ภายใต้พันธมิตรพรรคสังคมนิยมได้ชนะ 89 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งมากกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่ได้ชนะ 73 ที่นั่ง แล้วในรอบที่ 2 พรรคสังคมนิยมก็กลายเป็นพรรคอันดับ 1 ภายใต้พันธมิตร ด้วยได้รับ 4,734,889 คนเป็นคะแนนเสียง ซึ่งเป็นจำนวนคะแนนเสียงมากกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่ได้รับ 4,402,025 คนเป็นคะแนนเสียง
พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 113 ที่นั่งในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1978 ซึ่งนำโดยฟร็องซัว มีแตร็องอีกครั้ง แล้วเป็นพรรคเดียวในการเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ (ฝรั่งเศส: Rassemblement pour la République) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายข้างมากของรัฐบาลและประธานาธิบดีในขณะนั้น
หลังจากฟร็องซัว มีแตร็อง ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปีค.ศ. 1981 แล้ว พรรคสังคมนิยมก็ได้กลายเป็นพรรคฝ่ายข้างมากของสมัชชาแห่งชาติ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในปีเดียวกัน ซึ่งได้ชนะ 266 ที่นั่ง
การเลือกตั้งของปีค.ศ. 1988 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสัตร์ของสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ที่ใช้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เข้าข้างพรรคสังคมนิยม เพราะพรรคได้ชนะแค่ 206 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งมากที่สุดถ้าเป็นพรรคเดียว แต่เป็นเสียงข้างน้อยถ้าร่วมพรรคฝ่ายขวา เช่น พรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ และ พรรคสหภาพเพื่อประชาธิปไตยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Union pour la démocratie française) ที่ได้ชนะ 290 ที่นั่ง ทำให้ฌัก ชีรัก ผู้นำพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ ถูกแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สุดในประวัติศาสัตร์ของฝรั่งเศสที่มีนายกรัฐมนตรีที่มีแนวโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดี จากนั้นพรรคสังคมนิยมก็กลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน
พรรคสังคมนิยมกลับมาเป็นฝ่ายรัฐบาลอีกครั้งในสมัชชาแห่งชาติในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1988 แต่เป็นเสียงข้างน้อย โดยพรรคได้ชนะ 260 ที่นั่ง
ต่อมา ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 1993 พรรคสังคมนิยมกลับมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน โดยมีพรรคการชุมนุมเพื่อสาธารณรัฐ และ พรรคสหภาพเพื่อประชาธิปไตยฝรั่งเศส มาเป็นเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 57 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่นั่งที่ต่ำที่สุดของพรรคตั้งแต่ลงการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ทำให้เอดัวร์ บาลาดูร์ ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีแนวโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดีคนที่ 2 หลังจากฌัก ชีรัก ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของฟร็องซัว มีแตร็อง ปฎิเสธดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของปีค.ศ. 1997 เกิดขึ้นหลังฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1997 อย่างไรก็ตาม พรรคสังคมนิยมได้เข้าร่วมกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่นเพื่อร่วมในพันธมิตรพหูพจน์ซ้าย (ฝรั่งเศส: Gauche plurielle) แล้วหลังรอบที่ 2 ของการเลือกตั้งครั้งนี้ พันธมิตรได้ชนะ 312 ที่นั่ง แล้วภายใต้พันธมิตรนี้ พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 255 ที่นั่ง ทำให้พรรคสังคมนิยมกลายเป็นเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าร่วมกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ เพื่อเป็นรัฐบาลผสม จากนั้น ลียอแนล ฌ็อสแป็ง ผู้นำพันธมิตรในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากฌัก ชีรัก ทำให้เป็นครั้งที่ 3 ที่มีนายกรัฐมนตรีที่มีโน้มทางการเมืองที่แตกต่างกับประธานาธิบดี
ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2002 พรรคสังคมนิยมได้ชนะแค่ 140 ที่นั่ง ทำให้เป็นฝ่ายค้านในสมัชชาแห่งชาติ ต่อมา ในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2007 พรรคได้ชนะ 186 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเลือกตั้งครั้งก่อน แต่ก็ยังเป็นฝ่ายค้านอีกเหมือนเดิมด้วยพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ที่มีที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ
หลังจากมีฟร็องซัว ออล็องด์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของปีค.ศ. 2012 พรรคสังคมนิยม ด้วยพรรคฝ่ายซ้ายอื่น เช่น พรรคเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป พรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง และพรรคขบวนการสาธารณรัฐและพลเมือง ได้ชนะทั้งหมด 331 ที่นั่ง ภายใต้พันธมิตรกับพรรคอื่น พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 280 ที่นั่ง ทำให้พรรคเป็นฝ่ายข้างมากแต่มีเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าร่วมกับพรรคอื่นเพื่อเป็นรัฐบาลผสม
การเลือกตั้งของปีค.ศ. 2017 ทำให้พรรคสังคมนิยมมีจำนวนที่นั่งน้อยลง ซึ่งได้ชนะแค่ 30 ที่นั่ง แล้วกลายเป็นฝ่ายค้านกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ที่ได้ชนะที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ เช่น ลาฟร็องแซ็งซูมีซ หรือพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส ต่อมาในการเลือกตั้งของปีค.ศ. 2022 พรรคสังคมนิยมได้เข้าร่วมภายใต้พันธมิตร สหภาพทางนิเวศวิทยาและสังคมใหม่ (ฝรั่งเศส: Nouvelle Union populaire écologique et sociale) ที่นำโดยพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ ของฌอง-ลุค เมลองชง ทำให้พรรคสังคมนิยมได้ชนะ 28 ที่นั่ง ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ได้ชนะในการเลือกตั้งครั้งก่อน
การเข้าร่วมการเมืองอื่น ๆ
แก้พรรคสังคมนิยมเคยเป็นเสียงข้างมากในวุฒิสภาฝรั่งเศส หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของปีค.ศ. 2011
ในรัฐสภายุโรป พรรคสังคมนิยมเป็นหนึ่งของกลุ่ม พันธมิตรก้าวหน้าของสังคมนิยมและเดโมแครตในรัฐสภายุโรป (อังกฤษ: Progressive Alliance of Socialists and Democrats) และเป็นหนึ่งของพรรคสังคมนิยมยุโรป (อังกฤษ: Party of European Socialists) อีกด้วย
รายชื่อประธานาธิบดี
แก้-
ฟร็องซัว มีแตร็อง
(วาระ: 1981–1995) -
ฟร็องซัว ออล็องด์
(วาระ: 2012–2017)
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
แก้-
ปีแยร์ โมรัว
(วาระ: 1981–1984) -
โลร็องด์ ฟาบียุส
(วาระ: 1984–1986) -
มีแชล รอการ์
(วาระ: 1988–1991) -
เอดิต แครซง
(วาระ: 1991–1992) -
ปีแยร์ เบเรโกวัว
(วาระ: 1992–1993) -
ลียอแนล ฌ็อสแป็ง
(วาระ: 1997–2002) -
ฌ็อง-มาร์ก เอโร
(วาระ: 2012–2014) -
มานุแอล วาลส์
(วาระ: 2014–2016) -
แบร์นาร์ กาซเนิฟว์
(วาระ: 2016–2017)
ผลการเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้ง | ผู้สมัครเลือกตั้ง | คะแนนรอบที่ 1 | คะแนนรอบที่ 2 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | ||
1974 | ฟร็องซัว มีแตร็อง | 11,044,373 | 43.25% | 12,971,604 | 49.19% | พ่ายแพ้ |
1981 | 7,505,960 | 25.85% | 15,708,262 | 51.76% | สำเร็จ ชนะ | |
1988 | 10,367,220 | 34.10% | 16,704,279 | 54.02% | สำเร็จ ชนะ | |
1995 | ลียอแนล ฌ็อสแป็ง | 7,097,786 | 23.30% | 14,180,644 | 47.36% | พ่ายแพ้ |
2002 | 4,610,113 | 16.18% | ไม่ผ่านรอบที่ 2 | |||
2007 | เซกอแลน รัวยาล | 9,500,112 | 25.87% | 16,790,440 | 46.94% | พ่ายแพ้ |
2012 | ฟร็องซัว ออล็องด์ | 10,272,705 | 28.63 | 18,000,668 | 51.64% | สำเร็จ ชนะ |
2017 | เบอนัว อามง | 2,291,288 | 6.36% | ไม่ผ่านรอบที่ 2 | ||
2022 | อาน อีดาลโก | 616,478 | 1.75% | ไม่ผ่านรอบที่ 2 |
การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
แก้การเลือกตั้ง | คะแนนรอบที่ 1 | คะแนนรอบที่ 2 | จำนวนที่นั่ง | ผลการเลือกตั้ง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | |||
1973 | 4,537,348 | 19.10% | 4,734,889 | 22.17% | 89 / 490
|
ฝ่ายค้าน |
1978 | 7,040,561 | 22.60% | 7,788,076 | 30.73% | 113 / 491
|
ฝ่ายค้าน |
1981 | 9,432,362 | 37.52% | 9,198,332 | 49.25% | 266 / 491
|
เสียงข้างมาก |
1986 | 8,693,939 | 31.02% | การเลือกตั้งแบบระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ | 206 / 577
|
ฝ่ายค้าน | |
1988 | 8,493,702 | 34.77% | 9,198,778 | 45.31% | 260 / 577
|
เสียงข้างน้อย |
1993 | 4,429,237 | 17.50% | 5,697,795 | 28.00% | 57 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
1997 | 5,961,612 | 23.53% | 9,751,423 | 38.05% | 255 / 577
|
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล[b] |
2002 | 6,086,599 | 24.11% | 7,482,169 | 35.26% | 140 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
2007 | 6,436,136 | 24.73% | 8,622,529 | 42.25% | 186 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
2012 | 7,618,326 | 29.35% | 9,420,889 | 40.91% | 280 / 577
|
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล[c] |
2017 | 1,685,677 | 7.44% | 1,032,842 | 5.68% | 30 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
2022 | 860,201 | 3.78% | 1,084,909 | 5.23% | 28 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
2024 | 2,774,052 | 8.65% | 2,624,529 | 9.62% | 65 / 577
|
ฝ่ายค้าน |
ผู้บริหาร
แก้เลขาธิการเอก
แก้ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | อะแล็ง ซาวารี | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 | 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971
(1 ปี 334 วัน) | |
2 | ฟร็องซัว มีแตร็อง | 16 มิถุนายน ค.ศ. 1971 | 24 มกราคม ค.ศ. 1981
(9 ปี 222 วัน) | |
3(1) | ลียอแนล ฌ็อสแป็ง | 24 มกราคม ค.ศ. 1981 | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1988
(7 ปี 111 วัน) | |
4 | ปีแยร์ โมรัว | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 | 9 มกราคม ค.ศ. 1992
(3 ปี 240 วัน) | |
5 | โลร็อง ฟาบียุส | 9 มกราคม ค.ศ. 1992 | 3 เมษายน ค.ศ. 1993
(1 ปี 84 วัน) | |
6 | มีแชล รอการ์ | 3 เมษายน ค.ศ. 1993 | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1994
(1 ปี 77 วัน) | |
7 | อ็องรี แอมมานุเอลลี | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1994 | 14 ตุลาคม ค.ศ. 1995
(1 ปี 117 วัน) | |
8(2) | ลียอแนล ฌ็อสแป็ง | 14 ตุลาคม ค.ศ. 1995 | 2 มิถุนายน ค.ศ. 1997
(1 ปี 231 วัน) | |
9 | ฟร็องซัว ออล็องด์ | 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
(10 ปี 365 วัน) | |
10 | มาร์ทีน โอบรี | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 | 17 กันยายน ค.ศ. 2012
(3 ปี 296 วัน) | |
11 | ฮาร์เล็ม เดซียร์ | 17 กันยายน ค.ศ. 2012 | 15 เมษายน ค.ศ. 2014
(1 ปี 210 วัน) | |
12 | ฌ็อง-กริสตอฟ กัมบาเดลิส | 15 เมษายน ค.ศ. 2014 | 30 กันยายน ค.ศ. 2017
(3 ปี 168 วัน) | |
- | ราชิด เตมาล[d] | 30 กันยายน ค.ศ. 2017 | 7 เมษายน ค.ศ. 2018
(0 ปี 189 วัน) | |
13 | โอลิเวียร์ ฟอร์ | 7 เมษายน ค.ศ. 2018 | ปัจจุบัน |
หมายเหตุ
แก้- ↑ เมืองที่มีประชากรมากกว่า 30,000 คน
- ↑ ผลการเลือกตั้งเสนอว่าพรรคสังคมนิยมได้รับเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าเป็นรัฐบาลผสม
- ↑ ผลการเลือกตั้งเสนอว่าพรรคสังคมนิยมได้รับเสียงข้างน้อย แต่เป็นเสียงข้างมากถ้าเป็นรัฐบาลผสม
- ↑ รักษาการตำแหน่ง แต่ชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการเป็น "เลขาธิการประสานงานแห่งชาติ" ของพรรค
อ้างอิง
แก้- ↑ "François Hollande annonce qu'il ne se présente pas en 2017 pour un second mandat". Marianne (ภาษาฝรั่งเศส). 2016-12-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Présidentielle : Benoît Hamon décroche à la cinquième place". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
- ↑ "Combien de personnes ont voté pour l'investiture d'Anne Hidalgo comme candidate du PS ?". Libération (ภาษาฝรั่งเศส).