การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 1995
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2538 และ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เพื่อที่จะเลือกตั้งเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 5 แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
| ||||||||||||||||
ลงทะเบียน | 39,992,912 (รอบที่ 1) 39,976,944 (รอบที่ 2) | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | รอบที่ 1 : 78.3% ( 3.0 จุด) รอบที่ 2 : 79.6% ( 4.4 จุด) | |||||||||||||||
| ||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งรอบที่หนึ่งแยกตามเขตการปกครอง | ||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งรอบที่สองแยกตามเขตการปกครอง | ||||||||||||||||
|
ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นคือ ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ ไม่ปรารถนาที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 3 เพราะเขาอายุ 78 ปีแล้ว ทั้งยังเป็นมะเร็ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสครั้งที่ผ่านมา พรรคของเขาก็ได้ประสบความพ่ายแพ้อีกด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เขาได้ทำงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีอนุรักษนิยมและคณะรัฐมนตรีของเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคอาร์พีอาร์ บัลลาดูร์เองยังเคยได้สัญญากับฌากส์ ชีรัก หัวหน้าพรรคแอร์เปแอร์ (RPR) ว่าจะไม่ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่จากการสำรวจเขาทำงานได้อย่างดีและยังมีนักการเมืองอนุรักษนิยมอีกหลายคนสนับสนุนบัลลาดูร์ ทำให้เขาตัดสินใจลงสมัครแข่งขัน ซึ่งทำให้มีการแข่งขันกันเองในขั้วอนุรักษนิยมระหว่างฌากส์ ชีรักกับเอดูอาร์ด บัลลาดูร์
ในขณะที่ฝ่ายซ้ายนั้นได้อ่อนแอลงหลังจากเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ และความผิดหวังในการบริหารของฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 อดีตนายกรัฐมนตรีมิเชล โรการ์ด ได้ออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคสังคมนิยม หลังจากความล่มเหลวของพรรคในการเลือกตั้งรัฐสภาสหภาพยุโรป หลังจากนั้น ฌาคส์ เดอลอร์ส์ ตัดสินใจที่จะไม่เป็นผู้สมัครเข้าเป็นหัวหน้าพรรคเนื่องจากเขาไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าพรรคคนใหม่ อองรี อองมานูล์ลี ซึ่งทำให้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคนั้นเป็นที่เปิดกว้าง ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครจะดำรงตำแหน่งเช่น ฌาก ลาง, ปีแอร์ โฌกซ์, โลรองต์ ฟาบิอูส์, เซโกแลน รัวยาล และ โรแบร์ต บาแดงแตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลีโอเนล โฌส์แปงได้ถูกสมาชิกพรรคเลือกให้ลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประจันหน้ากับอองรี อองมานูล์ลี ซึ่งเขาก็ได้สัญญาว่าจะรื้อฟื้นความไว้เนื่อเชื่อใจและชื่อเสียงของพรรคให้กลับคืนมาแต่โอกาสที่เขาชนะนั้นแคบลงทุกที
พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) พยายามที่จะหยุดความเสื่อมถอยของพรรคในการเลือกตั้ง โดยที่หัวหน้าพรรคคนใหม่ โรแบร์ต อู รณรงค์หาเสียงต่อต้าน "เงินของกษัตริย์" และต้องการเสนอคอมมิวนิสต์ฟื้นฟู เขาต้องเผชิญหน้ากับ อาร์เล็ตต์ ลากุยแลร์ ผู้สมัครซ้ายจัด ทร็อตสกีนิยม ซึ่งลงเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ทั้งสองผู้ลงสมัครมีผลงานทีผ่านมาดีกว่าผลงานของพรรคตนเองในปี พ.ศ. 2531 แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่สามารถเข้าไปในรอบต่อไปได้ และในการเลือกโดมินิก วัวเนต์ พรรคเขียว (Les Verts) เลือกที่จะรวมกันเป็นกลุ่มก้อนกับพวกฝ่ายซ้าย
ทางด้านฝ่ายขวาจัด ฌอง-มารี เลอ เปิง ต้องการที่จะได้ผลการเลือกตั้งที่เป็นที่ตกใจอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้ คู่ต่อสู้ฝ่ายขวาจัดคนสำคัญของเขาคือ ฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ ผู้สมัคร หนึ่งในสมาชิกสภายุโรปขวา
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 เมื่อได้ประกาศการลงสมัครรับเลือกตั้ง เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ เป็นผู้ที่มีหวังที่จะเป็นผู้ชนะมากที่สุด และตามการสำรวจของสถาบัน SOFRES เขามีข้อได้เปรียบ 14 คะแนนมากกว่าชีรัก (32% ต่อ 18% ในรอบแรก) เขาได้เอาการถูกประเมินในทางบวกของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีมาเป็นผลประโยชน์แก่ตัวเขาเองโดยการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี ชีรักได้ประณามเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ ถึงความแตกร้าวทางสังคมและวิจารณ์เรื่องที่เขาถูกครอบงำในความคิด ชีรักได้อ้างว่า "เงินไม่ได้เป็นศัตรูของการจ้างงาน" แท้จริงแล้ว การตกงานเป็นหลักสำคัญในการแข่งขัน ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ชีรักก็ได้รับคะแนนบางส่วนจากบัลลาดูร์เข้ามามากขึ้นจากการสำรวจ[1]
การหาเสียงของแต่ละคนนั้นได้ใช้สโลแกน เช่น
- ฌากส์ ชีรัก : "ฝรั่งเศสเพื่อทุกคน" (France for everyone)
- เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ : "เชื่อในฝรั่งเศส" (Believe in France)
- ลีโอเนล โฌส์แปง : "เลือกตั้งโปร่งใสมากกว่าแค่ฝรั่งเศส" (A clear vote for a more just France)
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรอบแรกนั้น ลีโอเนล โฌส์แปงได้คะแนนเสียงมาเป็นที่หนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นการเลือกตั้งที่รื้อฟื้นความนิยมของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คู่แข่งฝ่ายขวาของเขาที่จะแข่งขันกันในการเลือกตั้งรอบที่สองนั้นคือ ฌากส์ ชีรัก ไม่ใช่เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ บัลลาดูร์เองได้ยอมรับในการพ่ายแพ้ ส่วนฌอง-มารี เลอ เปิงได้คะแนนเสียงพอๆ กันกับการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
ในช่วงการโต้วาทีซึ่งถ่ายทอดทางโทรทัศน์ระหว่างสองผู้แข่งขันรอบสุดท้าย พวกเขาได้ทะเลาะกันในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โฌส์แปงต้องการที่จะลดวาระ 7 ปีลงเหลือ 5 ปี ส่วนทางชีรักต้องการ 7 ปี ซึ่งโฌส์แปงก็ได้กล่าวว่า "ทางเลือกคือ 5 ปีกับข้าพเจ้าหรือ 7 ปีกับฌากส์ ชีรัก" อย่างไรก็ตาม วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นก็ได้ลดลงเหลือ 5 ปีหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545
ฌากส์ ชีรักได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอแลง ฌูป์เปได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา
อันดับที่ | ผู้สมัครเลือกตั้ง | พรรค | รอบแรก | รอบสอง | ||
คะแนนเสียง | เปอร์เซนต์ | คะแนนเสียง | เปอร์เซนต์ | |||
1 (2) | ลีโอเนล โฌส์แปง | พรรคสังคมนิยม (PS) | 7,098,191 | 23.30% | 14,180,644 | 47.36% |
2 (1) | ฌากส์ ชีรัก | พรรครวมพลเพื่อสาธารณรัฐ (RPR) | 6,348,696 | 20.84% | 15,763,027 | 52.64% |
3 | เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ | แยกตัวออกมาจากพรรครวมพลเพื่อสาธารณรัฐ | 5,658,996 | 18.57% | ||
4 | ฌอง-มารี เลอ เปิง | พรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) | 4,571,138 | 15.00% | ||
5 | โรแบร์ต อู | พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) | 2,638,936 | 8.66% | ||
6 | อาร์เล็ตต์ ลากุยแยร์ | พรรคพลังแรงงาน (LO) | 1,615,653 | 5.30% | ||
7 | ฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ | พรรคขบวนการเพื่อฝรั่งเศส (MPF) | 1,443,235 | 4.74% | ||
8 | โดมินิก วัวเนต์ | พรรคเขียว (Les Verts) | 1,010,738 | 3.32% | ||
9 | ฌากส์ เชอมินาด | พรรคแรงงานยุโรป (POE) | 84,969 | 0.28% | ||
ผลรวม | 30,470,552 | 29,943,671 | ||||
เสียงข้างมากเด็ดขาด (15,231,317) | ||||||
บัตรดี | 30,462,633 | 97.18% | 29,943,671 | 94.03% | ||
บัตรเสีย | 883,161 | 2.82% | 1,902,148 | 5.97% | ||
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง | 31,345,794 | 78.38% | 31,845,819 | 79.66% | ||
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง | 8,647,118 | 21.62% | 8,131,125 | 20.34% | ||
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 39,992,912 | 100% | 39,976,944 | 100% |
อ้างอิง
แก้- ↑ Opinion poll shows Balladur in big trouble New Straits Times, 22 February 1995. At Google News