พรพรรณ เกิดปราชญ์
พรพรรณ เกิดปราชญ์ เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย[2]
พรพรรณ เกิดปราชญ์ | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||
ชื่อเต็ม | พรพรรณ เกิดปราชญ์ | ||
ชื่อเล่น | ชมพู่ | ||
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 จังหวัดนครพนม ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.73 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว) | ||
น้ำหนัก | 63 กก. | ||
กระโดดตบ | 290 ซม.[1] | ||
บล็อก | 285 ซม.[1] | ||
ข้อมูล | |||
ตำแหน่ง | ตัวเซต | ||
สโมสรปัจจุบัน | ออร์แลนโดวาลคิรีส์ | ||
หมายเลข | 3 | ||
ทีมชาติ | |||
|
ประวัติ
แก้พรพรรณ เกิดปราชญ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2536 เป็นชาวจังหวัดนครพนม สำเร็จการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนบ้านนกเหาะ อำเภอปลาปาก แต่ย้ายเข้ามาเรียนในโรงเรียนกีฬาที่จังหวัดอ่างทอง ในระดับมัธยมศึกษา เพราะลุงเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาวอลเลย์บอลที่โรงเรียนกีฬาแห่งนี้ จากการแข่งโรงเรียนแห่งนี้เอง ที่ทำให้เธอได้มีโอกาสเล่นกีฬาวอลเลย์บอล และได้ฝึกฝนพัฒนาฝีมือจนเชี่ยวชาญ ต่อมา หลังจากที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา เธอได้เข้ามาเป็นหนึ่งในทีมยุวชนและเยาวชนทีมชาติไทยที่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จากนั้นก็ผันตัวมาเล่นให้แก่สโมสรวอลเลย์บอล ซัยโจเด็นกิ-นครนนทบุรี เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการแข่งขันมาพัฒนาตนเอง
จนล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีก่อน เธอก็ได้รับการดึงตัวมาเล่นให้กับทีมชาติไทยชุดใหญ่ได้ตามที่ฝันไว้ เมื่อฝันกลายเป็นจริง รายการแรกของพรพรรณที่ลงแข่งขันในนามทีมชาติไทย คือศึกปริ๊นเซสคัพ 2012 ที่จังหวัดนครราชสีมา และในศึกนี้ เธอได้มีส่วนในการพาทีมไปคว้าชัย ซึ่งจากการแข่งขันแมตซ์การแข่งขันนี้เอง ที่ทำให้ในอีกหลายศึกการแข่งขัน เธอมักจะติดรายชื่อ 12 ผู้เล่นหลักแทบทุกรายการ โดยเฉพาะในศึกใหญ่อย่างวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013
ผลงานด้านลีกอาชีพ พรพรรณเข้าร่วมวอลเลย์บอลหญิงลีกเกาหลีใต้ (KOVO) ให้กับทีม IBK ในฤดูกาล 2023 จากนั้นย้ายไปเล่นลีก LOVB ของสหรัฐอเมริกา ด้วยค่าตัวที่มากกว่า 150,000 เหรียญสหรัฐ[3]
เกียรติบัตรและผลงาน
แก้- แชมป์ปรินเซสคัพ 2012
- แชมป์ไทยแลนด์ลีก 2012
- แชมป์ไทยแลนด์ลีก 2013
- การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง รอบคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์ 2012
- การแข่งขัน วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013
- การแข่งขันวอลเลย์บอล อินวิเตชั่นที่ประเทศจีน 2013
- การแข่งขันวอลเลย์บอล ชุดมหาวิทยาลัยชิงแชมป์โลก
- การแข่งขันวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013
- วอลเลย์บอลหญิงไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก 2014 - อันดับที่ 3 กับศรีสะเกษ วีซี
- วอลเลย์บอลหญิงไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก 2015 - ชนะเลิศ กับบางกอกกล๊าส
- 2014 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - รองชนะเลิศ
- 2015 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - ชนะเลิศ
- วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียนคัพ 2014 : อันดับที่ 5
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2015 : อันดับที่ 9
- วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชียน 2015 - อันดับที่ 1 กับบางกอกกล๊าส
- วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชียน 2016 - อันดับที่ 3 กับบางกอกกล๊าส
- 2018-2019 โปรลีกา ลีก - ชนะเลิศกับ กับจาการ์ตา พีจีเอ็น โปปซิโว โปววาน
- 2019ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - กับไทย-เดนมาร์ค ขอนแก่นสตาร์
- วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก2019-20 - รองชนะเลิศ กับ ขอนแก่นสตาร์
สโมสร
แก้- สโมสรช้าง (2011–2012)
- ทรีบอร์ดแบน นครนนท์ (2011–2013)
- ศรีสะเกษ วีซี (2013–2014)
- บางกอกกล๊าส วีซี (2014–2017)
- จาการ์ตา พีจีเอ็น โปปซิโว โปลวาน (2018–2019)
- ไทย-เดนมาร์ค ขอนแก่นสตาร์ (2019–2020)
- โตโยต้า ออโต้ บอดี้ ควินซีส์
- ราปิด บูคาเรสต์
- ฮวาซองไอบีเคอัลทอซ (2023–2024)
- ออร์แลนโดวาลคิรีส์ (2024–)
โฆษณา
แก้- พ.ศ. 2556 - ดังกิ้น โดนัท ดีดี ป๊อปปิ้งที ร่วมกับ ปิยะนุช แป้นน้อย อัจฉราพร คงยศ และทัดดาว นึกแจ้ง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Team Roster - Thailand - FIVB Volleyball Women's World Championship
- ↑ "Thailand, China, Kazakhstan and Vietnam progress to Women's AVC Cup semis". Asian Volleyball Confederation. 15 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
- ↑ Aindravudh (2024-04-29). "พรพรรณ ถอนตัว วอลเลย์บอลลีกเกาหลี บินเล่นลีกอเมริกา ค่าตอบแทนพุ่ง". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ ข่าวดีทัพลูกยางสาวไทย"พรพรรณ"ลงซ้อมทีมหลังพักกายภาพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๕ ข หน้า ๒๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พรพรรณ เกิดปราชญ์
- Pornpun16 ที่เฟซบุ๊ก