ปลาการ์ตูนส้มขาว

ปลาการ์ตูนส้มขาว (อังกฤษ: ocellaris clownfish, clown anemonefish, clownfish, false percula clownfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion ocellaris) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง

ปลาการ์ตูนส้มขาว
ตัวอย่างชนิดจากสวนสัตว์วรอตสวัฟ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
วงศ์: วงศ์ปลาสลิดหิน
Pomacentridae
สกุล: ปลาการ์ตูน
Amphiprion
Cuvier, 1830[2]
สปีชีส์: Amphiprion ocellaris
ชื่อทวินาม
Amphiprion ocellaris
Cuvier, 1830[2]
ชื่อพ้อง

Amphiprion bicolor Castelnau, 1873
Amphiprion melanurus Cuvier, 1830

ที่ลำตัวตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบอยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว

มีการกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์, ทะเลฟิลิปปิน, อินโดนีเซีย หายากที่เกาะโอะกินะวะและเกาะไต้หวัน ส่วนในน่านน้ำไทยจะไม่พบในด้านอ่าวไทย แต่จะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน โดยอาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่

ปลาการ์ตูนส้มขาวนับเป็นปลาการ์ตูนชนิดที่รู้จักกันดีและคุ้นเคยเป็นอย่างดี และถือเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของพิกซาร์ ในปี ค.ศ. 2003 จนได้รับการเรียกขานเล่น ๆ ว่า "ปลานีโม"

เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง โดยสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จ คือ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในประเทศไทย และยังสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้อีกจากภาคเอกชนต่าง ๆ จนในปัจจุบัน ปลาการ์ตูนส้มขาวที่มีจำหน่ายในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทย เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์ทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีความต้องการปลาจากธรรมชาติอยู่อีก โดยถูกจับมาจากทะเลฟิลิปปิน และอินโดนีเซีย เนื่องจากมีสีสันที่สวยงามกว่านั่นเอง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีชนิดย่อยของปลาการ์ตูนส้มขาวอีกชนิดหนึ่ง คือ "ปลาการ์ตูนดำ" ซึ่งจะพบได้ในถิ่นเฉพาะคือทางเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น และพบได้น้อยมาก ซึ่งมีขนาดและลวดลายเหมือนเช่นปลาการ์ตูนส้มขาวชนิดธรรมดา แต่ส่วนที่เป็นสีส้มนั้นจะเป็นสีดำ ซึ่งในช่วงแรกนั้นมีราคาซื้อขายที่สูงมากถึงคู่ละ 5,000-6,000 บาท โดยเป็นปลาที่นำจากประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาไม่นานก็ได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้มากขึ้น จนในปัจจุบันราคาขายปลาการ์ตูนดำอยู่ที่คู่ละ 600-700 บาท เท่านั้น[3] [4]

อ้างอิง

แก้
  1. Allen, G.R.; Arceo, H.; Mutia, M.T.M.; Muyot, F.B. & Nañola, C.L. & Santos (2022). "Amphiprion ocellaris". IUCN Red List of Threatened Species. 2022: e.T188321A1857718. doi:10.2305/IUCN.UK.2022-2.RLTS.T188321A1857718.en. สืบค้นเมื่อ 9 December 2022.
  2. Bailly, N. (2010). Bailly N (บ.ก.). "Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830". FishBase. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2011-12-19.
  3. นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ, ปลาทะเลสวยงาม ที่เพาะพันธุ์ได้ ในประเทศไทย คอลัมน์ Blue Planet หน้า 125 และ 130 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 21: มีนาคม 2012
  4. "ปลาการ์ตูนส้มขาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-04. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้