ประเทือง กีรติบุตร

ศาสตราจารย์พิเศษ นายกองใหญ่ ประเทือง กีรติบุตร (20 เมษายน พ.ศ. 2464 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2541) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ครม.41) อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตประธานกรรมการอัยการ

ประเทือง กีรติบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าพลเอก เล็ก แนวมาลี
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ถัดไปพลเอก สิทธิ จิรโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2464
ตําบลตลาดน้อย อําเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต4 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (77 ปี)

ประวัติ

แก้

ประเทือง กีรติบุตร เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2464 ที่ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตร พระพิพิธพัสดุการ (เส็ง กีรติบุตร) กับเหลี่ยม พิพิธพัสดุการเป็นบุตรคนที่ 5 ในจํานวนพี่น้อง 8 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 3 คน ชีวิตครอบครัว สมรสกับ คุณหญิง วนิดา สุริยกุล มีบุตร-ธิดา 3 คน[1] เคยรับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2520 เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2[2] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522[3] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] แทนพลเอก เล็ก แนวมาลี ซึ่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่ยังมิทันได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อสภา เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยเหตุผลในการลาออกว่า "ได้เกิดการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภาในปัญหาที่สำคัญหลายเรื่องและหลายครั้งจนยากที่จะบริหารงานของชาติ ให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้" ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงในทันที

ต่อมาในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42 นำโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] และได้ลาออกในเวลาต่อมา[6]

ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ จากผู้แทนซึ่งคัดเลือกโดยวุฒิสภา[7] และได้เป็นประธานกรรมการอัยการ ในปี พ.ศ. 2540[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "อนุสรณ์ นายประเทือง กีรติบุตร ม.ป.ช.,ม.ว.ม. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย". www.kunmaebook.com.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายประเทือง กีรติบุตร พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทน)
  7. ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ (ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร, ศาสตราจารย์ประเทือง กีรติบุตร, พลโท โกวิท มัธยมจันทร์)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการอัยการ (นายประเทือง กีรติบุตร)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๙๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
  12. รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts