ประเทศเลบานอน

สาธารณรัฐในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

33°50′N 35°50′E / 33.833°N 35.833°E / 33.833; 35.833

สาธารณรัฐเลบานอน

ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ (อาหรับ)
République libanaise (ฝรั่งเศส)
ที่ตั้งของประเทศเลบานอน (สีเขียว)
ที่ตั้งของประเทศเลบานอน (สีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เบรุต
33°54′N 35°32′E / 33.900°N 35.533°E / 33.900; 35.533
ภาษาราชการอาหรับ[nb 1]
ฝรั่งเศส
ภาษาท้องถิ่นอาหรับเลบานอน
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2021[1])
ศาสนา
(ประมาณการ[nb 4])
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีการกระจายอำนาจทางการเมืองตามสังกัดศาสนา[8]
ว่าง
นะญีบ มีกอตี
นะบีฮ์ บัรรี
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
1 กันยายน ค.ศ. 1920
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1926
• ประกาศเอกราช
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943
• สิ้นสุดการเป็นอาณัติฝรั่งเศส
24 ตุลาคม ค.ศ. 1945
17 เมษายน ค.ศ. 1946
24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000
30 เมษายน ค.ศ. 2005
พื้นที่
• รวม
10,452 ตารางกิโลเมตร (4,036 ตารางไมล์) (อันดับที่ 161)
1.8
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
5,296,814[9] (อันดับที่ 122)
560 ต่อตารางกิโลเมตร (1,450.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 21)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 78.910 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
ลดลง 11,561 ดอลลาร์สหรัฐ[10]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 19.008 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]
ลดลง 2,785 ดอลลาร์สหรัฐ[10]
จีนี (ค.ศ. 2011)positive decrease 31.8[11]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.706[12]
สูง · อันดับที่ 112
สกุลเงินปอนด์เลบานอน (LBP)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
ขับรถด้านขวามือ[13]
รหัสโทรศัพท์+961[14]
โดเมนบนสุด.lb

เลบานอน (อังกฤษ: Lebanon; อาหรับ: لُبْنَان; ฝรั่งเศส: Liban) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (อังกฤษ: Republic of Lebanon, Lebanese Republic; อาหรับ: ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ; ฝรั่งเศส: République libanaise) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟามส์" (Shebaa Farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ

ประวัติศาสตร์

แก้
 

เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า

การเมืองการปกครอง

แก้

เลบานอนมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

บริหาร

แก้

ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a)

ตุลาการ

แก้

ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 

เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน)

เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) :

เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) :

เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) :

เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) :

เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) :

เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) :

ประชากร

แก้

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ

ศาสนา

แก้

ศาสนาอิสลามร้อยละ 10 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 90[15]

หมายเหตุ

แก้
  1. มาตราที่ 11 ของรัฐธรรมนูญเลบานอนระบุว่า: "ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการ กฎหมายจะกำหนดกรณีที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้" ดู: ภาษาฝรั่งเศสในประเทศเลบานอน
  2. หมายเหตุ: ชาวเลบานอนหลายคนไม่ระบุตนเองเป็น "ชาวอาหรับ" แต่ระบุว่าเป็นลูกหลานของชาวคานาอันโบราณและพอใจที่จะเรียกตนเองว่าเป็น "ชาวฟินีเชีย" มากกว่า
  3. หมายเหตุ: ชาวดรูซส่วนใหญ่ไม่ระบุตนเองเป็นมุสลิม แต่รัฐบาลเลบานอนจัดให้ชาวดรูซเป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมทั้ง 5 ในเลบานอน (ซุนนี, ชีอะฮ์, ดรูซ, อะละวี และอิสมาอีลียะฮ์)
  4. เนื่องจากเรื่องศาสนาและลัทธิเป็นประเด็นอ่อนไหว ทำให้ไม่มีสำมะโนระดับชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ปัจจุบันมีลัทธิศาสนาที่ได้รับการยอมรับในระดับรัฐ 18 ลัทธิ ได้แก่ มุสลิม 4 ลัทธิ, คริสต์ 12 ลัทธิ, ดรูซ 1 ลัทธิ และยิว 1 ลัทธิ

อ้างอิง

แก้
  1. "Lebanon - the World Factbook". 23 September 2021.
  2. "Lebanon 2017 International Religious Freedom Report" (PDF). United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  3. "International Religious Freedom Report 2008: Lebanon". United States Department of State. 19 September 2008. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
  4. "International Religious Freedom Report 2010: Lebanon". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  5. "International Religious Freedom Report for 2012: Lebanon". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  6. Meguerditchian, Van (15 February 2013). "Minority sects demand greater representation in Parliament". The Daily Star Lebanon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  7. Haddad, Antoine (September 2006). "Evangelicals in Lebanon". Evangelical Times. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  8. "The Lebanese Constitution" (PDF). Presidency of Lebanon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  9. "Lebanon". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Lebanon". World Economic Outlook Database, October 2021. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
  11. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  12. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  13. "Driving in Lebanon". adcidl.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
  14. Lebanon. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
  15. CIA Worldfactbook 2001

ผลงานอ้างอิง

แก้

ข้อมูลทั่วไป

แก้
  • Arkadiusz, Plonka. L’idée de langue libanaise d’après Sa‘īd ‘Aql, Paris, Geuthner, 2004 (French) ISBN 2-7053-3739-3
  • Firzli, Nicola Y. Al-Baath wa-Lubnân [Arabic only] ("The Baath and Lebanon"). Beirut: Dar-al-Tali'a Books, 1973
  • Fisk, Robert. Pity the Nation: The Abduction of Lebanon. New York: Nation Books, 2002.
  • Glass, Charles, "Tribes with Flags: A Dangerous Passage Through the Chaos of the Middle East", Atlantic Monthly Press (New York) and Picador (London), 1990 ISBN 0-436-18130-4
  • Gorton, TJ and Feghali Gorton, AG. Lebanon: through Writers' Eyes. London: Eland Books, 2009.
  • Hitti Philip K. History of Syria Including Lebanon and Palestine, Vol. 2 (2002) (ISBN 1-931956-61-8)
  • Norton, Augustus R. Amal and the Shi'a: Struggle for the Soul of Lebanon. Austin and London: University of Texas Press, 1987.
  • Sobelman, Daniel. New Rules of the Game: Israel and Hizbollah After the Withdrawal From Lebanon, Jaffee Center for Strategic Studies, Tel-Aviv University, 2004.
  • Riley-Smith, Jonathan. The Oxford Illustrated History of the Crusades. New York: Oxford University Press, 2001.
  • Salibi, Kamal. A House of Many Mansions: The History of Lebanon Reconsidered. Berkeley: University of California Press, 1990.
  • Schlicht, Alfred. The role of Foreign Powers in the History of Syria and Lebanon 1799–1861 in: Journal of Asian History 14 (1982)
  • Georges Corm, Le Liban contemporain. Histoire et société (La découverte, 2003 et 2005)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้