เขตปทุมวัน

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ปทุมวัน)

ปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานคร และที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง

เขตปทุมวัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Pathum Wan
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตปทุมวัน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตปทุมวัน
พิกัด: 13°44′41.79″N 100°31′19.92″E / 13.7449417°N 100.5222000°E / 13.7449417; 100.5222000
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.369 ตร.กม. (3.231 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด40,077[1] คน
 • ความหนาแน่น4,788.74 คน/ตร.กม. (12,402.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10330
รหัสภูมิศาสตร์1007
ที่อยู่
สำนักงาน
อาคารไทยยานยนตร์ เลขที่ 12/1-4 ซอยรองเมือง 5 ถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/pathumwan
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตปทุมวันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]

ที่มาของชื่อเขต

แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า "วัดป่าบัว") ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน

ประวัติศาสตร์

แก้

อำเภอปทุมวัน อนึงในอดีตอำเภอประทุมวันนั้นได้มีประกาศกระทรวงนครบาล ระบุว่า เนื่องจากอำเภอสระประทุมวัน มีอาณาเขตไม่กว้างขวาง ทั้งการงานมีน้อย จึงยกเลิกอำเภอสระประทุมวันเสีย โดยรวมพื้นที่เข้ากับอำเภอสามเพ็งและอำเภอดุสิต[3]ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน 7 อำเภอและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ โดยใน 25 อำเภอมีอำเภอปทุมวัน[4]วันโดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ใน พ.ศ. 2506[5]

ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
รองเมือง Rong Mueang
1.300
15,198
11,690.77
 
2.
วังใหม่ Wang Mai
1.403
5,093
3,630.08
3.
ปทุมวัน Pathum Wan
2.181
2,746
1,259.06
4.
ลุมพินี Lumphini
3.485
17,040
4,889.53
ทั้งหมด
8.369
40,077
4,788.74

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช

การคมนาคมระบบรางนั้น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร โดยรถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ

ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้านั้น เขตปทุมวันมีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขตปทุมวัน ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริของสายสีลม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ของสายสุขุมวิท

การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ

สถานที่

แก้
 
แผนที่เขตปทุมวัน
 
สยามสแควร์
 
ย่านราชดำริในเวลากลางคืน
 
ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใจกลางเขตปทุมวัน
 
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม เป็นสถานีเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทกับสายสีลม
 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

สถานศึกษา

แก้

ระดับอุดมศึกษา

แก้

ระดับมัธยมศึกษา

แก้

สถานที่สำคัญทางราชการ

แก้

สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

แก้

ศาลเทพเจ้าทางศาสนาฮินดู

แก้

การเดินทางและสถานที่เชื่อมต่อ

แก้

สนามกีฬาและสวนสาธารณะ

แก้

ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า

แก้

สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม

แก้

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 เซ็นทรัล ชิดลม เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในเวลากลางคืน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 11 ราย[11][12]

23 กมุภาพันธ์ พ.ศ. 2540 อาคารเพรสซิเด้นท์ ทาวเวอร์ เกิดเพลิงไหม้ขึ้น มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 101 ราย[13]

7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณทางเข้าสวนลุมพินี ประตู 4 ถนนพระรามที่ 4 ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นด่านตรวจของตำรวจและทหาร จำนวน 3 ครั้ง เบื้องต้นคาดว่าเป็นชนิดเอ็ม 79 เบื้องต้นมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เบื้องจากการตรวจสอบวิถีกระสุนในเบื้องต้น คนร้ายน่าจะยิงวิถีโค้ง ข้ามสะพานลอย น่าจะเป็นการยิงมาจากทางด้านแยกศาลาแดง[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเวลา 05.00 น. พบเจ้าหน้าที่ 1 นายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว[14]

17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สามารถจับผู้วางระเบิดได้คือ นายยูซูฟุ ไมรารี และนายอาเด็ม คาราดัก โดยทั้งสองคนได้ซัดทอดว่ามีคนไทยอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุในครั้งนี้ คือ นายอ๊อด พยุงวงษ์ และนางสาววรรณา สวนสัน ซึ่งในขณะนี้เชื่อว่าออกนอกประเทศไปแล้ว

10 เมษายน พ.ศ. 2562 เกิดเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[15] บาดเจ็บ 15 ราย[16]

3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เกิดเหตุกราดยิงที่สยามพารากอน โดยผู้ก่อเหตุเป็นเด็กอายุ 14 ปี มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 4 ราย

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. "ข้อมูลทั่วไปของเขตปทุมวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  3. "เขตประทุมวัน : โดย บัณฑิต จุลาสัย และ รัชดา โชติพานิช". มติชนออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
  4. "ประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน ๗ อำเภอ และตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ ๒๕ อำเภอ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  5. "ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  6. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  7. "สถานศึกษาในเขตปทุมวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  8. "สถานพยาบาลในเขตปทุมวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  9. "ศาสนสถานในเขตปทุมวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  10. "สถาานที่ท่องเที่ยวในเขตปทุมวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  11. "วิวัฒนาการของเซ็นทรัลชิดลม จากอดีตสู่ปัจจุบัน | Dek-D.com". Dek-D.com > Board (ภาษาอังกฤษ).
  12. ห้างเซ็นทรัล : 3 ครั้ง ใน 24 ปี ย้อนรอยเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ในห้างดัง
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
  14. "ป่วน! เย้ยปรองดองยิงเอ็ม79ถล่มสวนลุมตร.กราดยิงสีลมตร.ตาย2 จนท.ตำรวจ-ทหารเจ็บระนาว ปชช.โดนลูกหลงเจ็บ4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19.
  15. ไฟไหม้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์เสีบชีวิต 3 ราย
  16. ห้างเซ็นทรัล : 3 ครั้ง ใน 24 ปี ย้อนรอยเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ในห้างดัง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′13″N 100°31′26″E / 13.737°N 100.524°E / 13.737; 100.524