สยามดิสคัฟเวอรี
ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าในประเทศไทย บริการงานโดยสยามพิวรรธน์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม โดยสยามดิสคัฟเวอรีตั้งอยู่ในย่านสยาม ติดกับสี่แยกปทุมวัน และมีทางเดินเชื่อมเข้าสู่สยามเซ็นเตอร์ทางฝั่งตะวันออก รวมถึงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และสยามสแควร์ ทางฝั่งตะวันตกผ่านสกายวอล์กวันสยาม
ที่ตั้ง | 194 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
---|---|
เปิดให้บริการ | 8 เมษายน พ.ศ. 2540 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งใหญ่) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 40,000 ตารางเมตร |
จำนวนชั้น | 8 ชั้น |
ขนส่งมวลชน | สยาม สยาม, สนามกีฬาแห่งชาติ |
เว็บไซต์ | www |
สยามดิสคัฟเวอรีสร้างขึ้นบนที่ดินลานเบียร์คลอสเตอร์เดิม ซึ่งเป็นพบปะของวัยรุ่นในช่วงราวปี พ.ศ. 2522-2540[1][2][3][4] ก่อนภายหลังจะถูกวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ธนาคารศรีนคร รวมถึงเบียร์คลอสเตอร์ไทยที่นำเข้าไทย ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลเตชะไพบูลย์ ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และสิทธิดังกล่าวก็ได้ถูกบุญรอด บริวเวอรี่คู่แข่งเข้าควบคุมธุรกิจแทนที่[5][6] สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ได้รับการออกแบบสำนักงานออกแบบ โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด[7] เป็นศูนย์การค้าภายใต้แนวคิด "Lifestyle shopping" ในแต่ละชั้นจะนำเสนอสินค้าประเภทเดียวหรือแนวคิดเดียว (One Floor One Concept) ซึ่งนำต้นแบบมาจากเอ็มโพเรียม และต่อมาสยามพารากอนได้นำรูปแบบนี้มาใช้ในการบริหารศูนย์การค้าด้วย
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2558 มีลูกค้าวันละ 80,000 คน[8] และในปีเดียวกันนี้ สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[9][10] สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท ในการปรับปรุงศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรีให้มีความแตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น ๆ ในย่านเดียวกัน โดยมีแนวความคิดใหม่คือ "สนามทดลองความคิด" (Experiment Playground) ได้รับการออกแบบปรับปรุงโดยโอกิ ซาโตะ (Oki Sato) จากสำนักงานออกแบบเนนโดะ (Nendo) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 จนแล้วเสร็จและได้เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[11][12]
การจัดสรรพื้นที่
แก้สยามดิสคัฟเวอรี เป็นศูนย์การค้าอาคารเดี่ยว ความสูง 8 ชั้น พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้[13]
- ลอฟท์
- เซอร์คิวลาร์ ออฟ ลักซ์
- โอ.ดี.เอส (ออฟเจ็ค ออฟ ดีไซร์ สโตร์) โดยความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
- ร้านภูฟ้า
- อีโคโทเปีย
- ทรู 5จี โปร ฮับ
- เลเจนด์ ฮีโรส์ สปอตส์
- สถานออกกำลังกายเวอร์จิ้น แอคทีฟ
- พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ
โดยมีทางเชื่อมไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ, สยามสแควร์, เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอาคารสยามปทุมวันเฮาส์ ที่ชั้นเอ็ม และชั้น 1 นอกจากนี้ยังมีทางเชื่อมไปสยามเซ็นเตอร์ที่ชั้น 2 อีกด้วย
พื้นที่จัดสรรในอดีต
แก้- โรงภาพยนตร์แกรนด์ อีจีวี ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542[14] และปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553[15] และย้ายไปรวมกับพารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในศูนย์การค้าสยามพารากอน ส่วนพื้นที่เดิมปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข้อมูลประกอบเรื่อง บุญรอดบริวเวอรี่ สิงห์ผยองบนฟองเบียร์นิตยสารผู้จัดการ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ "บุญรอดบริวเวอรี่ สิงห์ผยองบนฟองเบียร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ ""คลอสเตอร์:ในเยอรมนีไม่มีใครรู้จัก เมืองไทยดังเป็นบ้า" สิงหาคม 2535". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ "คลอสเตอร์ อดีตเบียร์ของผู้นำฝ่ายค้านในวันนี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ "ทำความรู้จัก 'ลานเบียร์ยุคแรก' ของไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.
- ↑ รู้มั้ย คลอสเตอร์ – อะมิโน โอเค หายไปไหน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "SIAM DISCOVERY". rgbarchitects.com/. สืบค้นเมื่อ 15 April 2023.
- ↑ "เตรียมเงินให้ตุงกระเป๋า! 10 ข้อ รู้ก่อนช็อป ส่งท้ายสยามดิสฯ ปิดปรับปรุง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-04. สืบค้นเมื่อ 2016-05-25.
- ↑ "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ยกเครื่องสยามดิสคัฟเวอรี่ 4 พันล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ "'สยามพิวรรธน์' เปิดคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2016-02-23.
- ↑ "สยามดิสคัฟเวอรี่ โฉมใหม่ 4,000 ล้านบาท สนามทดลองแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุด เปิด 28 พ.ค.นี้". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20. สืบค้นเมื่อ 2016-05-17.
- ↑ "อีจีวีเจาะสาขากลางเมือง ช๊อคตลาดโรงภาพยนตร์ สร้างแกรนด์อีจีวี". ryt9.com.
- ↑ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2553 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- ↑ "สยามดิสฯปรับใหญ่พันลบ. ผุดมาดามทุสโซ-ไอซ์สเก็ต". mgronline.com. 2010-01-18.
- คัมภีร์ความสำเร็จสยามเซ็นเตอร์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
- อุตฯค้าปลีกไทยจะฟื้นปลายปี 51 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2248 30 ส.ค. - 01 ก.ย. 2550