บากูมัตสึ

(เปลี่ยนทางจาก บากุมัตสึ)

บากูมัตสึ (ญี่ปุ่น: 幕末ทับศัพท์: bakumatsu, "ปลายยุคบากูฟุ") หมายถึง ช่วงปีสุดท้ายของสมัยเอโดะ เมื่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะจบสิ้นลง ระหว่างปี ค.ศ. 1853 และ ค.ศ. 1867 ญี่ปุ่นได้ยุตินโยบายต่างประเทศในการแยกอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ซาโกกุ และเปลี่ยนจากระบบศักดินาของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะมาเป็นรัฐบาลเมจิแห่งจักรวรรดิสมัยใหม่ การแบ่งแยกทางอุดมการณ์และการเมืองที่สำคัญในช่วงเวลาสมัยนั้น ระหว่างกลุ่มชาตินิยมที่ให้การสนับสนุนจักรพรรดิที่เรียกกันว่า "อิชินชิชิ" และกองกำลังโชกุน ซึ่งรวมถึงกลุ่มนักดาบชั้นยอดอย่างชินเซ็งงูมิ

แม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะเป็นขุมกำลังอำนาจที่มองเห็นได้อย่างชัดมากที่สุด หลายฝ่ายได้พยายามใช้ความโกลาหลของบากูมัตสึเพื่อยึดอำนาจมาไว้กับตนเอง นอกจากนี้ยังมีแรงผลักดันหลักอีกสองประการสำหรับความขัดแย้ง: ประการแรก ความขุ่นเคืองใจที่เพิ่มมากขึ้นในส่วนของโทซามะไดเมียว (หรือขุนนางนอก) และประการที่สอง ความรู้สึกต่อต้านชาติตะวันตกที่เพิ่มขึ้นหลังจากการมาถึงของแมทธิว ซี. เพร์รี ข้อแรกซึ่งเกี่ยวข้องกับขุนนางเหล่านั้นซึ่งได้เคยดำรงตำแหน่งใหญ่โตมาแต่ก่อนได้เข้าต่อสู้รบกับกองกำลังของโทกูงาวะที่ยุทธการที่เซกิงาฮาระในปี ค.ศ. 1600 ภายหลังจากนั้นพวกเขาก็ถูกกีดกันอย่างถาวรจากตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งหมดภายในรัฐบาลโชกุน ข้อสองเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงคำขวัญซนโนโจอิ หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน" จุดเปลี่ยนของบากูมัตสึคือในช่วงสงครามโบชิงและยุทธการที่โทบะ-ฟูชิมิ เมื่อกองกำลังที่สนับสนุนโชกุนได้พ่ายแพ้

ความไม่ลงรอยเรื่องการต่างประเทศ

แก้

พลเรือจัตวาเพอร์รี (1853–54)

แก้

ปัญหาทางการเมืองและการก้าวไปสู่ความทันสมัย

แก้

แผ่นดินไหว

แก้

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (1858)

แก้

วิกฤตการณ์และความขัดแย้ง

แก้

วิกฤตทางการเมือง

แก้

การโจมตีชาวต่างชาติและกลุ่มผู้สนับสนุน

แก้
 
การโจมตีบุคคลสัญชาติอังกฤษในเอโดะ ค.ศ. 1861

วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน

แก้
มูลค่าการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
(1860–1865, สกุลเงินดอลล่าร์เม็กซิโก)[1]
1860 1865
การส่งออก 4.7 ล้าน 17 ล้าน
Iการนำเข้า 1.66 ล้าน 15 ล้าน

โองการ "ขับไล่คนเถื่อน" (ค.ศ. 1863)

แก้
 
ภาพวาดแสดงความคิด โจอิ (攘夷, "ขับคนป่าเถื่อน") ในปี ค.ศ. 1861

การแทรกแซงทางทหารต่อกลุ่มซนโนโจอิ (ค.ศ. 1863–1865)

แก้

การแทรกแทรกของสหรัฐอเมริกา (ก.ค. 1863)

แก้

การแทรกแซงของฝรั่งเศส (ส.ค. 1863)

แก้

การโจมตีเมืองคะโงะชิมะ (ส.ค. 1863)

แก้
 
ภาพมุมสูงของการยิงถล่มเมืองคะโงะชิมะโดยราชนาวีอังกฤษ, 15 สิงหาคม ค.ศ. 1863 ภาพจากหนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré

จากความไม่พอใจชาวตะวันตกที่ลุกลามไปทั้งประเทศ ทำให้มีการตรา "โองการขับไล่คนเถื่อน" ขึ้น และญี่ปุ่นเริ่มการขับไล่โดยการเข้าโจมตีกองเรือสินค้าของชาติตะวันตกที่ผ่านช่องแคบชิโมะโนะเซะกิ ทำให้บรรดาชาติตะวันตกนำโดยราชนาวีอังกฤษทำการตอบโต้ญี่ปุ่น

การยับยั้งกบฏแคว้นมิโตะ (พ.ย. 1864)

แก้
 
กองทัพรัฐบาลโชกุนเคลื่อนพลไปปราบกบฏแคว้นมิโตะในปี ค.ศ. 1864

กบฏแคว้นโชชู

แก้

การโจมตีเมืองท่าชิโมะโนะเซะกิ (ก.ย. 1864)

แก้
 
การยิงถล่มชิโมะโนะเซะกิ, ค.ศ. 1863–1864

สนธยาแห่งรัฐบาลโชกุน

แก้

การปราบโชชูครั้งที่ 2 (มิ.ย. 1866)

แก้

การปรับปรุงและก้าวไปสู่ความทันสมัย

แก้

สงครามโบะชิง

แก้

จากการที่กลุ่มขุนนางและซะมุไรในราชสำนักซึ่งเดิมไม่พอใจนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ สามารถขึ้นมามีอิทธิพลจนสามารถควบคุมราชสำนักไว้ได้อย่างมั่นคง ภายใต้รัชสมัยใหม่ของจักรพรรดิเมจิ ทำให้ โทกูงาวะ โยะชิโนะบุ ผู้ดำรงตำแหน่งโชกุนในเวลานั้น ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ของตน จึงได้สละตำแหน่งและถวายพระราชอำนาจการปกครองคืนแก่องค์จักรพรรดิ โดยหวังไว้ว่าการกระทำดังกล่าวของตนจะช่วยรักษาตระกูลโทกูงาวะ และเปิดทางให้คนในตระกูลเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลชุดใหม่

อย่างไรก็ตาม กลุ่มขุนนางก็ไม่เปิดทางให้โทกุงะวะขึ้นมามีอำนาจอีก ทำให้การเมืองในยุคนั้นถูกแบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายตระกูลโทกูงาวะ และฝ่ายราชสำนัก และในไม่ช้าก็มีพระบรมราชโองการให้แคว้นซะสึมะและแคว้นโชชูล้มล้างตระกูลโทกูงาวะ ได้ทำให้โยะชิโนะบุต้องเปิดฉากการรบเพื่อยึดราชสำนักของจักรพรรดิที่นครหลวงเคียวโตะ แต่ด้วยกองทัพที่ทันสมัยของราชสำนักทำให้ฝ่ายโทกูงาวะต้องล่าถอยขึ้นไปทางเหนือที่เกาะฮกไกโด ณ ที่นั่นฝ่ายโทกูงาวะได้สถาปนาสาธารณรัฐเอะโสะ ในที่สุด กองทัพของราชสำนักก็สามารถพิชิตฮกไกโดได้ และทำให้อำนาจการปกครองในญี่ปุ่นรวมศูนย์อยู่ที่ราชสำนักอย่างแท้จริง

ดูเพิ่ม

แก้

บุคคลสำคัญ

แก้

บุคคลสำคัญในระดับรองของยุค:

Matsudaira Yoshinaga, Date Munenari, Yamanouchi Toyoshige and Shimazu Nariaki are collectively referred to as Bakumatsu no Shikenkō ญี่ปุ่น: 幕末の四賢侯.

ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ:

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ที่มา: The Emergence of Meiji Japan, Marius B. Jansen, p.175.

อ้างอิง

แก้
  • Dower, John W. "Yokohama Boomtown: Foreigners in Treaty-Port Japan (1859–1872)".
  • Hillsborough, Romulus. Shinsengumi: The Shōgun's Last Samurai Corps. North Clarendon, Vermont: Tuttle Publishing, 2005. ISBN 0-8048-3627-2.
  • Ravina, Mark. Last Samurai: The Life and Battles of Saigo Takamori. Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons, 2004. ISBN 0-471-08970-2.
  • Mark Metzler (2006). Lever of empire: the international gold standard and the crisis of liberalism in prewar Japan. University of California Press. ISBN 0-520-24420-6.
  • Satow, Ernest. 2006 A Diplomat in Japan Stone Bridge Classics, ISBN 978-1-933330-16-7
  • Cullen, Louis M. A history of Japan 1582–1941: internal and external worlds (2003 ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-52918-2. – Total pages: 357
  • Jansen Marius B. The Emergence of Meiji Japan (when ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-48405-7. – Total pages: 351
  • ______________. The making of modern Japan (2002 ed.). Harvard University Press. ISBN 0-674-00991-6.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) – Total pages: 871
  • Denney, John. Respect and Consideration: Britain in Japan 1853 - 1868 and beyond. Radiance Press (2011). ISBN 978-0-9568798-0-6

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้