บรอนซีโน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แอกโนโล ดี โคสิโม หรือ บรอนซิโน (ภาษาอังกฤษ: Agnolo di Cosimo หรือที่รู้จักกันในนาม Bronzino) (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1503 - 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1572) เป็นจิตรกรสมัยแมนเนอริสม์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บรอนซิโนมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน และจิตรกรรมฝาผนัง
ที่มาของชื่อ “บรอนซิโน” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่อาจจะเป็นเพราะบรอนซิโนมีผิวคล้ำแบบบร็อนซ์ สันนิษฐานกันว่าสาเหตุของสีผิวที่คล้ำมาจากโรค Addison's disease ซึ่งเป็นผลที่ทำให้สีผิวหนังคล้ำกว่าปกติ
ภาพเหมือน
แก้บรอนซิโนได้รับการอุปถัมภ์โดยตระกูลเมดิชิเมื่อ ค.ศ. 1539 และเป็นศิลปินคนหนึ่งที่ได้รับเลือกให้จัดการตกแต่งสำหรับงานแต่งงานของโคสิโม เดอ เมดิชิ กับเอเลโอโนรา ดิ โทเลโดผู้เป็นลูกสาวของไวซรอยแห่งเนเปิลส์ ไม่นานหลังจากนั้นบรอนซิโนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรประจำสำนักของดุ๊ค ภาพเหมือนของบรอนซิโนแสดงให้เห็นความสง่า ความมีไสตล์ และความมีความมั่นใจในตนเองของผู้เป็นแบบ ลักษณะการวาดภาพเหมือนแบบนี้ มามีอิทธิพลต่อการวาดภาพเหมือนของราชสำนักต่าง ๆ ในยุโรป นอกจากนั้นบรอนซิโนยังวาดภาพเหมือนแบบจินตนาการนิยม (idealized portrait) ของกวี ดันเต และ เพทราค
บรอนซิโนมีบทบาทสำคัญในสถาบันการออกแบบของฟลอเรนซ์ (Florentine Accademia del Disegno) รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1563 ลูกศิษย์คนโปรดของบรอนซิโนคืออเลสซานโดร อัลลอริ (Alessandro Allori) ผู้เป็นพ่อของจิตรกร คริสโตฟาโน อัลลอริ (Cristofano Allori) บรอนซิโนอาศัยอยู่กับครอบครัวของอัลลอริจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1572[1]
ภาพเหมือนชุดที่สำคัญที่สุดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นภาพของโคสิโม เดอ เมดิชิและเลโอโนราและข้าราชสำนักเช่นบาร์โทโลมิโอ แพนชิอาทิชิ (Bartolomeo Panciatichi) และภรรยา ลูเครเซีย (Lucrezia) ภาพอันเดรีย ดอเรีย (Andrea Doria) นายทหารรับจ้างและนายพลเรือจากเจนัวแต่งตัวเป็นเทพเทพเนพจูนเป็นภาพเขียนที่ผิดจากภาพเหมือนอื่น ๆ ที่บรอนซิโนเขียนแต่ก็เป็นที่นิยมกัน
นอกจากจะเขียนภาพแล้วบรอนซิโนยังเป็นกวี บรอนซิโนเขียนภาพหลายภาพของผู้มีความสำคัญทางวรรณกรรมเช่นลอรา บัตติเฟอริ (Laura Battiferri) ภรรยาของบาร์โทโลมิโอ อัมมานาติ (Bartolommeo Ammanati) ที่พาลัซโซเวชืโอที่ฟลอเรนซ์
ภาพทางศาสนา
แก้ระหว่างปี ค.ศ. 1540-1541 บรอนซิโนเริ่มวาดจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งชาเปลเลโอโนรา ดิ โทเลโดที่วังเวชิโอ เป็นการตกแต่งอย่างหรูหราสง่างามแบบคลาสสิกแต่ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะของบรอนซิโนเอง ภาพเขียนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนสำหรับราชสำนักฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีสไตล์และไม่มีความเป็นส่วนตัวไม่ยั่วอารมณ์ ภาพ “ทางทะเลแดง” (Passage of the Red Sea) เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงลักษณะของงานของบรอนซิโน
ระหว่างที่ไปอยู่ที่โรมระหว่างปี ค.ศ. 1546 ถึง ปี ค.ศ. 1548 บรอนซิโนก็วาดภาพหลายภาพเช่น “การคืนชีพของพระแม่แมรี” (Resurrection of the Virgin Mary) (ค.ศ. 1552) ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความขัดแย้งทางศีลธรรมในเวลานั้น ซึ่งเป็นยุคของการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก
อีกภาพหนึ่ง “การพลีชีพของนักบุญลอเรนซ์” (The Martyrdom of St. Lawrence) ซึ่งการวางท่าของตัวแบบจะเห็นได้ว่ามาจากราฟาเอล และไมเคิล แอนเจโลผู้ซึ่งบรอนซิโนบูชา เมื่อบรอนซิโนพยายามใส่อารมณ์ในรูปแต่ก็ไม่สำเร็จเท่าใดนักเพราะความเป็นแมนเนอริสม์ของบรอนซิโนไม่สามารถทำให้อารมณ์ที่ออกมาน่าเชื่อ
ความเชี่ยวชาญในการวาดภาพเปลือยของบรอนซิโนเห็นอย่างชัดเจนในภาพ “วีนัส, คิวปิด, ฟอลลี, เวลา” (Venus, Cupid, Folly, and Time) เป็นภาพที่โคสิโมจ้างให้เขียนเพื่อถวายพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เป็นภาพที่มีความยั่วยวนทางกามอารมณ์ที่แฝงไว้ในสัญลักษณ์แฝงคติ งานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลที่ฟลอเรนซ์ และงานพรมทอแขวนผนัง เรื่อง “เรื่องของโจเซฟ” (พันธสัญญาเดิม) สำหรับวังเวชิโอ
สมุดภาพ
แก้-
ภาพเหมือนของ
บิอา เดอ เมดิชิ -
ภาพเหมือนของ
จุยลิอาโน ดิ เปียโตร
เดอ เมดิชิ -
“ชะลอร่างจากกางเขน”
ปัจจุบันอยู่ที่เบซาซองในประเทศฝรั่งเศส -
ภาพเหมือนของลูเครเซีย
แพนชิอาทิชิ -
ชาวอิสราเอลเดินข้าม
ทะเลแดง -
ภาพเหมือนของชายหนุ่ม
กับหนังสือ -
“โคสิโม เดอ เมดิชิใส่เกราะ”
-
จิตรกรรมฝาผนังบนเพดาน
ชาเปลเลโอโนรา ดิ โทเลโด
ที่วังเวชิโอ -
จิตรกรรมฝาผนังบนเพดาน
ชาเปลเลโอโนรา ดิ โทเลโด
(รายละเอียด) -
“ครอบครัวพระเยซูกับ
นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” -
ภาพเหมือนของลอรา บัตติเฟอริ
-
ภาพเหมือนของ
เลโอโนรา ดิ โทเลโด
และลูกชายจิโอวานิ -
นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์
อ้างอิง
แก้- ↑ Cecil Gould, The Sixteenth Century Italian Schools, National Gallery Catalogues, London 1975, ISBN 0-947645-22-5