อัสตานา

(เปลี่ยนทางจาก นูร์-ซุลตัน)

อัสตานา (คาซัค: Астана / Astana) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า อักโมลินสก์ (Ақмолинск / Aqmolinsk), เซลีโนกราด (Целиноград / Tselinograd), อักโมลา (Ақмола / Aqmola) และ นูร์-ซุลตัน (Нұр-Сұлтан / Nūr-Sūltan) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศคาซัคสถาน มีประชากร 577,300 คน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ จัดเป็นเมืองเขตการปกครองพิเศษ มีพื้นที่อยู่ในแคว้นอักโมลา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอีชิม มีสูงเหนือน้ำทะเล 347 เมตร (1,138 ฟุต) มีสถานที่ที่เป็นจุดสังเกตคือ หอคอยแบย์เตียเรียก

อัสตานา
เมือง
นครอัสตานา
แบย์เตียเรียก
ธงของอัสตานา
ธง
ตราราชการของอัสตานา
ตราอาร์ม
อัสตานาตั้งอยู่ในคาซัคสถาน
อัสตานา
อัสตานา
ที่ตั้งกรุงอัสตานาในประเทศคาซัคสถาน
พิกัด: 51°10′0″N 71°26′0″E / 51.16667°N 71.43333°E / 51.16667; 71.43333
ประเทศ คาซัคสถาน
แคว้นอักโมลา
ก่อตั้งขึ้นเมื่อค.ศ. 1830 เป็น อักโมลี
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 1832 เป็น อักโมลินสก์
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 1961 เป็น เซลีโนกราด
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 1992 เป็น อักโมลา
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 1998 เป็น อัสตานา
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 2019 เป็น นูร์-ซุลตัน
เปลี่ยนชื่อค.ศ. 2022 กลับมาเป็น อัสตานา[1]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอิมังกาลี ตัสมากัมเบตอฟ
พื้นที่
 • ทั้งหมด722 ตร.กม. (279 ตร.ไมล์)
ความสูง347 เมตร (1,138 ฟุต)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013)[2]
 • ทั้งหมด780,880 คน
 • ความหนาแน่น958 คน/ตร.กม. (2,480 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+6 (BTT)
Postal code010000–010015
รหัสพื้นที่+7 7172[3]
ISO 3166-2AST
ป้ายทะเบียนรถ01, Z
เว็บไซต์www.astana.kz

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายทางดาวเทียมของอัสตานา

ภูมิอากาศ

แก้

อัสตานาเป็นเมืองหลวงที่หนาวที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากอูลานบาตาร์ เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย

ข้อมูลภูมิอากาศของอัสตานา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.4
(38.1)
4.8
(40.6)
22.1
(71.8)
29.7
(85.5)
35.7
(96.3)
40.1
(104.2)
41.6
(106.9)
38.7
(101.7)
36.2
(97.2)
26.7
(80.1)
18.5
(65.3)
4.5
(40.1)
41.6
(106.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) -9.9
(14.2)
-9.2
(15.4)
-2.5
(27.5)
10.9
(51.6)
20.2
(68.4)
25.8
(78.4)
26.8
(80.2)
25.2
(77.4)
18.8
(65.8)
10.0
(50)
-1.4
(29.5)
-8.0
(17.6)
8.9
(48)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -14.2
(6.4)
-14.1
(6.6)
-7.1
(19.2)
5.2
(41.4)
13.9
(57)
19.5
(67.1)
20.8
(69.4)
18.8
(65.8)
12.3
(54.1)
4.6
(40.3)
-5.4
(22.3)
-12.1
(10.2)
3.5
(38.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -18.3
(-0.9)
-18.5
(-1.3)
-11.5
(11.3)
0.2
(32.4)
7.9
(46.2)
13.2
(55.8)
15.0
(59)
12.8
(55)
6.6
(43.9)
0.2
(32.4)
-8.9
(16)
-16.1
(3)
−1.5
(29.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -51.6
(-60.9)
-48.9
(-56)
-38.0
(-36.4)
-27.7
(-17.9)
-10.8
(12.6)
-1.5
(29.3)
2.3
(36.1)
-2.2
(28)
-8.2
(17.2)
-25.3
(-13.5)
-39.2
(-38.6)
-43.5
(-46.3)
−51.6
(−60.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 16
(0.63)
15
(0.59)
18
(0.71)
20
(0.79)
35
(1.38)
37
(1.46)
50
(1.97)
29
(1.14)
22
(0.87)
27
(1.06)
27
(1.06)
22
(0.87)
318
(12.52)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 5.3 4.3 3.2 4.7 6.3 6.1 6.6 5.6 4.4 7.3 6.0 5.3 65.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 102.3 146.9 192.2 237.0 300.7 336.0 334.8 294.5 231.0 136.4 99.0 93.0 2,503.8
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[4]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun and precipitation days)[5]

ประชากร

แก้

อัสตานามีความหนาแน่นประชากร 958 คน/ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 705,897 คน[6][7] มีชาวคาซัค รัสเซีย ยูเครน ตาตาร์ และเยอรมัน 65.2%, 23.8%, 2.9%, 1.7%, 1.5% ตามลำดับ มีชนกลุ่มน้อยประมาณ 4.9% (ข้อมูล ค.ศ. 2010)

ค.ศ. 1999 อัสตานามีประชากร 281,000 คน เป็นชาวคาซัค 30% ชนชาติอื่น 70%[8]

ค.ศ. 2007 อัสตานามีประชากรเพิ่มขึ้นเกินมากกว่า 600,000 คน และในอนาคต จะมีประชากรครบ 1 ล้านคนใน ค.ศ. 2030

เศรษฐกิจ

แก้

การเมืองและรัฐบาลเป็นหลักเศรษฐกิจที่สำคัญของเมือง ซึ่งใช้รูปแบบเศรษฐกิจแบบพิเศษ ตั้งแต่การย้ายเมืองหลวง อัสตานาก็กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีโครงการก่อสร้างดีที่สุด

สถานที่สำคัญ

แก้

การวางแผนเมือง

แก้

เขตอัลมาเตอ

แก้

เขตนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 โดยรัฐกฤษฎีกาของประธานาธิบดีคาซัคสถาน เขตอัลมาเตอมีพื้นที่ 21,054 เฮกตาร์ (52 025 เอเคอร์ หรือ 81.290 ตารางไมล์) ประชากร 321,400 คน ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน

เขตเยซิล

แก้

จัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2008 โดยพระราชกฤษฎีกาของประธานาธิบดีคาซัคสถาน พื้นที่ 31,179 เฮกตาร์ (77 045 เอเคอร์ หรือ 120.382 ตารางไมล์) ประชากร 180,000 คน

เขตซายาร์กา

แก้

จัดตั้งขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 โดยพระราชกฤษฎีกาของประธานาธิบดีคาซัคสถาน พื้นที่ 19,202 เฮกตาร์ (47 449 เอเคอร์ หรือ 74.139 ตารางไมล์) ประชากร 296,364 คน

สถาปัตยกรรม

แก้

สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียตนั้น ถูกแทนที่ด้วยสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ไปทั่วเมือง ซึ่งประธานาธิบดีนาซาร์บายิฟก็ให้ความสนใจกับสิ่งนี้มากเป็นพิเศษ

สิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ในอัสตานา ตรงกลางคืออาโกร์ดา

ถนนสีเขียว

แก้

ถนนสีเขียว ("the shining Path") เป็นถนนคนเดินทีสำคัญที่สุดในคาซัคสถาน

สิ่งก่อสร้างใหม่

แก้
  • ท่าน้ำอิชิม
  • โอเชียนเนเรียม
  • มัสยิดกลางอัสตานา
  • อิสลามมิก เซ็นเตอร์
  • โบสถ์โรมันคาทอลิก
  • ตลาดกลางอัสตานา

พิพิธภัณฑ์

แก้
  • ศูนย์วัฒนธรรมประธานาธิบดี
  • หลุมฝังศพคาบานเบย์ แบเดอร์
  • อะตามีเคน เอทนิค เมมโมเรียล คอมเพล็กซ์
  • พิพิธภัณฑ์เซคัน ซีฟัลลิน
  • พิพิธภัณฑ์ประธานาธิบดีคนแรกของคาซัคสถาน

โรงละคร

แก้

อนุสาวรีย์

แก้
  • อนุสาวรีย์โอทาน คอร์กาชูลาร์
  • อนุสาวรีย์การปราบปรามการเมือง
  • อนุสาวรีย์ทหารชาวคาซัคสถาน
  • อนุสาวรีย์เซ็นทรัล สแควร์
  • อนุสาวรีย์เคเนสแซรี่ คาน

สถาปัตยกรรมอนุสรณ์สถาน

แก้

กีฬา

แก้

อัสตานาเป็นเมืองเจ้าภาพของกีฬาเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2011

สโมสร กีฬา ก่อตั้ง ลีก สถานที่
สโมสรฟุตบอลอัสตานา ฟุตบอล 2009 คาซัคสถานพรีเมียร์ลีก อัสตานาอารีนา
สโมสรฟุตบอลอัสตานา (1964) ฟุตบอล 1964 คาซัคสถานเฟิสต์ดิวิชัน สนามกีฬาคาชิมูคาน มูไนพาสบ
สโมสรฟุตบอลบีเทอเรก ฟุตบอล 2012 คาซัคสถานเฟิสต์ดิวิชัน อัสตานาอารีนา
สโมสรจักรยานอัสตานา แข่งจักรยาน 2007 ยูวีไอ โปรทัวร์ รีพับบลิกกัน ไซกลิง แทรก
สโมสรบาสเกตบอลอัสตานา บาสเกตบอล 2000 วีทีบี ยูไนเต็ด ลีก รีพับบลิกกัน ไซกลิง แทรก
สโมสรฮอกกี้น้ำแข็งแบรีส อัสตานา ฮอกกี้น้ำแข็ง 1999 คอนทินันทัล ฮอกกี้ ลรก คาซัคสถาน สปอร์ต แพแลค

การคมนาคม

แก้

อากาศยาน ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาตินูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ และสายการบินหลักคือ แอร์ อัสตานา

ขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าใต้ดินนูร์-ซุลตัน อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟทางไกล สถานีรถไฟหลักคือ สถานีรถไฟนูร์-ซุลตัน-1 เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญ เช่น อัสตานา–อัลมาเตอ นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับต่างประเทศ เช่น รัสเซีย ยูเครน คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน และจีน (อุรุมชี)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

เมืองพี่น้อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Қазақстан Республикасының елордасы – Нұр-Сұлтан қаласының атауын Қазақстан Республикасының елордасы – Астана қаласы деп өзгерту туралы". Akorda (ภาษาคาซัค). 17 September 2022. สืบค้นเมื่อ 17 September 2022.
  2. Agency of statistics of the Republic of Kazakhstan: Численность населения Республики Казахстан по областям с началa 2013 года до 1 февраля 2013 года เก็บถาวร 2019-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (russisch; Excel-Datei; 55 kB).
  3. "CODE OF ACCESS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-13.
  4. "Weather and Climate-The Climate of Astana" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  5. Climatological Information for Astana, Kazakhstan เก็บถาวร 2013-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 14 August 2012.
  6. "2010 жыл басынан 1 тамызға дейінгі Қазақстан Республикасы халық санының өзгеруі туралы". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2013-03-21.
  7. "Kazakhstan's Capital Holds A Lavish Anniversary Celebration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-03-21.
  8. "Astana". Angelfire.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
  9. "Twin cities of Riga". Riga City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 27 July 2009.
  10. "Gdańsk Official Website: 'Miasta partnerskie'" (ภาษาโปแลนด์ และ อังกฤษ). Urząd Miejski w Gdańsku. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 11 July 2009.
  11. "Miasta partnerskie Warszawy". um.warszawa.pl. Biuro Promocji Miasta. 4 May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 29 August 2008.
  12. "Tbilisi Municipal Portal – Sister Cities". © 2009 – Tbilisi City Hall. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 16 June 2009.
  13. "Existing Sister Cities". City of Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 2 September 2009.
  14. "Sister Cities". Beijing Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.

51°10′0″N 71°26′0″E / 51.16667°N 71.43333°E / 51.16667; 71.43333

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้