นพวรรณ เลิศชีวกานต์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ร้อยตำรวจเอกหญิง นพวรรณ เลิศชีวกานต์ (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 - ) ชื่อเล่น นก อดีตนักเทนนิสหญิงชาวไทย มีอันดับโลกสูงสุดของสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิง ประเภทเดี่ยว อันดับ 149 (พ.ศ. 2553) ประเภทคู่ อันดับ 97
นพวรรณ เลิศชีวกานต์ในการแข่งขันเทนนิสยูเอสโอเพน 2011 | |
ประเทศ (กีฬา) | ไทย |
---|---|
ถิ่นพำนัก | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
วันเกิด | จังหวัดเชียงใหม่, ประเทศไทย | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991
ส่วนสูง | 1.67 m (5 ft 5 1⁄2 in) |
เทิร์นโปร | 2009 |
การเล่น | ขวา:(สองมือ) |
เงินรางวัล | 293,951 ดอลลาร์สหรัฐ |
เดี่ยว | |
สถิติอาชีพ | 242–189 |
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 WTA, 5 ITF |
อันดับสูงสุด | อันดับ 149 (26 กันยายน 2011) |
อันดับปัจจุบัน | อันดับ 354 (2 กรกฎาคม 2017) |
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |
ออสเตรเลียนโอเพน | Q2 (2011) |
เฟรนช์โอเพน | Q1 (2011, 2012) |
วิมเบิลดัน | 1R (2010) |
ยูเอสโอเพน | 1R (2011) |
คู่ | |
สถิติอาชีพ | 141–112 |
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 WTA, 8 ITF |
อันดับสูงสุด | No. 97 (15 August 2011) |
ผลแกรนด์สแลมคู่ | |
ออสเตรเลียนโอเพน | – |
เฟรนช์โอเพน | – |
วิมเบิลดัน | 1R (2011) |
ยูเอสโอเพน | – |
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 18 November 2022 |
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
เทนนิส | ||
ตัวแทนของ ไทย | ||
เอเชียนเกมส์ | ||
2010 กว่างโจว | ทีมหญิง | |
ซีเกมส์ | ||
2007 นครราชสีมา | หญิงเดี่ยว | |
2011 ปาเลมบัง | หญิงคู่ | |
2011 ปาเลมบัง | ทีมหญิง | |
2011 ปาเลมบัง | หญิงเดี่ยว | |
2015 สิงคโปร์ | หญิงเดี่ยว | |
2015 สิงคโปร์ | หญิงคู่ | |
2015 สิงคโปร์ | ทีมหญิง | |
กีฬามหาวิทยาลัยโลก | ||
2013 คาซาน | หญิงคู่ |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
แผนก/ | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ประจำการ | พ.ศ. 2559 - 2565 |
ชั้นยศ | ร้อยตำรวจเอกหญิง |
นพวรรณชนะเลิศการแข่งขันในระดับเยาวชนหลายครั้ง และได้รับเลือกให้อยู่ในโครงการ The Rising Stars Programme ของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย
มื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 ทางสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ไอทีเอฟ) ได้จัดงานเลี้ยงฉลองนักเทนนิสยอดเยี่ยมประจำปี 2551 ที่โรงแรมพาวิลอง อาร์เมนองเวียง มีนักเทนนิสทั้งอดีตที่มีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็น จอห์น แม็คแอนโร, มาร์ตินา นาฟราติโลวา ก็มาร่วมงานกันพร้อมกับแขกที่เชิญกว่า 500 คน โดยงานนี้ "น้องนก" นพวรรณ เลิศชีวกานต์ ได้รับตำแหน่งนักกีฬาเยาวชนหญิงยอดเยี่ยมไปครอง จากการครองเป็นเบอร์ 1 ของเยาวชนโลก[1]
สไตล์การเล่น
แก้นพวรรณเป็นผู้เล่นที่มีกราวด์สโตรกไม่ค่อยหนักหน่วงแต่มีความแม่นยำ การตีลักษณะโฟร์แฮนด์ทั้งสองมือของเธอนั้น ทำให้การเคลื่อนไหวในจังหวะต่างๆ เข้าถึงบอลได้ช้า และจุดบกพร่องของนพวรรณอีกอย่างหนึ่งคือ การเสิร์ฟเบา เฉลี่ย 80-90 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามเธอได้พัฒนาเกมของเธอโดยได้โค้ชชาวอเมริกัน ซึ่งเป็น 1 ใน 10 โค้ชที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกา ฌักส์ คริส
นพวรรณ เลิศชีวกานต์ เป็นบุตรีของ นายประมวล เลิศชีวกานต์ และ นางเยาวภา เลิศชีวกานต์ เริ่มเล่นเทนนิสเมื่ออายุ 4 ปี โดยได้รับการฝึกสอนจากคุณพ่อและคุณแม่ และเมื่ออายุ 10 ปี ครอบครัวได้มีโอกาสรู้จักโค้ชชาวเยอรมัน มาเร็ก มาราชอต ซึ่งเคยเป็นผู้ฝึกสอนให้กับสเตฟฟี กราฟ ในช่วงที่เป็นเยาวชน จึงได้เข้ามาแนะนำการตีเทนนิสและเป็นโค้ชสอนวางพื้นฐานการตีเทนนิสให้กับน้องนกเรื่อยมา จนอายุได้ 12 ปีเขาจึงชักชวนเข้ามูลนิธิ Riko Foundation อ.เชียงคำ จ.พะเยา ของ ริก ฟาวเลอร์ นักธุรกิจสัญชาติอเมริกันที่อาศัยในประเทศไทย และให้การสนับสนุนงบประมาณแก่นักกีฬาเทนนิสในประเทศไทยไปแข่งขันแมทช์สำคัญๆ ในต่างประเทศ
หลังจากตัดสินใจเข้าไปอยู่ที่มูลนิธิอย่างเต็มตัว น้องนกต้องทุ่มเวลาฝึกซ้อมและต้องเดินทางไปเก็บตัวซุ่มซ้อมที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ซึ่งมูลนิธิริโก้ได้สร้างไว้สำหรับรองรับนักกีฬาระดับเยาวชน โดยมีทั้งที่พัก สนามซ้อม และโค้ช น้องนกได้ลาออกจากโรงเรียนเรยีนาเชลี ขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้น ม.2 น้องนกเลือกที่จะเป็นนักกีฬาเทนนิส ซ้อมทั้งวัน วันละ 3 ช่วง เช้า บ่าย และ เย็น ช่วงละ 2 ชั่วโมง พอน้องนกอายุ 13-14 ปีก็ได้ตระเวนแข่งเทนนิสเยาวชนโลกทั้งในและต่างประเทศ จนได้ตำแหน่งเยาวชนมือ 1 ของโลก ในขณะที่อายุได้ 17 ปี
ปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2552 น้องนกจะอายุครบ 18 ปี จะไม่สามารถลงแข่งในระดับเยาวชนได้แล้ว จึงต้องข้ามขึ้นไปแข่งในระดับอาชีพ และเป้าหมายก้าวต่อไป คือติดอันดับ 1 ใน 50 นักเทนนิสหญิงของโลก ปัจจุบันน้องนกมีผู้ฝึกสอนชาวอเมริกัน ฌักส์ คริส ติดอันดับ 1 ใน 10 โค้ชฝีมือดีของสหรัฐอเมริกา โดยลอนเทนนิสฯ เป็นผู้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย
ผลงานสำคัญในรายการแกรนด์สแลมระดับเยาวชน
แก้- เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 นพวรรณได้รางวัลรองชนะเลิศ การแข่งขัน วิมเบิลดัน ประจำปี 2551 ประเภท เยาวชนหญิงเดี่ยว โดยแพ้ Laura Robson จากสหราชอาณาจักร ในรอบชิงชนะเลิศ 1-2 เซต 3-6, 6-3, 1-6
- เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 นพวรรณชนะเลิศการแข่งขัน ยูเอส โอเพน ประจำปี 2551 ประเภท เยาวชนหญิงคู่ โดยจับคู่กับ ซานดรา โรมา ชาวสวีเดน ชนะคู่ มัลโลรี เบอร์เดตต์ กับ สโลน สตีเฟนส์ จากสหรัฐอเมริกา ในรอบชิงชนะเลิศ 2-0 เซต 6-0, 6-2 [3]
- เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นพวรรณชนะเลิศการแข่งขัน เฟรนช์ โอเพน ประจำปี 2552 ประเภท เยาวชนหญิงคู่ โดยจับคู่กับ Elena Bogdan ชาว โรมาเนีย ชนะคู่ Timea Babos จากฮังการีและ Heather Watson จากสหราชอาณาจักร ในรอบชิงชนะเลิศ 2-0 เซต 3-6, 6-3, [10-8]
- เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 นพวรรณชนะเลิศการแข่งขัน วิมเบิลดัน ประจำปี 2552 ประเภท เยาวชนหญิงเดี่ยว โดยชนะ Kristina Mladenovic จาก ฝรั่งเศส ในรอบชิงชนะเลิศ 2-1 เซต 3-6, 6-3 และ 6-1 [4]
- เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 นพวรรณชนะเลิศการแข่งขัน วิมเบิลดัน ประจำปี 2552 ประเภท เยาวชนหญิงคู่ โดยจับคู่กับ แซลลี่ เปียร์ส ชาว ออสเตรเลีย ชนะคู่ คริสติน่า มลาเดโนวิช จากฝรั่งเศส และ ซิลเวีย นิริช จากโครเอเชีย ในรอบชิงชนะเลิศ 2-0 เซต 6-1, 6-1 [5]
2008
แก้ในเดือนพฤษภาคม นพวรรณชนะเลิศรายการไอทีเอฟ 25,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเอาชนะ อิสชา ลัคฮานิ มือวางอันดับ 1 ของรายการไปสองเซตรวด 6-3, 6-2
ในเดือนมิถุนายน สามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการแกรนด์สแลม วิมเบิลดัน ระดับเยาวชน โดยแพ้ให้กับ ลอร่า ร็อบสัน ซึ่งถือเป็นนักเทนนิสไทยคนที่ 2 ที่สามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมระดับเยาวชน ต่อจาก แทมมารีน ธนสุกาญจน์
ในเดือนสิงหาคม นพวรรณจับคู่กับ ซานดรา โรมา คว้าแชมปฺ ยูเอสโอเพ่น ในระดับเยาวชนหญิงคู่
2009
แก้นพวรรณเริ่มต้นปีด้วยการเป็นมืออันดับ 1 เยาวชนโลก ในการแข่งขันเยาวชน ออสเตรเลียน โอเพน นพวรรณสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ โดยพ่ายแพ้ให้กับ ลอร่า ร็อบสัน จากสหราชอาณาจักร 4-6, 3-6 หลังจากที่นำ 4-1 ในเซตแรกของการแข่งขัน ในประเภทคู่ นพวรรณจับคู่กับ Beatrice Gumalya ชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 2 ของรายการ แต่พ่ายแพ้ให้กับ Alexandra Krunic จากโครเอเชีย กับ Sandra Zaniewska จากโปแลนด์ไปในรอบรองชนะเลิศ
ในการแข่งขัน เฟด คัฟ โซนเอเชีย/โอเชียเนีย ทีมไทยอยู่ในกลุ่ม B ซึ่งอยู่รวมกับ ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้, และไต้หวัน นพวรรณจับคู่ วรัชญา วงศ์เทียนชัย เอาชนะทีมเกาหลีใต้และไต้หวัน แต่แพ้ให้กับทีมออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมืออันดับต้นๆของโลกอย่าง เรนเน สตับบส์ กับ เคซี่ย์ เดลแลคกัว ไป 2 เซตรวด, 4-6, 2-6
ในวันที่ 18 พฤษภาคม นายชัยภัคดิ์ ศิริวัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองและรวมทั้งเป็นผู้จัดการของ นพวรรณ ได้เปิดเผยว่า นพวรรณได้ปฏิเสธข้อเสนอการสนับสนุนจาก IMG โดยข้อเสนอสำคัญที่นพวรรณให้เหตุผลคือ ผู้เล่นแต่ละคนที่อยู่ในค่ายของ IMG ต้องมีโค้ชที่ IMG เลือกให้เท่านั้น ซึ่งนายชัยภัคดิ์เองก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ IMG และให้ความเห็นกับ โค้ชปัจจุบันของนพวรรณคือ ชักฌ์ คริส ว่า เขาสามารถทำให้เกมของนพวรรณดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้นพวรรณสามารถขึ้นครองมือ 1 เยาวชนโลก และชัยภัคดิ์ ผู้จัดการส่วนตัวของน้องนกยังให้ความเห็นว่า ถ้าเปลี่ยนโค้ชกะทันหันอาจทำให้มีผลกระทบต่อเกมของเธอ แต่อย่างไรก็ตาม นพวรรณยังไม่ปิดรับข้อเสนอของ IMG โดยเธอกล่าวว่าถ้าเธอเล่นอาชีพเต็มตัวเมื่อไร เธอจะพิจารณาข้อเสนอของ IMG อีกครั้งหนึ่ง IMG สนับสนุนนักเทนนิสระดับโลกหลายคน อาทิ มาเรีย ชาราโปว่า และ ราฟาเอล นาดาล
นพวรรณเริ่มเล่น รายการระดับอาชีพรายการแรกของปี 25,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชนะมือ 1 ของรายการจากญี่ปุ่นไปสองเซตรวด แต่แพ้ให้กับ เรียวโกะ ฟูดะ จากญี่ปุ่นไปสามเซต สัปดาห์ต่อมา นพวรรณได้ร่วมเข้าแข่งขัน รายการ 10,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ North Shore City ในนิวซีแลนด์ แต่แพ้ในรอบแรกให้กับ Zi Jun Yang จากฮ่องกงไปสองเซตรวด แต่อย่างไรก็ตามใน รายการที่ แฮมิลตัน ที่นิวซีแลนด์ นพวรรณสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่ไม่เสียเซตให้ใคร แต่ในรอบชิงชนะเลิศ นพวรรรณแพ้ต่อ อายู ฟานี ดามายานติ ไปสามเซต, 4-6, 6-3, 3-6
ในรายการแกรนด์สแลมระดับเยาวชน เฟรนซ์ โอเพ่น นพวรรณแพ้ในรอบแรกให้แก่ ริเชล โฮเกนแคมพ์ ไปสองเซตรวด แต่อย่างไรก็ตามนพวรรณสามารถคว้าแชมป์เยาวชนหญิงคู่ได้โดยจับคู่กับ เอลีน่า บอกดาน เอาชนะ ทีเมีย บาบอส จากฮังการี และ ฮีตเตอร์ วอสสัน จากสหราชอาณาจักร ไปอย่างหวุดหวิด 3-6, 6-3, และซุปเปอร์ไทเบรก 10-8
ในการแข่งขันเทนนิส วิมเบิลดัน นพวรรณได้ไวลด์การ์ดผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก โดยในรอบคัดเลือกรอบแรก นพวรรณพ่ายแพ้ให้กับ เวสน่า มานาเซียว่า มือ 163 ของโลกไปสามเซต, 7-6(7), 4-6, 1-6 แต่อย่างไรก็ตามในระดับเยาวชน นพวรรณสามารถคว้าแชมป์ทั้งเดี่ยวและคู่ ไดครองตำแหน่งนักเทนนิสที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมในระดับเยาวชนเป็นคนแรกของไทย
ต่อมานพวรรณได้ไปแข่งขันที่เมือง แวนคูเวอร์ ที่แคนาดา ซึ่งเป็นรายการระดับ 75,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ นพวรรณสามารถเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ โดยเอาชนะ ลอเรนซ์ อัลบันซ์ มือ 6 ของรายการจากสหรัฐอเมริกา และ โอลกา พุชโควา อดีตมือ 32 ของโลกจากรัสเซีย ก่อนที่จะพ่ายแพ้ให้กับเจ้าถิ่น, มือวางอันดับ 2 และเป็นผู้ชนะเลิศในรายการนี้ สเตฟฟานี่ ดูบัวส์ ไปขาดลอย 1-6, 0-6
สถิติ ระดับอาชีพ
แก้ประเภทเดี่ยว (2)
แก้ระดับ |
แกรนด์แสลม (0) |
ดับเบิลยูทีเอทัวร์แชมเปียนชิพส์ (0) |
ระดับพรีเมียร์ (0) |
ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล (0) |
ไอทีเอฟ (2) |
ชนะเลิศ (2)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 4 พ.ค.51 | บาลิกปาปาน อินโดนีเซีย | ฮาร์ด | อินเดีย Isha Lakhani | 6-3, 6-2 |
2. | 3 ส.ค.51 | เชียงใหม่ ไทย | ฮาร์ด | ไทย หนึ่งนัดดา วรรณสุข | 6-2, 6-3 |
รองชนะเลิศ (3)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 6 พ.ค.50 | จาการ์ตา อินโดนีเซีย | ฮาร์ด | ไทย หนึ่งนัดดา วรรณสุข | 3-6, 6-4, 6-3 |
2. | 30 ก.ค.50 | กรุงเทพ ไทย | ฮาร์ด | จีน Jia Xiang Lu | 3-6, 6-4, 6-3 |
3. | 22 มี.ค. 52 | แฮมิลตัน นิวซีแลนด์ | ฮาร์ด | อินโดนีเซีย Ayu-Fani Damayanti | 4-6, 6-4, 3-6 |
ประเภทคู่ (3)
แก้ระดับ |
แกรนด์แสลม (0) |
ดับเบิลยูทีเอทัวร์แชมเปียนชิพส์ (0) |
ระดับพรีเมียร์ (0) |
ระดับอินเตอร์เนชั่นแนล (0) |
ไอทีเอฟ (3) |
ชนะเลิศ (3)
แก้
ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | จับคู่กับ | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 24 ก.ย. 49 | จาการ์ตา อินโดนีเซีย | ฮาร์ด | ไทย วรัชญา วงค์เทียนชัย | อินโดนีเซีย Ayu Fani Damayanti อินโดนีเซีย Lavinia Tananta |
6-2 6-4 |
2. | 19 พ.ย. 49 | มะนิลา ฟิลิปปินส์ | ฮาร์ด | ไทย วรัชญา วงค์เทียนชัย | ไทย ธัชชา วิทยวิโรจน์ จีนไทเป Shao-Yuan Kao |
3-6, 6-3, 7-6(2) |
3. | 24 เม.ย. 52 | โบล โครเอเชีย | เคลย์ | เช็กเกีย Martina Borecka | สโลวาเกีย Michaela Pochabova สโลวาเกีย Patricia Veresova |
6-3, 6-3 |
รองชนะเลิศ (2)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | จับคู่กับ | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 17 มิ.ย. 50 | Montemor-O-Novo โปรตุเกส | ฮาร์ด | ไทย วรัญญา วิจักษณบุญ | อิตาลี Elisa Balsamo อิตาลี Valentina Sulpizio |
1-6, 0-6 |
2. | 30 ก.ค. 51 | กรุงเทพ | ฮาร์ด | ไทย นภาพร ตงสาลี | ไทย วรัชญา วงค์เทียนชัย ไทย โซเฟีย มูลทรัพย์ |
4-6, 6-4, 6-1 |
สถิติ ระดับเยาวชน
แก้ระดับ |
แกรนด์แสลม (4) |
ไอทีเอฟ (11) |
ชนะเลิศ ประเภทเดี่ยว (9)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 3 ก.พ. 49 | Bangladesh G3 | Hard | Sung-Hee Han | 6–2, 6-2 |
2. | 12 มี.ค. 49 | Jakarta, Indonesia G2 | Hard | Lena Litvak | 6–3, 6-2 |
3. | 27 ต.ค. 50 | Bangkok, Thailand G2 | Hard | Reka-Luca Jani | 6–1, 6-7(1), 6-0 |
4. | 3 ต.ค. 50 | New Delhi, India GB1 | Hard | Zi-Jun Yang | 6–1, 6-1 |
5. | 23 มี.ค. 51 | Kuching, Malaysia G1 | Hard | Zsofia Susanyi | 6–0, 6-7(5), 7-5 |
6. | 30 มี.ค. 51 | Manila, Philippines G1 | Hard | Timea Babos | 3–6, 7-5, 6-4 |
7. | 12 เม.ย. 51 | Indore, India GB1 | Hard | Zi-Jun Yang | 6-2, 6-0 |
8. | 2 พ.ย. 51 | Indore, Indonesia GB1 | Hard | Jessy Rompies | 6-4, 6-2 |
9. | 4 ก.ค. 52 | Wimbledon 2009, London | Grass | Kristina Mladenovic | 3–6, 6–3, 6–1 |
รองชนะเลิศ ประเภทเดี่ยว (2)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 15 เม.ย. 50 | Chuang-Hua, Chinese Taipei GB1 | Hard | Kai-Chen Chang | 2-6, 6-2, 2-6 |
2. | 6 มิ.ย. 51 | Wimbledon 2008, London | Grass | Laura Robson | 3-6, 6-3, 1-6 |
ชนะเลิศ ประเภทคู่ (6)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | จับคู่กับ | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 6 พ.ย. 48 | Dhaka, Bangladesh G3 | Hard | Erina Kikuchi | Xuan-Yu Guo Yi-Mao Zhou |
Walkover |
2. | 11 มี.ค. 49 | Jakarta, Indonesia G2 | Hard | Sophia Mulsup | Gioia Barbieri Elena Chernyakova |
6-1, 3-6, 6-4 |
3. | 22 มิ.ย. 51 | Roehamton, Great Britain G1 | Grass | Jade Curtis | Sandy Gumulya Jessy Rompies |
6-4, 6-1 |
4. | 7 ก.ย. 51 | US Open 2008, New York | Hard | Sandra Roma | Mallory Burdette Sloane Stephens |
6-0, 6-2 |
5. | 7 มิ.ย. 52 | French Open 2009, Paris | Clay | Elena Bogdan | Timea Babos Heather Watson |
3-6, 6-3, [10-8] |
6. | 5 ก.ค. 52 | Wimbledon 2009, London | Grass | Sally Peers | Kristina Mladenovic Silvia Njiric |
6-1, 6-1 |
รองชนะเลิศ ประเภทคู่ (5)
แก้ลำดับ | วันที่ | รายการ | สนาม | จับคู่กับ | คู่แข่ง | คะแนน |
1. | 6 พ.ย. 48 | กรุงเทพ ประเทศไทย G4 | Hard | ณิชาต์ เลิศพิทักษ์สินชัย | Denise Dy Anja-Vanessa Peter |
6-7(5), 7-5, 2-6 |
2. | 12 มี.ค. 49 | จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย G2 | Hard | Erina Kikuchi | Elena Chernyakova Kristina Pejkovic |
3-6, 0-6 |
3. | 3 พ.ย. 50 | เดลี ประเทศอินเดีย GB1 | Hard | โซเฟีย มูลทรัพย์ | Alexandra Kolesnichenko Poojashree Venkatesha |
2-6, 4-6 |
4. | 2 พ.ย. 51 | Balikpapan ประเทศอินโดนีเซีย GB1 | Hard | Miyabi Inoue | Sandy Gumulya Jessy Rompies |
5-7, 6-3, 6-7(9) |
5. | 13 ก.ย. 52 | US Open 2009, New York | Hard | เอเลนา บ็อกดาน | วาเลเรีย โซโลเวียวา มารีนา ซาเนฟสกา |
6-1, 3-6, [7-10] |
อ้างอิง
แก้- สถิติ จาก WTA Tour เก็บถาวร 2009-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถิติ จาก ITF Juniors เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Jiro's Tennis Homepage เก็บถาวร 2007-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "น้องนก ลิ่วหญิงคู่เยาวชนเฟรนช์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-11.
- ↑ "ลมใต้ปีกอันแรงกล้า ของ นพวรรณ เลิศชีวกานต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-11.
- ↑ กระหึ่ม ‘น้องนก’ ควงสาวสวีดิชคว้าแชมป์เยาวชนยูเอสฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นกกระหึ่มผู้ดีซิวแชมป์ยช.วิมเบิลดัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
- ↑ "นกสุดยอดควงสาวจิงโจ้ซิวแชมป์ยช.หญิงคู่วิมเบิลดัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-07-05.