นกยูง
นกยูง | |
---|---|
ส่วนหัวของนกยูงอินเดีย (P. cristatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Galliformes |
วงศ์: | Phasianidae |
สกุล: | Pavo Linnaeus, 1758 |
ชนิด | |
|
นกยูง เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน"[1]
นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา [2]
นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus) มีหงอนบนหัวแผ่เป็นพัด มีหนังข้างแก้มเป็นสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนเป็นสีน้ำเงิน พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย
- นกยูงไทย (Pavo muticus) มีหงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มเป็นสีฟ้าและสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางเป็นสีเขียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกชองอินเดียติดกับพม่า ภูมิภาคอินโดจีน และชวา[3]
ในความเชื่อของชาวล้านนา เชื่อว่า นกยูงเป็นปางหนึ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ [1]เก็บถาวร 2011-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รำแพน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- ↑ "ยูง ๑ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
- ↑ ""แดนสวรรค์ ดอยภูนาง"". อนุสารอ.ส.ท. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pavo ที่วิกิสปีชีส์