ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangkok Bank Public Company Limited; SET:BBL[3]) จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 โดยข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกัน มีสโลแกนที่ว่า "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน" ต่อมาธนาคารฯได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 และต่อมาธนาคารฯได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนแปลงยกฐานะเป็น “ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และใช้ชื่ออย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ตราบัวหลวง ตราประจำธนาคารกรุงเทพใช้ในปี พ.ศ. 2566 ถึงปัจจุบัน | |
ครุฑตราตั้ง สำนักงานใหญ่ | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | SET:BBL |
ISIN | TH0001010014 |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการเงิน ธนาคาร |
ก่อตั้ง | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | เจ้าพระยารามราฆพ หลวงรอบรู้กิจ ชิน โสภณพนิช |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 333 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ให้บริการ | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา |
บุคลากรหลัก | พรเทพ พรประภา(ประธานกรรมการ) เดชา ตุลานันท์ (ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ) ชาติศิริ โสภณพนิช (กรรมการผู้จัดการใหญ่) |
รายได้ | 5ล้านบาท (2562)[1] |
สินทรัพย์ | 3,216,743.10 ล้านบาท (2562)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 427,751.21 ล้านบาท (2562)[1] |
อันดับความน่าเชื่อถือ | Fitch: AA+(tha)[2] |
เว็บไซต์ | www |
รายงานผลการสำรวจธนาคารยอดเยี่ยมในประเทศกำลังพัฒนาประจำปี 2546 ซึ่งตีพิมพ์ใน นิตยสารโกลบอล ไฟแนนซ์ ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2546 ได้กล่าวถึง ธนาคารกรุงเทพ ว่าเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[4] ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560[5] ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560
ประวัติ
แก้ธนาคารกรุงเทพเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร โดยเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ร่วมกับคุณหลวงรอบรู้กิจ มีทุนจดทะเบียน 4.0 ล้านบาท มีพนักงานรุ่นแรก 23 คน คณะกรรมการบริหารประกอบด้วย พล.อ.เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นประธาน และหลวงรอบรู้กิจ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรกและเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 2 คือ ชิน โสภณพนิช ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารที่ครอบครองตำแหน่งได้นานที่สุดถึง 25 ปี (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2520) นายชิน โสภณพนิช เป็นบุคคลที่มีแนวคิดริเริ่มที่ให้ธนาคารขยายเครือข่ายสาขาไปยังท้องที่ที่ห่างไกลทั่วประเทศ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์ จนทำให้ธนาคารเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออก และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ธนาคารได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นรูป ดอกบัวหลวง ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ธนาคารกรุงเทพได้ไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศ แห่งแรกคือที่ ฮ่องกง ต่อมาได้ไปเปิดที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้ไปเปิดที่ สิงคโปร์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 3 คือ บุญชู โรจนเสถียร เป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนการบริหารงานครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ธนาคารมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 4 คือ ชาตรี โสภณพนิช เป็นผู้นำธนาคารกรุงเทพเข้าสู่ยุคทอง ผลประกอบการของธนาคารกรุงเทพในปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2535 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า และเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทำกำไรสุทธิมากกว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ณ ช่วงสมัยนั้น และ เป็น 1 ใน 200 ธนาคารชั้นนำของโลก และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ จากซอยธนาคารกรุงเทพ ถนนเสือป่า (ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมนั้น ก็ได้ถูกลดฐานะมาเป็นสาขาพลับพลาไชย และบางส่วนกลายมาเป็นอาคารพลับพลาไชย)[ต้องการอ้างอิง] มาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 333 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งได้ใช้สำนักงานแห่งนี้มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ธนาคารฯได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อว่า "ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)" เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2536
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 5 คือ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นผู้ที่มีผลงานด้านกิจการธนาคารในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ธนาคารกรุงเทพเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่านที่ 6 คือ ชาติศิริ โสภณพนิช เป็นบุตรชายคนโตของ ชาตรี โสภณพนิช เพียงระยะเวลาแค่ 3 ปีในการบริหารตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เศรษฐกิจไทยที่รุ่งเรืองมานานถึง 30 ปี ก็ได้อวสานลง ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก หลังจากที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว สถาบันการเงินหลายรายไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ประสบปัญหาล้มละลาย สถาบันการเงินที่เหลือประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพราะลูกค้าหลายราย ล้วนประสบปัญหาทางการเงิน ท่ามกลางอุปสรรคเช่นนี้ นายชาติศิริ โสภณพนิช กลับแก้ "วิกฤติ" ให้เป็น "โอกาส" โดยการเสริมสร้างรากฐานทางการเงินให้แข็งแรงขึ้นอีกครั้ง
ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศ[6] มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 3.80 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 1,135 สาขา เครื่องเอทีเอ็มกว่า 9,362 เครื่อง สาขาไมโคร (Micro Branch) ที่เปิดให้บริการ 7 วัน มีเครือข่ายสาขาต่างประเทศ 31 แห่ง ในเขตเศรษฐกิจสำคัญ 14 แห่ง นอกเหนือจากสาขาอีกประมาณ 300 แห่ง ของธนาคารเพอร์มาตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (ข้อมูลเมื่อปี 2565)
ในปี พ.ศ. 2566 ธนาคารมีการปรับอัตลักษณ์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี[7]
ในปี พ.ศ. 2567 ธนาคารกรุงเทพมีจำนวนสาขาทั้งหมด 824 สาขา มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากธนาคารกรุงไทย[8] และมีตู้เอทีเอ็มกว่า 9,000 เครื่อง มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์
ผู้ถือหุ้นใหญ่
แก้ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[9]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 448,535,678 | 23.50% |
2 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 98,649,920 | 5.17% |
3 | สำนักงานประกันสังคม | 85,852,300 | 4.50% |
4 | UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED - Client Account | 39,837,220 | 2.09% |
5 | STATE STREET EUROPE LIMITED | 36,715,127 | 1.92% |
6 | บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 34,287,030 | 1.80% |
7 | THE BANK OF NEW YORK MELLON | 32,663,005 | 1.71% |
8 | BNY MELLON NOMINEES LIMITED | 31,094,920 | 1.63% |
9 | MORGAN STANLEY & CO. INTERNATIONAL PLC | 25,988,223 | 1.36% |
10 | STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY | 25,690,400 | 1.35% |
รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ
แก้- พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) (พ.ศ. 2487-2496)
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน (พ.ศ. 2496-2500)
- พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พ.ศ. 2500-2503)
- หม่อมเจ้าอัจฉราฉวี เทวกุล (พ.ศ. 2503-2506)
- จอมพล ประภาส จารุเสถียร (พ.ศ. 2506-2516)
- ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (พ.ศ. 2516-2519)
- นายชิน โสภณพนิช (พ.ศ. 2519-2526)
- นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ (พ.ศ. 2527-2542)
- นายชาตรี โสภณพนิช (พ.ศ. 2542-2561)
- นายปิติ สิทธิอำนวย (พ.ศ. 2561-2565)
- นายพรเทพ พรประภา (พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2021-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ "รางวัลแห่งเกียรติยศ 2546 โดยเว็บไซต์ของธนาคาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-08.
- ↑ ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560
- ↑ อนาคตแบงก์ไทย เดินหน้า'ฝ่ามรสุม'
- ↑ แบงก์กรุงเทพ เขย่า CI ครั้งใหญ่ ปรับโฉมโมบายแบงกิ้ง มินิมอลมากขึ้น
- ↑ "ธนาคารแห่งประเทศไทย | Bank of Thailand". app.bot.or.th.
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[ลิงก์เสีย] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้หนังสือและบทความ
แก้- ณัฏฐพงษ์ เลี่ยววิวัฒน์อุทัย. (2551, ส.ค.). การ “ปรับตัว” ของ “นายทุนจีน”: ภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในทศวรรษ 2490. ศิลปวัฒนธรรม. 29(10): 72-95.