ธงแสดงสัญชาติ
ธงแสดงสัญชาติ[1] หรือ ธงเรือ[2] (อังกฤษ: ensign) คือหนึ่งในธงเดินเรือ (maritime flag) ที่ใช้ในการระบุตัวตนของเรือ[3] ซึ่งธงแสดงสัญชาติจะเป็นธงที่ใหญ่ที่สุด ปกติจะปักอยู่ในบริเวณท้ายเรือ (หลังเรือ) ขณะอยู่ในท่า ขึ้นอยู่กับที่มาของเรือว่ามาจากชาติใด หลักการคล้ายกับธงฉานที่ปักไว้บริเวณหัวเรือ โดยทั่วไปธงฉานจะพบบนเรือรบมากกว่าเรือพาณิชย์
นิรุกติศาสตร์
แก้ในภาษาอังกฤษสมัยกลาง ensign นั้นมาจากภาษาลาตินคำว่า insignia โดยในไทยให้ความหมายที่หลากหลาย เช่น เครื่องหมาย
ในภาษาไทย ensign มีการให้ความหมายไว้หลากหลาย ประกอบไปด้วย
- พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ผ่านลองดูดิกท์ ในพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ให้ความหมายว่า 1. ธงชาติ 2. ธงแสดงสัญชาติ 3. ธงประจำตำแหน่ง[1]
- พจนานุกรม ไทย-อังกฤษฉบับของของ สอ เสถบุตร ให้ความหมายไว้ว่า [n.] คนถือธง, ธง, ธงเรือ, นายธง[2]
- พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย - อังกฤษ เล็กซิตรอน ให้ความหมายไว้ใกล้เคียงกันคือ [n.] ธงของเรือเพื่อแสดงให้ทราบว่าสังกัดทหารหน่วยใด ธงของเครื่องบินเพื่อแสดงให้ทราบว่าสังกัดทหารหน่วยใด และ [n.] ธงที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน[2]
- พจนานุกรมศัพท์ชาวเรือ พลเรือเอก ไพศาล นภสินธุวงศ์ ให้ความหมายว่า ธงชาติ หรือธงราชนาวี เป็นธงสัญลักษณ์หรือธงท้ายเรือที่ใช้งานโดยราชนาวีอังกฤษ[4]
ธัชวิทยา
แก้ใน ธัชวิทยา เรือธง (ensign) มีความหมายแตกต่างจากทั้ง ธงนาวี (naval ensign) ที่ใช้เป็นธงแสดงสัญชาติในยามสงคราม (war ensign) และ ธงเรือราษฎร์ (civil ensign) ที่ใช้งานโดยเรือพาณิชย์ (merchant) ซึ่งทั้งสองแบบเป็นการใช้งานโดยมีพื้นฐานดั่งเดิมมาจากธงชาติ[5]
อย่างไรก็ตาม ในสหราชอาณาจักร, เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ มีการแยกกันระหว่างเรือของรัฐ และเรือติดอาวุธไว้ในประเภทหนึ่ง อีกประเภคเป็นเรือที่ไม่ติดอาวุธและเรือพลเรือนซึ่งมีใช้งานเร็วกว่าชาติอื่น ๆ สามารถดูเพิ่มได้ที่ธงเรือสหราชอาณาจักร (British ensign)
นักธีชวิทยาได้แบ่งความต่างระหว่างธงชาติเมื่อใช้งานเป็นธงแสดงสัญชาติ ได้แก่
ธงเรือรัฐบาล
แก้ธงเรือรัฐบาล (government ensign) หรือธงเรือรัฐ (state ensign) (ใช้สัญลักษณ์ ) ใช้งานโดยเรือของหน่วยงานรัฐบาลหรือเรือช่วยรบ (auxiliary ship) ของพลเรือนที่มีอุปกรณ์ช่วยรบ
ธงนาวี
แก้ธงนาวี (naval ensign) (ใช้สัญลักษณ์ ) ใช้งานโดยกองทัพเรือของแต่ละประเทศ ถือเป็นธงเรือสงคราม (war ensign) สำหรับเรือกองทัพที่ถูกใช้ประจำการ ธงเรือสงครามไม่ได้หมายความว่าประเทศกำลังอยู่ในสภาวะสงคราม แต่เป็นการใช้งานในทางทหาร ภายใต้กฎหมายสงครามและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ธงนาวีขนาดใหญ่ถูกเรียกว่าธงเรือรบ (battle ensign) ซึ่งจะใช้งานเมื่อเรือรบเข้าสู่การรบ ธงนี้แตกต่างจากธงฉานซึ่งชักขึ้นบริเวณเสาธงฉานบริเวณหัวเรือเมื่อเรืออยู่ในท่าเรือ
ธงเรือราษฎร์
แก้ธงเรือราษฎร์ (civil ensign) (ใช้สัญลักษณ์ ) ใช้งานโดยเรือพาณิชย์และเรือสำราญ ธงเดินเรือของเรือพาณิยช์หรือธงเรือราษฎร์จึงเป็นธงที่ใช้งานเฉพาะสำหรับเรือพาณิชย์ของประเทศ เว้นแต่เจ้าของ (เอกชน) จะได้รับอนุญาตให้ใช้ธงแบบอื่น[6] ธงแสดงสัญชาตินี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เรือเอกชนใช้ระบุสัญชาติของของตนให้เรืออื่นได้รับรู้ บางประเทศมีธงแสดงสัญชาติเรือยอช์ต (yacht ensign) เฉพาะสำหรับเรือยอช์ตและเรือที่ไม่มีการจดแจ้งขนส่งสินค้าที่แตกต่างจากธงปกติและมีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะ ธงแสดงสัญชาติเรือพาณิชย์สามารถชักขึ้นประดับได้โดยเรือนั้นต้องไม่ใช่เรือรบ เรือของรัฐบาล เรือช่วยรบ หรือเรือยอช์ต โดยลักษณะพิเศษของธงนี้คือการประกาศว่าเรือนั้นไม่ได้เป็นดินแดนของชาตินั้น ๆ นอกอาณาเขต แต่เป็นพื้นที่ของเอกชนหรือใกล้เคียงกัน และไม่ใช่พื้นที่ของรัฐ หมายความว่าโดยปกติแล้วการใช้ธงชาติหรือธงของรัฐเป็นข้อห้าม
ธงชาติประจำเรือ
แก้ธงชาติประจำเรือ (national ensign) (ใช้สัญลักษณ์ ) ใช้งานทางเรือได้ทั้งเรือพลเรือน เรือรัฐบาล และเรือกองทัพ ลักษณะเดียวกันกับธงชาติแต่เป็นธงที่ถูกกำหนดให้แสดงสัญชาติทางเรือของเรือทุกประเภทของประเทศนั้น ๆ
การใช้งาน
แก้ในการใช้งานทางทะเล เรือทุกลำจะต้องใช้ธงเฉพาะของประเทศตนเพื่อระบุถึงการเป็นสมาชิกขององค์การ[8] จึงมีการกำหนดให้ติดธงแสดงสัญชาติบนเรือเหล่านั้น โดยธงหมายถึงท่าเรือต้นทางของเจ้าของเรือที่เรือได้จดทะเบียนและเสียภาษีเรือที่ชาตินั้น ๆ และเรือพาณิชย์สามารถเปลี่ยนสัญชาติธงได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนเรือใหม่และจะต้องมี ใบรับรองการลบ (Deleting Certificate) ยืนยันว่าเลิกใช้สัญชาติเดิมแล้ว[6]
ในปัจจุบัน บางประเทศ เช่น สหรัฐ และฝรั่งเศสยังคงใช้เพียงธงเดียวรวมถึงธงฉาน ไม่มีการใช้งานธงพิเศษบริเวณมุมบนด้านซ้ายและไม่มีการเพิ่มสัญลักษณ์ระบุตัวตนเพิ่มเติมบนธง เรือทุกลำในกิจการเดินทะเลของรัฐบาลกลางสหรัฐยกเว้นยามฝั่งสหรัฐจะใช้ธงชาติสหรัฐเป็นธงแสดงสัญชาติ แม้ว่าเรือของหน่วยงานบางแห่งจะใช้ธงของหน่วยงานตนเป็น "ธงเครื่องหมาย" ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่น ๆ เช่น ยูเครน อิตาลี รัสเซีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น มีการใช้งานธงแสดงสัญชาติที่แตกต่างกัน โดยมีการควบคุมการใช้งานอย่างเข้มงวดในการระบุว่าเรือเรือนั้นเป็นเรือชนิดใด เช่น เป็นเรือรบ เรือพาณิชย์ เรือในสัญญาการขนส่งไปรษณีย์ และเรือยอช์ต
ธงชาติของประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติหลายชาติมีต้นกำเนิดมาจากธงแสดงสัญชาติของมหาอำนาจซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมคือสหราชอาณาจัก โดยธงชาติที่โดดเด่นที่สุดคือธงชาติของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศหมู่เกาะ ๆ หลายแห่ง มีความเป็นไปได้สูงว่า ธงแกรนด์ยูเนียน (Grand Union Flag) ซึ่งเป็นธงชาติสหรัฐนั้นได้รับการพัฒนามาจากอิทธิพลของธงเรดดัสเตอร์หรือธงของบริษัทอินเดียตะวันออก (ซึ่งอยู่ในการควบคุมของสหราชอาณาจักร)
ธงแสดงสัญชาติรูปแบบอื่น ๆ
แก้ธงแสดงสัญชาติการบิน
แก้จากการสถาปนากองทัพอากาศอย่างแพร่หลายและการเติบโตของการบินพลเรือนในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้มีการนำธงและธงแสดงสัญชาติมาปรับใช้ โดยสิ่งเหล่านี้อาจแบ่งออกเป็นธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศ (air force ensign) (มักเป็นสีฟ้าอ่อน[9] เช่น ธงกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) และธงการบินพลเรือน (civil air ensign)
ธงแสดงมุทราศาสตร์
แก้ในมุทราศาสตร์ ธงคือธงแสดงการประดับหรือสัญลักษณ์ เช่น มงกุฎ, จุลมงกุฎ หรือหมวกยศ ประดับอยู่เหนือเครื่องหมาย หรือตราอาร์ม
ระเบียงภาพ
แก้ตัวอย่างธงเรือราษฎร์ (ธงแสดงสัญชาติของเรือพลเรือน) ธงเรือรัฐบาล และธงนาวี (ธงแสดงสัญชาติของเรือกองทัพ) มีดังนี้
ธงเรือราษฏร์
แก้ตัวอย่างธงเรือราษฏร์ (civil ensign) มีดังนี้
-
ธงเรดดัสเตอร์ใช้เป็นธงเรือราษฎร์ของชาวสหราชอาณาจักร
-
ธงเรือราษฎร์ยิบรอลตาร์
-
ธงเรดดัสเตอร์ออสเตรเลียเป็นธงเรือราษฎร์ออสเตรเลีย
-
ธงเรดดัสเตอร์นิวซีแลนด์เป็นธงเรือราษฎร์นิวซีแลนด์
-
ธงเรือราษฎร์อินเดีย
-
ธงแสดงสมาคมเรือยอชต์ฟินแลนด์ วงกลมและเครื่องหมาย x แสดงถึงตราสมาคม
-
ธงเรือราษฎร์ลักเซมเบิร์ก
-
ธงแสดงเรือยอช์ตสเปน
-
ธงเรือราษฎร์แอลเบเนีย
ธงเรือรัฐ
แก้ตัวอย่างธงเรือรัฐ (state ensign) หรือธงเรือรัฐบาล (government ensign) มีดังนี้
-
ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินใช้งานโดยเรือของรัฐบาลสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน
-
ธงเรือรัฐบาลยิบรอลตาร์
-
ธงชาติออสเตรเลียและธงเรือรัฐบาล
-
ธงชาตินิวซีแลนด์ (มาวรี: Te haki o Aotearoa) และธงเรือรัฐ
-
ธงเรือรัฐยามฝั่งสหรัฐ
ธงนาวี
แก้ตัวอย่างธงนาวี (naval ensign) มีดังนี้
-
ธงนาวีที่ใช้งานโดยราชนาวีออสเตรเลีย
-
ธงนาวีที่ใช้งานโดยราชนาวีนิวซีแลนด์
-
ธงราชนาวีแคนาดา
-
ธงนาวีกองทัพเรืออินเดีย
-
ธงนาวีกองทัพเรือเบลเยียม
-
ธงนาวีกองทัพเรือเดนมาร์ก
-
ธงนาวีกองทัพเรืออียิปต์
-
ธงนาวีกองทัพเรือเยอรมัน
-
ธงนาวีกองทัพเรืออิตาลี
-
ธงนาวีกองทัพเรือพม่า
-
ธงนาวีกำลังสำรองกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์
-
ธงนาวีกองทัพเรือไนจีเรีย
-
ธงนาวีกองทัพเรือประชาชนเกาหลี
-
ธงนาวีกองทัพเรือนอร์เวย์
-
ธงนาวีกองทัพเรือโปแลนด์
-
ธงนาวีกองทัพเรือรัสเซีย
-
ธงนาวีกองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย
-
ธงนาวีกองทัพเรือศรีลังกา
-
ธงนาวีราชนาวีไทย
-
ธงนาวีกองทัพเรือยูเครน
ธงแสดงสัญชาติอื่น ๆ
แก้ธงเรือราษฎร์และธงนาวี
แก้-
ธงเรือราษฎร์และธงนาวีฝรั่งเศส
ธงการบินแสดงสัญชาติ
แก้-
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศออสเตรเลีย
-
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศนิวซีแลนด์
-
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศแคนาดา
-
ธงแสดงสัญชาติการบินพลเรือนใช้งานโดยสถานประกอบการด้านการบินพลเรือนในสหราชอาณาจักร
-
ธงแสดงสัญชาติการบินพลเรือนออสเตรเลีย
-
ธงแสดงสัญชาติการบินพลเรือนนิวซีแลนด์
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "คำศัพท์ *ensign* แปลว่าอะไร?". Longdo Dict.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ensign คืออะไร แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร ตัวอย่างประโยค". www.sanook.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Ensign". Oxforddictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2012.
- ↑ "พจนานุกรม ศัพท์ชาวเรือ - ดาวน์โหลดหนังสือ | 101-150 หน้า | AnyFlip". anyflip.com.
- ↑ Alfred Znamierowski. "Types of flags". The World Encyclopedia of Flags. p. 31.
- ↑ 6.0 6.1 "นิทานชาวเรือ ตอนที่ ๕ เรื่องของเรือ ตอน "เจ้าของเรือ และ ธงของเรือ นั้น สำคัญ ไฉน?." www.marinerthai.net.
- ↑ "๒๘ กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456. ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
- ↑ Znamierowski. "Air force flags". The World Encyclopedia of Flags. p. 85.
บรรณานุกรม
แก้- Znamierowski, Alfred (2002). The world encyclopedia of flags : The definitive guide to international flags, banners, standards and ensigns. London, England: Hermes House. ISBN 1-84309-042-2.
- Kavussanos, Manolis G. (2014). The Option to Change the Flag of a Vessel. SSRN.