ท่าอากาศยานศุลกากร

ท่าอากาศยานศุลกากร คือท่าอากาศยานที่สามารถรองรับเที่ยวบินที่มาจากต่างประเทศได้ โดยอากาศยานลำใดที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่อากาศยานของทางราชการ ต้องลงในหรือขึ้นจากสนามบินที่เป็นด่านศุลกากร แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นอย่างยิ่งทำให้อากาศยานที่เข้ามาในหรือจะออกไปนอกราชอาณาจักรต้องลงในหรือขึ้นจากที่ใดนอกจากสนามบินที่เป็นด่านศุลกากร ให้ผู้ควบคุมอากาศยานรายงานต่อพนักงานศุลกากรหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยพลันตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด และห้ามมิให้ผู้ควบคุมอากาศยานอนุญาตให้ขนของใด ๆ ออกจากหรือขึ้นในอากาศยานนั้น โดยมิได้รับความยินยอมจากพนักงานศุลกากร[1]

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนึ่งในท่าอากาศยานศุลกากรในประเทศไทย

รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรในประเทศไทย

แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

แก้
ท่าอากาศยาน อ้างอิง
ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ [2]
ท่าอากาศยานขอนแก่น [2]
ท่าอากาศยานชุมพร [2]
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย [3]
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ [3]
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง [3]
ท่าอากาศยานตรัง [2]
ท่าอากาศยานตราด [3]
ท่าอากาศยานน่านนคร [2]
ท่าอากาศยานนครพนม [2]
ท่าอากาศยานนครราชสีมา [2]
ท่าอากาศยานนราธิวาส [2]
ท่าอากาศยานปัตตานี [2]
ท่าอากาศยานพิษณุโลก [2]
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต [3]
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด [2]
ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน [2]
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย [3]
ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี [2]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ [3]
ท่าอากาศยานระนอง [2]
ท่าอากาศยานเลย [2]
ท่าอากาศยานหัวหิน [2]
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ [3]
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี [2]
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี [2]

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวดที่ 3 ส่วนที่ 3 มาตรา 92 และ 93
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรในกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 กฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. ๒๕๖๐