ท่าอากาศยานน่านนคร

ท่าอากาศยานน่านนคร หรือ สนามบินน่าน[1] (อังกฤษ: Nan Nakhon Airport) (IATA: NNTICAO: VTCN) เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ใช้ร่วมกับกองทัพอากาศทั้งหมด 1069 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา โดยใช้ในราชการท่าอากาศยานน่านนคร 392 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา[2] เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3]

ท่าอากาศยานน่านนคร
พื้นที่รับส่งผู้โดยสาร ท่าอากาศยานน่านนคร
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน / กองทัพอากาศไทย
พื้นที่บริการจังหวัดน่าน
ที่ตั้งถนนน่าน–ทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เปิดใช้งานพ.ศ. 2523
เหนือระดับน้ำทะเล702 ฟุต / 213 เมตร
พิกัด18°48′28″N 100°47′00″E / 18.80778°N 100.78333°E / 18.80778; 100.78333
เว็บไซต์minisite.airports.go.th/home.php?site=nannakhon
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
02/20 6,562 2,000 ยางมะตอย
สถิติ (2566)
ผู้โดยสาร386,575
เที่ยวบิน2,512
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ

แก้

การดำเนินงานในช่วงต้น

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2458 เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครน่าน (อิสริยศในขณะนั้น) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ[4] จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอก พระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างท่าอากาศยานขึ้น เมื่อพระวรไชยวุฒิกรณ์เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถางโค่นต้นไม้ บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือ เพื่อสร้างท่าอากาศยานบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้าอุปราชฯ ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงท่าอากาศยานน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้ท่าอากาศยานนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควร

ต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส ท่าอากาศยานได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกครั้งเพื่อให้เครื่องบินจำนวน 3-4 ลำจากกองทัพอากาศสามารถมาประจำที่ท่าอากาศยานน่านได้ แต่เมื่อสงครามอินโดจีนยุติลง ก็ไม่มีการใช้ท่าอากาศยานอีก หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปีเศษ ท่าอากาศยานได้รับการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง โดยทำการขยายทางวิ่งให้กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร ผิวทางวิ่งบดทับด้วยดินลูกรัง พอที่เครื่องบินขนาดเล็กจะขึ้น-ลงได้

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 กองทัพอากาศไทยได้จัดหน่วยบิน 231 ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่ และทิ้งระเบิดมาประจำท่าอากาศยานน่าน พร้อมย้ายหน่วยบิน 713 และ 333 จากอำเภอเชียงกลาง มาประจำที่ท่าอากาศยานน่าน รวมกันตั้งเป็นกองบิน 466 ต่อจากนั้นหน่วยบินของกองทัพบก และกรมการบินพาณิชย์ ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ จึงได้ร่วมกันซ่อมทางวิ่งบางตอนที่ชำรุดให้ได้มาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่งให้เป็นผิวแอสฟัลส์ติดคอนกรีต ยาว 2,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ทางเผื่อหัวท้ายข้างละ 60 เมตร รับน้ำหนักสูงสุดได้ประมาณ 67,000 กิโลกรัม จนเครื่องบินขนาดใหญ่แบบซี-130 เฮอร์คิวลิส สามารถขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย

 
อาคารผู้โดยสารหลังเดิม

เริ่มการให้บริการการบินพาณิชย์

แก้

ปี พ.ศ. 2523 กรมการบินพาณิชย์ ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการท่าอากาศยานน่าน (อาคารเดิม) เป็นอาคารชั้นเดียวประกอบด้วยห้องพักผู้โดยสาร ที่ทำการท่าอากาศยานน่านและพื้นที่ลานจอดรถยนต์ ไว้บริการแก่ผู้โดยสารทั่วไป[5]

ปี พ.ศ. 2555 กรมการบินพลเรือน (บพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่ท่าอากาศยานน่าน ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยใช้งบประมาณค่าก่อสร้างจำนวน 169,060,000 บาท มีพื้นที่รวม 5,750 ตารางเมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2 ชั้น มีดาดฟ้า สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน จำนวน 300 คน/ชั่วโมง และอาคารอื่น ๆ ได้แก่ อาคารโรงเก็บเครื่องมือกล และอาคารที่ทำการดับเพลิง ขนาด 720 ตารางเมตร สามารถจอดรถดับเพลิงได้ จำนวน 6 คัน พร้อมลานจอดรถยนต์ด้านหน้าอาคารประมาณ 540 ตารางเมตร และอาคารโรงเก็บเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าขนาด 126 ตารางเมตร และได้เปิดให้สายการบินและผู้โดยสารใช้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 [6]

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ของท่าอากาศยานน่านว่า "ท่าอากาศยานน่านนคร"

ชื่อท่าอากาศยาน

แก้

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานน่านนคร โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายวรเดช หาญประเสริฐ นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ภาครัฐ และภาคเอกชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานน่านนคร จังหวัดน่าน ในวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 19.00 น.[7]

ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ของท่าอากาศยานน่านว่า “ท่าอากาศยานน่านนคร” หมายถึง ท่าอากาศยานแห่งจังหวัดน่าน และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ประดับที่ป้ายท่าอากาศยานฯ ดังกล่าว[8]

อาคารสถานที่

แก้
 
ภายในอาคารผู้โดยสาร

อาคารผู้โดยสาร

แก้
  • อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (ปัจจุบัน) เป็นอาคารสองชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 5,750 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คน ในชั่วโมงคับคั่ง หรือรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 2,400 คน/วัน หรือประมาณ 864,000 คน/ปี มีร้านอาหารเปิดให้บริการอยู่ภายในอาคาร
  • อาคารผู้โดยสารหลังเดิม เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,003 ตารางเมตร
  • ลานจอดอากาศยาน (Apron)
- ลาดจอดที่ 1 ขนาดกว้าง 35 เมตร ยาว 80 เมตร รองรับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 ได้พร้อมกัน 2 ลำ หรือเครื่องบินแบบโบอิง 737-400 ได้ 1 ลำ
- ลาดจอดที่ 2 ขนาดกว้าง 100 เมตร ยาว 235 เมตร รองรับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 ได้พร้อมกัน 3 ลำ หรือเครื่องบินแบบโบอิง 737-400 ได้พร้อมกัน 2 ลำ
- หลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 หลุม
  • จำนวนเครื่องบินที่รองรับได้ 8 เที่ยวบิน/วัน[9]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

แก้
  • ทางวิ่งใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) จำนวน 1 เส้น กว้าง 45 เมตร ยาว 2,000 เมตร กำหนดทางวิ่งเป็น 02 และ 20 พร้อมลานกลับลำด้านหัวทางวิ่ง 20 และพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 60 เมตร รับน้ำหนักได้ 74 ตัน
  • ทางขับใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) จำนวน 1 เส้น, 4 ช่องทาง คือ A, B, C และ D ทาง A - C กว้าง 30 เมตร, C - D กว้าง 20 เมตร[9]

แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน

แก้

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงาน “ Airports For All : กรมท่าอากาศยาน มุ่งมั่น ก้าวไกล เพื่อไทยทุกคน” เพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาระยะ 20 ปีของท่าอากาศยาน 28 แห่ง โดยกรมท่าอากาศยาน ได้มีการประกาศแผนแม่บท 20 ปี การพัฒนาท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แบ่งเป็น 4 ระยะ วงเงินรวม 34,507 ล้านบาท โดยท่าอากาศยานน่านนครได้อยู่ในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานระยะที่ 4 (พ.ศ. 2576-2580) เพื่อเชื่อมโยง East-West Corridor และ CLMV โดยมีการวางแผนศึกษาข้อมูล ดังนี้

  • ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ รองรับผู้โดยสารได้ 2.6 ล้านคนต่อปี
  • ก่อสร้างลานจอดเครื่องบินเพิ่มเติม รองรับครื่องบินแบบโบอิง 737 ได้พร้อมกัน 8 ลำ
  • ปรับปรุงทางวิ่งและทางขับทางขับใหม่เพื่อให้รอบรับเครื่องบินแบบ โบอิง 737

ทั้งนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม [10]

รายชื่อสายการบิน

แก้

มีสายการบินให้บริการรวม 2 สายการบิน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชียและนกแอร์ ต้นทาง กรุงเทพฯ-ดอนเมือง รวมมีเที่ยวบินให้บริการไป-กลับ สูงสุดวันละ 10 เที่ยวบินต่อวัน

สายการบินที่ให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[11] หมายเหตุ


นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

สายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
สายการบิน จุดหมายปลายทาง ปีที่ทำการบิน
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2523-2531
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2531-2545
แพร่
เชียงใหม่
พิษณุโลก
เดินอากาศไทย หลวงพระบาง พ.ศ. 2544-2545
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2545-2547
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2547-2552
นกมินิ เชียงใหม่ พ.ศ. 2552-2554
โซล่าแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2553-2554
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2553-2555
กานต์แอร์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2556-2560
วิสดอมแอร์เวย์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2561-2562
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2563-2565
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2563-2565
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2565-2566

สถิติ

แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

แก้
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[12]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 31,815 1,540 97.67
2545 18,968   40.38% 1,050 58.93
2546 15,234   19.69% 794 39.85
2547 12,005   21.20% 421 6.86
2548 14,336   19.42% 464 5.68
2549 12,935   9.77% 493 4.57
2550 12,668   2.06% 438 2.53
2551 12,276   3.0% 406 0.86
2552 11,379   7.3% 409 0.32
2553 9,038   20.57% 1,240 0.002
2554 33,885   374.92% 1,864 0.00
2555 58,536   72.75% 2,341 0.00
2556 82,079   40.22% 1,942 8.39
2557 113,849   38.70% 2,000 16.17
2558 349,264   306.78% 4,036 21.95
2559 376,620   7.83% 4,123 52.81
2560 349,986   7.07% 3,816 28.94
2561 428,202   22.35% 3,976 0.00
2562 382,324   10.71% 2,890 0.49
2563 312,574   18.24% 2,592 0.00
2564 190,708   38.99% 2,110 0.00
2565 451,801   136.91% 3,676 535.00
2566 386,575   14.44% 2,512 2.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานน่านนครตั้งอยู่บนถนนน่าน - ทุ่งช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101) โดยมีวงเวียนอยู่ใกล้บริเวณทางเข้า เมื่อขับผ่านอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบันจะมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งด้านข้างอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีสามารถจุรถได้ประมาณ 170 คัน[9]

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่า รถเช่าพร้อมคนขับ และรถแท็กซี่ อยู่บริเวณทางออกสนามบิน ซึ่งอยู่ข้างโซนร้านอาหารใกล้บริเวณผู้โดยสารขาเข้า

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินน่าน ในท้องที่อำเภอเมืองน่าน กิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๕
  2. "ท่าอากาศยานน่านนคร. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27. สืบค้นเมื่อ 2018-03-30.
  3. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน
  4. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน
  5. ประวัติท่าอากาศยานน่าน
  6. "ข่าวกระทรวงคมนาคม MOT NEWS ฉบับที่ 21/2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  7. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานน่านนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-02-15.
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนชื่อสนามบินอนุญาตตามชื่อพระราชทาน ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558". (2558, 9 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132, ตอน 32 ก. หน้า 7.
  9. 9.0 9.1 9.2 ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานน่านนคร
  10. งาน Airports For All : กรมท่าอากาศยาน มุ่งมั่น ก้าวไกล เพื่อไทยทุกคน
  11. ตารางการบินท่าอากาศยานน่านนคร
  12. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.