ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ
ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ (เกาหลี: 김포국제공항) หรือรู้จักกันในชื่อ ท่าอากาศยานคิมโพ (IATA: GMP, ICAO: RKSS) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของโซล ห่างจากย่านใจกลางประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ ก่อนถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนในปี ค.ศ. 2001 สถิติปี ค.ศ. 2014 มีผู้โดยสาร 21,566,946 คน นับว่ามากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากอินช็อนและเชจู
ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ 김포국제공항 金浦國際空港 Gimpo Gukje Gonghang Kimp'o Kukche Konghang | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
บริเวณอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ | |||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | การท่าอากาศยานเกาหลี | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | โซล | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | เขตคังซอ โซล ประเทศเกาหลีใต้ | ||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 58 ฟุต / 18 เมตร | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | [1] | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ (2014) | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ข้อมูลจาก KAC[2] |
ประวัติ
แก้ท่าอากาศยานถูกสร้างประมาณปี ค.ศ. 1939–1942 เป็นช่วงระหว่างภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
ยุคสงครามเกาหลี
แก้ท่าอากาศยานคิมโพได้เป็นฐานทัพหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเกาหลี ในชื่อ เค-14
วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือ ได้บุกโจมตีเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดชนวนสงครามขึ้น และเครื่องบินที่นี่ (ซี-54 สกายมาสเตอร์) ได้เสียหายไป 1 ลำ ทำให้อเมริกาต้องอพยพผู้คนรวม 748 คนออกจากท่าอากาศยานคิมโพและซูว็อน[3] บ่ายวันนั้น เครื่องบินเอฟ-82 ทวินมัสแตง จำนวน 5 ลำ ได้นำเครื่องบินซี-54 สกายมาสเตอร์ จำนวน 4 ลำออกจากคิมโพ เมื่อเห็นว่าซี-54 หนึ่งลำถูกทำลายที่ซูว็อนโดยเครื่องบิน KPAF ลาว็อคกิน ลา-7 5 ลำ ต่อมา เครื่องบิน LA-7 จำนวนหนึ่ง ถูกยิงโดยเครื่องบินของอเมริกา[4] ไม่กี่วันต่อมา เครื่องบินเอฟ-80ซี 4 ลำ ได้ยิงเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-10 จำนวน 4 ลำ ตกที่คิมโพ[3]
คิมโพถูกยึดครองโดย KPA หลังจากการยึดครองโซลในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1950 วันถัดมา เครื่องบินบี-29 8 ลำ ได้ระเบิดคิมโพและย่านรถไฟโซล[3] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม KPAF ได้ใช้ฐานที่ตั้งนี้ในการโจมตีกองทัพสหประชาชาติ ต่อมาวันที่ 10 กรกฎาคม เครื่องบินยัก-7 จำนวนเจ็ดลำ ได้มาซ่อนอยู่ที่คิมโพ เพื่อใช้โจมตีสหประชาชาติที่ช็องจู ซึ่งวันถัดมาก็ได้ทำการระเบิดเครื่องเอฟ-80 บางลำในบริเวณนี้ ในวันที่ 15 กรกฎาคม กองทัพอเมริกาได้บุกคิมโพอีกครั้ง และได้ทำลายเครื่องบินยัก-7 จำนวนสองถึงสามลำ รันเวย์ก็ได้รับเสียหาย[5] ในวันที่ 5 สิงหาคม กองทัพอากาศที่ห้าได้บุกคิมโพ และทำลายเครื่องบินอีก 9 ลำ[6]
เมื่อสงครามอินช็อนเริ่มขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1950 กองทัพแบตตาไลออนที่สอง ได้ยึดคิมโพในวันที่ 17 กันยายน[7] และคิมโพถูกควบคุมโดยกลุ่มกองทัพ และเช้าวันที่ 18 กันยายน กองทัพสามารถรักษาลานจอดให้ปลอดภัยได้ ซึ่งลานจอดก็อยู่ในสภาพดีเยี่ยม เนื่องจากเกาหลีเหนือไม่สามารถทำลายมันได้[8] วันที่ 19 กันยายน กองทัพวิศวกรรมอเมริกาได้ทำการซ่อมทางรถไฟ 13 กิโลเมตร และซ่อมเครื่องบิน 32 ซี-54 ให้บินได้เหมือนเดิม ซึ่งกลุ่มทหาร VMF-212 ก็ถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ขึ้นเครื่องบินจากคิมโพไปย็อนโป ในวันที่ 25 กันยายน กองทัพวิศวกรรมได้ทำการซ่อมแวมรันเวย์ยาว 6,000 ฟุต (1,800 เมตร) ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม[9] วันที่ 6 ตุลาคม กลุ่ม USAF ได้มาควบคุมท่าอากาศยานต่อจาก USMC[3]
ต่อมาทหารอเมริกาถูกโจมตีที่เส้นขนานที่ 38 ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1951 นายพลริดจ์เวย์ จึงได้สั่งให้ทหารถอนกำลังย้ายลงไปทางใต้ ทำให้กัมโปถูกจีนและเกาหลีเหนือยึดครอง
กองทัพอเมริกาได้กลับมาอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 และได้ทำการบุกโจมตีจีนและเกาหลีเหนือที่คิมโพในวันที่ 25 มกราคม ทำให้จีนและเกาหลีเหนือต้องย้านไปที่ราบลุ่มแม่น้ำฮัน และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 กองทัพได้กลับมายึดครองคิมโพอีกครั้ง[10]
วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1953 นักบินชาวเกาหลีเหนือ โน คัม-ซ็อก ได้นำเครื่องบินเอ็มไอจี-15 ลงจอดที่คิมโพ
-
ซากเครื่องบินซี-54 ที่ถูกยิงในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950
-
เครื่องบินอิลยูชิน อิล-10 ที่ถูกยึดมาได้ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1950
-
เครื่องบินหมายเลข 77 สควอดรัน ในปี ค.ศ. 1952
-
การเปลี่ยนเครื่องยนต์ในเครื่องบินเอฟ-86อี ในปี ค.ศ. 1952
-
เครื่องบินเอ็มไอจี-15 วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1953
หลังสงครามเป็นต้นมา
แก้ในปี ค.ศ. 1958 คิมโพได้กลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติของโซล มีเที่ยวบิน 226,000 เที่ยวต่อปี ท่าอากาศยานมีอาคารผู้โดยสารในประเทศ 1 แห่ง และระหว่างประเทศ 2 แห่ง ต่อมาเที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้ย้ายไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ปัจจุบันคิมโพมีรันเวย์สองทาง (3600 เมตร × 45 เมตร และ 3200 เมตร× 60 เมตร) อาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง อาคารสินค้า 1 แห่ง
ท่าอากาศยาน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำฮัน ชานกรุงโซล (ชื่อคิมโพ มาจากชื่อเมืองแถวนั้น)
ท่าอากาศยานคิมโพ ได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ ดังนี้
- วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เปิดเที่ยวบินไปโตเกียว-ฮะเนะดะ
- วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2007 เปิดเที่ยวบินไปเซี่ยงไฮ้-หงเชี่ยว
- วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เปิดเที่ยวบินไปโอซะกะ-คันไซ
- วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 เปิดเที่ยวบินไปปักกิ่ง-แคพิทอล[11]
- วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2012 เปิดเที่ยวบินไปไท-ซงฉาน[12]
สายการบินที่เคยมาลงที่ท่าอากาศยานคิมโพ แต่ยกเลิกไปแล้ว ได้แก่ แอร์นิวซีแลนด์, แอนเซตต์ออสเตรเลีย (ปิดกิจการ), คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ยุบรวมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์), ไอบีเรียแอร์ไลน์, คูเวตแอร์เวย์, เลาดาแอร์ (ยุบรวมกับออสเตรียนแอร์ไลน์), ควอนตัส (ขนส่งเฉพาะสินค้า), ซาอุเดีย, สวิสแอร์ (ปิดกิจการ), วีเอเอสพี (ปิดกิจการ),การบินไทย
สายการบินและจุดหมายปลายทาง
แก้ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศ และเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน
สถิติ
แก้สายการบินที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด
แก้สายการบินที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด ที่ท่าอากาศยานคิมโพ ในปี ค.ศ. 2012
อันดับ | สายการบิน | จำนวนผู้โดยสารในประเทศ (คน) | จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ (คน) | รวมทั้งหมด | % |
---|---|---|---|---|---|
1 | โคเรียนแอร์ | 4,876,772 | 1,189,804 | 6,066,576 | 31.22% |
2 | เอเชียนาแอร์ไลน์ | 3,202,570 | 1,004,217 | 4,206,787 | 21.65% |
3 | เชจูแอร์ | 1,584,560 | 213,353 | 1,797,913 | 9.25% |
4 | สายการบินทีเวย์ | 1,576,329 | 27,536 | 1,603,865 | 8.25% |
5 | จินแอร์ | 1,529,612 | 224 | 1,529,836 | 7.87% |
6 | อีสเตอร์เจ็ต | 1,364,448 | 18,895 | 1,383,343 | 7.12% |
7 | แอร์ปูซาน | 1,200,356 | 1,200,356 | 6.18% | |
8 | เจแปนแอร์ไลน์ | 655,035 | 655,035 | 3.37% | |
9 | ออลนิปปอนแอร์เวย์ | 545,250 | 545,250 | 2.81% | |
10 | เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ | 101,240 | 101,240 | 0.52% |
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
แก้หน่วยงานการสืบสวนอุบัติเหตุทางรถไฟและเครื่องบิน (ARAIB) ได้ทำห้องตรวจสอบความปลอดภัยของท่าอากาศยาน[13] ถึงแม้หน่วยงานการสืบสวนอุบัติเหตุทางเครื่องบินเกาหลี (KAIB) จะเข้ามาแทนที่ แต่ก็ยังคงมีห้องนั้นอยู่เช่นเดิม[14]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
แก้- วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1969: เอเยนต์ชาวเกาหลีเหนือ โช ชัง-ฮึย ได้ทำการบุกปล้นโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ YS-11 บินจากท่าอากาศยานคังนึง จังหวัดคังว็อน ไปยังท่าอากาศยานคิมโพ บนเครื่องมีลูกเรือ 4 คน ผู้โดยสาร 46 คน (รวมนายโช) ผลคือ ผู้โดยสาร 39 คนได้กลับมาเกาหลีใต้ในอีกสองเดือนหลัง ส่วนลูกเรือและผู้โดยสารอีก 7 คนยังคงติดค้างในเกาหลีเหนือ เครื่องบินได้รับความเสียหายมาก
- วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1978: ดูบทความหลักที่ โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 902
- วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980: โคเรียนแอร์ เที่ยวบินที่ 015 ขณะลงจอดที่รันเวย์สั้น เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรง ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ผู้โดยสาร 13 คนเสียชีวิต[15]
- วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1983: โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 จากนครนิวยอร์กไปโซล ถูกยิงโดยโซเวียต ขณะบินผ่านทะเลญี่ปุ่น ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนเสียชีวิต
ระบบขนส่งสาธารณะ
แก้รถไฟ
แก้- รถไฟสายคิมโพ (ยกเลิกใช้งานแล้ว)
- รถไฟใต้ดินโซล สาย 5
- รถไฟด่วนเออาร์อีเอ็กซ์ เชื่อมระหว่างท่าอากาศยานคิมโพกับท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน
- รถไฟใต้ดินโซล สาย 9 เชื่อมระหว่างท่าอากาศยานคิมโพกับเขตคังนัม
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Gimpo International Airport. Airport.co.kr. Retrieved on 24 August 2013.
- ↑ Korean airport statistics
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "History Milestones Sunday, January 01, 1950 – Thursday, December 31, 1959". U.S. Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 25 June 1950.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Valor Awards for James Walter Little". Gannett Company. 2011. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.
- ↑ Futrell, Robert F. (1997). The United States Air Force in Korea, 1950–1953. United States Government Printing Office. pp. 99–101. ISBN 9780160488795.
- ↑ Futrell, p.102
- ↑ Hoyt, Edwin P. (1984). On to the Yalu. Stein and Day. p. 58. ISBN 0812829778.
- ↑ Hoyt, p.61
- ↑ Futrell, p.178-9
- ↑ Futrell, p.293
- ↑ • Gimpo-Beijing air route to open in July เก็บถาวร 2012-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. South Korea News (26 April 2011). Retrieved on 12 July 2013.
- ↑ • Songshan to begin direct flights to Gimpo in Seoul. Taipei Times (30 April 2012). Retrieved on 6 March 2015.
- ↑ "Office Location เก็บถาวร 2014-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." () Aviation and Railway Accident Investigation Board. Retrieved on 15 February 2012. "CVR/FDR analysis and wreckage laboratory : Gimpo International Airport 274 Gwahae-dong, Gangseo-gu, Seoul, Korea 157–711"
- ↑ "KAIB/AAR F0201." Korea Aviation Accident Investigation Board. 4/168. Retrieved on 18 June 2009. "The main office is located near Gimpo International Airport, and the flight recorder analysis and wreckage laboratories are located inside the airport."
- ↑ "Aircraft accident Boeing 747-2B5B HL7445 Seoul-Gimpo (Kimpo) International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ท่าอากาศยานคิมโพ
- Airport information for RKSS at World Aero Data. Data current as of October 2006.