ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์
พลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์ (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2467-2525) อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 9 ดำรงตำแหน่งช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2525
ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2526 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2467 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2525 (58 ปี) มาเลเซีย |
ศาสนา | พุทธ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมทหารบก โรงเรียนการบิน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2512 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2525 |
ยศ | พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย |
ประวัติส่วนตัว
แก้พล.อ.อ. ทะแกล้ว เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2467 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมทหารบก โรงเรียนการบิน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
พล.อ.อ. ทะแกล้วเริ่มรับราชการในยศ"ร้อยตรี"เมื่อปี พ.ศ. 2489 ก่อนจะโอนย้ายมารับราชการที่ กองทัพอากาศ ในยศ"เรืออากาศโท"ในปี พ.ศ. 2491 และได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการเรื่อยมาจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ กรุงวอชิงตัน ดีซี ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศและได้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศพร้อมกับรับพระราชทานยศ"พลอากาศเอก"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521
จนกระทั่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 พล.อ.อ. ทะแกล้ว จึงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ สืบต่อจาก พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์ ที่เกษียณอายุราชการแต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 ปีก็ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2525 ที่ ประเทศมาเลเซีย โดย พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[4]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[5]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[9]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๑๔๓๖, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๔๑๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕