ทะเลสาบแทนกันยีกา

ทะเลสาบแทนกันยีกา (อังกฤษ: Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์[4]

ทะเลสาบแทนกันยีกา
Satellite image of Lake Tanganyika on Earth in center and left, space in upper right.
ภาพของทะเลสาบเมื่อถ่ายจากดาวเทียมในอวกาศเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1985
Located in East African rift between Tanzania and Congo.
Located in East African rift between Tanzania and Congo.
ทะเลสาบแทนกันยีกา
Long rift lake with outflow to Congo River in the middle of western shore.
แผนที่ทะเลสาบแทนกันยีกา
พิกัด6°30′S 29°40′E / 6.500°S 29.667°E / -6.500; 29.667
ชนิดของทะเลสาบAncient lake, Rift Valley Lake
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักRuzizi River
Malagarasi River
Kalambo River
แหล่งน้ำไหลออกLukuga River
พื้นที่รับน้ำ231,000 ตารางกิโลเมตร (89,000 ตารางไมล์)
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศบุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประเทศแทนซาเนียและประเทศแซมเบีย
ช่วงยาวที่สุด673 กิโลเมตร (418 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด72 กิโลเมตร (45 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ32,900 ตารางกิโลเมตร (12,700 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย570 เมตร (1,870 ฟุต)
ความลึกสูงสุด1,470 เมตร (4,820 ฟุต)
ปริมาณน้ำ18,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร (4,500 ลูกบาศก์ไมล์)
เวลาพักน้ำ5500 ปี[1]
ความยาวชายฝั่ง11,828 กิโลเมตร (1,136 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่773 เมตร (2,536 ฟุต)[2]
เมืองKigoma แทนซาเนีย
Kalemie สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
บูจุมบูรา บุรุนดี
Mpulungu แซมเบีย
อ้างอิง[2]
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนTanganyika
ขึ้นเมื่อ2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007
เลขอ้างอิง1671[3]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ศัพทมูล

แก้

คำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้

ภูมิศาสตร์

แก้

ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ

น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก

ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH)

ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้

  1. บริเวณน้ำลึกเกินสามฟุตนอกชายฝั่ง บริเวณนี้มักมีคลื่นส่งให้มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำอย่างรวดเร็ว ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างสูง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ
  2. บริเวณแนวหินตามชายฝั่ง เป็นพื้นที่ลาดชันประกอบไปด้วยตะกอนหินที่มีขนาดแตกต่างกัน เป็นระบบนิเวศที่มีแสงแดดส่องถึงพื้น ทำให้เกิดสาหร่าย และพืชประเภทต่าง ๆ
  3. แนวหินบริเวณน้ำตื้น อยู่ในความลึกประมาณ 20 ฟุต สภาพแวดล้อมส่วนมากเป็นทราย กรวดหิน และก้อนหิน เป็นแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติมากที่สุด สำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบใช้หากิน
  4. บริเวณหน้าดิน เป็นบริเวณที่มีความลึกระหว่าง 165-500 ฟุต ยังคงมีออกซิเจนละลายอยู่ มีสิ่งมีชีวิตจำพวกแพลงก์ตอนและกุ้งอาศัยอยู่
  5. บริเวณพื้นทราย เป็นพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายมาเป็นเวลานับล้าน ๆ ปี ส่งผลให้ชั้นตะกอนที่อยู่ด้านล่างของทะเลสาบนั้นหนาเป็นกิโลเมตร สภาพพื้นเป็นทรายปะปนด้วยหิน
  6. บริเวณพื้นโคลน เป็นบริเวณที่มีซากของสิ่งมีชีวิตตายทับถมกัน มีแบคทีเรียที่ให้อาหารสำหรับแพลงก์ตอนสัตว์อาศัยอยู่[5]

นอกจากนี้แล้วทะเลสาบแทนกันยีกา ยังเป็นขึ้นชื่อและรู้จักดีว่าเป็นแหล่งกำเนิดของปลาในตระกูลปลาหมอสี (Cichlidae) หลากหลายชนิด มีมากกว่า 850 ชนิด[4] ซึ่งใช้เป็นทั้งปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และเป็นแหล่งส่งออกปลาสวยงามในระดับโลก อาทิ ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa), ปลาหมอสีในสกุล Cyprichromis, สกุล Tropheus เป็นต้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Yohannes, Okbazghi (2008). Water resources and inter-riparian relations in the Nile basin. SUNY Press. p. 127.
  2. 2.0 2.1 "LAKE TANGANYIKA". www.ilec.or.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-28. สืบค้นเมื่อ 2008-03-14.
  3. "Tanganyika". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  4. 4.0 4.1 "Planet Earth 19 ธันวาคม 2558 พิภพโลก ตอนที่ 3". นาว 26. 19 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 10 January 2016.
  5. หน้า 46-48 คอลัมน์ Cichild Conner ตอน ดำดิ่งสู่ Lake Tanganyika โดย ปลาบ้านโรม นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับเดือนสิงหาคม 2011

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้