ต้อกระจกเป็นโรคของตาอย่างหนึ่ง คือภาวะที่เกิดความขุ่นขึ้นที่เลนส์ตาหรือปลอกหุ้มเลนส์ตาซึ่งปกติจะมีความใส เมื่อขุ่นแล้วจะทำให้แสงผ่านได้แย่กว่าปกติ มีผลกระทบต่อการมองเห็น ต้อกระจกมักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และอาจเกิดขึ้นในตาเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง[1] โดยอาการอาจะประกอบไปด้วยสีภาพที่มองเห็นจางลง ภาพมัวขุ่นหรือมีภาพซ้อน มีปัญหากับแสงจ้า และมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี[1] ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการขับขี่ การอ่าน หรือการจดจำใบหน้า[7] การมองเห็นที่ไม่ดีที่เกิดจากต้อกระจกอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการล้มเพิ่มขึ้น และความซึมเศร้า[2] ต้อกระจกเป็นสาเหตุของอาการตาบอดร้อยละ 50 และร้อยละ 33 เป็นสาเหตุของความบกพร่องทางสายตาของประชากรมนุษย์ทั่วโลก[3][8]

ต้อกระจก
(cataract)
ภาพขยายของต้อกระจกในดวงตามนุษย์ ที่เห็นได้จากการตรวจตาด้วยแสงจากโคมร่องแสงโดยการใช้การส่องสว่างแบบกระจาย
สาขาวิชาจักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์
อาการFaded colors, blurry vision, halos around light, trouble with bright lights, trouble seeing at night[1]
ภาวะแทรกซ้อนการพลัดตกหกล้ม, ซึมเศร้า, ตาบอด[2][3]
การตั้งต้นค่อยเป็นค่อยไป[1]
สาเหตุความชรา, การบาดเจ็บ, การรับรังสี, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตา, พันธุกรรม[1][4][5]
ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, การได้รับแสงแดดต่อเนื่องยาวนาน, การดื่มสุรา[1]
วิธีวินิจฉัยEye examination[1]
การป้องกันSunglasses, proper diet, not smoking[1]
การรักษาGlasses, cataract surgery[1]
ความชุก60 ล้าน (2015)[6]

ต้อกระจกสว่นมากนั้นมีเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บหรือการสัมผัสรับกัมมันตภาพรังสี ยังสามารถมีมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดตา[1][4] โดยต้อกระจกนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบไปด้วยโรคเบาหวาน การใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นระยะเวลานาน การสูบบุหรี่ การได้รัยแสงแดดเป็นเวลานาน และการดื่มแอลกอฮอล์[1] กลไกที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดต้อกระจกคือการสะสมของกลุ่มโปรตีน หรือสารสีสีเหลืองน้ำตาลภายในชั้นเลนส์ตาที่มีผลให้ลดการผ่านของแสงไปยังจอประสาทตา ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา[1] การวินิฉัยนั้นทำได้ด้วยการตรวจตา[1]

อาการ

แก้
ตัวอย่างของทัศนการมองเห็นที่ปกติในทางซ้าย และทัศนการมองเห็นเมื่อเป็นต้อกระจกในด้านขวา

อาการของต้อกระจกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้อกระจก แต่ก็ยังมีอาการร่วมที่เหมือนกัน ผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา หรือ ต้อกระจกที่นิวเคลียสของแก้วตามีความแข็งเพิ่มขึ้นมักมีอาการการมองเห็นที่ลดลง ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตามักมีผลต่อการมองเห็นในระยะไหลมากกว่าการมองเห็นระยะใกล้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังมักเกิดแสงบาดตาเป็นอาการหลักของต้อกระจกในประเภทดังกล่าว[9]

ความรุนแรงของการเกิดต้อกระจกจะถูกตัดสินจากการทดสอบการมองเห็นเป็นหลัก หากไม่มีโรคตาอื่น ๆ ประกอบ โดยอาการอื่น ๆ อาจะประกอบด้วยการเปลี่ยนแว่นที่บ่อยครั้ง และเกิดภาพหลอกเป็นวงแหวนสีเนื่องมากจากความชื้นที่ลดลงของเลนส์ตา

ต้อกระจกแต่กำเนิดสามารถทำให้เกิดอาการตามัว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที[10]


สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

แก้

การเกิดต้อกระจกนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุมาการเสื่อมของเลนส์ตา โดยส่วนมากโรคต้อกระจกนี้จะพบกับผู้ทีมีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากมารดาขณะตั้งครรภ์ หรือการที่กินยาสเตียรอยด์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุของการเกิดต้อกระจกได้เช่นกัน[1][11]

การวินิจฉัย

แก้

การจำแนกประเภท

แก้
 
ภาพตัดขวางที่แสดงถึงตำแหน่งของเลนส์ตาของมนุษย์
ภาพจากการตรวจอัลตราซาวด์ต้อกระจกข้างเดียวของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ยี่สิบของการตั้งครรภ์

ต้อกระจกอาจเป็นได้บางส่วนหรือเป็นอย่างสมบูรณ์ คงที่หรือเพิ่มความรุนแรง แข็งหรือนิ่ม โดยต้อกระจกชนิดหลักที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของเลนส์ตาที่เกิดจากอายุนั้นจะเป็นต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตา เกิดการขุ่นของแก้วตาของสารหรือเนื้อ ส่วนที่เป็นเนื้อแก้วตาชั้นนอก และการขุ่นของชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดซึ่งติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลัง[12]

ต้อกระจกประเภทต่างๆ
 
ต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังในตาซ้ายของเด็กชายวัย 8 ปี
ต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังในตาซ้ายของเด็กชายวัย 8 ปี 
 
ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตาของชายอายุ 70 ปี
ต้อกระจกที่เกิดที่นิวเคลียสของแก้วตาของชายอายุ 70 ปี 
 
ต้อกระจกชนิดคอร์ติคอลของชายอายุ 60 ปี
ต้อกระจกชนิดคอร์ติคอลของชายอายุ 60 ปี 
 
การย้อนฉายแสงของต้อกระจกชนิดคอร์ติคอล
การย้อนฉายแสงของต้อกระจกชนิดคอร์ติคอล 
 
Pต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังของเด็กหญิงอายุ 16 ปีที่เป็นดรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM)
Pต้อกระจกในเลนส์ตาที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังของเด็กหญิงอายุ 16 ปีที่เป็นดรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) 
 
ต้อกระจกบวมน้ำของชายอายุ 55 ปี
ต้อกระจกบวมน้ำของชายอายุ 55 ปี 
 
ต้อกระจกที่ชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหน้า ซึ่งทำให้เกิดเงาดำ
ต้อกระจกที่ชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดติดกับเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหน้า ซึ่งทำให้เกิดเงาดำ 

การป้องกัน

แก้

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การได้รับรังสี UVB และการสูบบุหรี่ สามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการป้องกันต้อกระจกที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การสวมแว่นตากันแดดที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต อาจช่วยลดความเร็วในการก่อตัวของต้อกระจกได้[13][14] ในขณะที่การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม (อาทิเช่นวิตามิน ซี เอ และอี)นั้นได้ถูกพิจรณาว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ แต่การทดลองทางคลินิกนั้นไม่ได้พบว่าไม่ได้มีผลช่วย[15] แม้ว่าหลักฐานนั้นจะบ่งชี้ไปคนละทาง แต่ยังมีแง่บวกเล็กน้อย สำหรับผลในการป้องกันต้อกระจกด้วยสารอาหารจำวพวกลูทีน และซีอาแซนทิน[16][17][18]

ระบาดวิทยา

แก้
 
การสูญเสียปีสุขภาวะของโรคต้อกระจกต่อประชากร 100,000 ในปี 2547[19]

ต้อกระจกที่มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนของการตาบอดร้อยละ 51 ของการตาบอดทั่วโลก นับเป็น 20 ล้านคนโดยไปประมาณ[20] ต้อกระจกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุพพลภาพระดับปานกลาง ถึงรุนแรงในประชากรจำนวนราว 53.8 ล้านคน (2004), ซึ่งราวกว่า 52.2 ล้านคนนั้นอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ[21]

ในหลายประเทศ การบริการศัลยกรรมนั้นมีไม่เพียงพอ และทำให้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดเป็นอาการตาบอด[20] ในขณะในประเทศที่มีบริการศัลยกรรมเพียงพอ การให้ความสำคัญต่อต้อกระจกนั้นยังอาจต่ำ ซึ่งเป็ฯผลให้เกิดการรอคอยที่นาน เกิดอุปสรรคในการได้รับผ่าตัดศัลยกรรม เช่นค่าใช้จ่ายที่สูง การขาดข้อมูล และปัญหาด้านการขนส่งคมนาคมเป็นต้น

ในประเทศไทย จากการสำรวจภาวะตาบอดแห่งชาติ พ.ศ. 2537 พบว่าต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของของการตาบอดถึงร้อยละ 74.6[22] และจากการสำรวจภาวะตาบอดและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย ในระยะพ.ศ. 2549-2550 พบว่าโรคต้อกระจกยังเป็นสาเหตุตาบอดที่พบมากที่สุด[23] โดยมีสาเหตุมาจากการเสื่อมตัวของเลนส์แก้วตาตามวัย[22]

ส่วนในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเปลี่ยนเลนส์ตาเนื่องจากสาเหตุเกี่ยวข้องทางด้านอายุว่าในร้อยละ 42 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 52 ถึง 64[24] 60% between the ages 65 and 74,[25] และกว่าร้อยละ 91 นั้นอยู่ในระหว่างอายุ 75 และ 85[24] ต้อกระจกส่งผลกระทบประชากรชาวอเมริกันที่มีอายุ 40 และมากกว่าราว 22 ล้านคน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอเมริกันที่มีอายุ 80 ขึ้นไปนั้นเป็นป่วยเป็นโรคต้อกระจก ค่ารักษาพยาบาลโดยตรงสำหรับการรักษาต้อกระจกในสหรัฐนั้นสูงถึง 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[26]

ในพื้นที่บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ต้อกระจกนั้นเป็นสาเหตุของการตาบอดกว่าร้อยละ 51 ของการตาบอดทั้งหมดในพื้นที่ดังกล่าว การเข้าถึงการรักษาและการดูแลจักษุเวชในหลายประเทศในพื้นที่นั้นมีอยู่อย่างจำกัด[27]

ต้อกระจกที่มีความเกี่ยวข้องกับวัยเด็กนั้นมีส่วนของการตาบอดในเด็กร้อยละ 5 ถึง 20 ทั่วทั้งโลก[28]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "Facts About Cataract". ธันวาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  2. 2.0 2.1 Gimbel, HV; Dardzhikova, AA (January 2011). "Consequences of waiting for cataract surgery". Current Opinion in Ophthalmology. 22 (1): 28–30. doi:10.1097/icu.0b013e328341425d. PMID 21076306. S2CID 205670956.
  3. 3.0 3.1 "Visual impairment and blindness Fact Sheet N°282". August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  4. 4.0 4.1 "Priority eye diseases". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  5. Chan, WH; Biswas, S; Ashworth, JL; Lloyd, IC (April 2012). "Congenital and infantile cataract: aetiology and management". European Journal of Pediatrics. 171 (4): 625–30. doi:10.1007/s00431-012-1700-1. PMID 22383071.
  6. Vos, Theo; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  7. Allen D, Vasavada A (2006). "Cataract and surgery for cataract". BMJ. 333 (7559): 128–32. doi:10.1136/bmj.333.7559.128. PMC 1502210. PMID 16840470.
  8. Global Data on Visual Impairments 2010 (PDF). WHO. 2012. p. 6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31.
  9. "Posterior Supcapsular Cataract". Digital Reference of Ophthalmology. Edward S. Harkness Eye Institute, Department of Ophthalmology of Columbia University. 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2013. สืบค้นเมื่อ 2 April 2013.
  10. Mohammadpour, M; Shaabani, A; Sahraian, A; Momenaei, B; Tayebi, F; Bayat, R; Mirshahi, R (June 2019). "Updates on managements of pediatric cataract". Journal of Current Ophthalmology. 31 (2): 118–26. doi:10.1016/j.joco.2018.11.005. PMC 6611931. PMID 31317088.
  11. "Priority eye diseases". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  12. สอไชยยศ, สุปราณี. "ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ" (PDF). สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครฯ. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
  13. Neale RE, Purdie JL, Hirst LW, Green AC (November 2003). "Sun exposure as a risk factor for nuclear cataract". Epidemiology. 14 (6): 707–12. doi:10.1097/01.ede.0000086881.84657.98. PMID 14569187. S2CID 40041207.
  14. Javitt JC, Wang F, West SK (1996). "Blindness Due to Cataract: Epidemiology and Prevention". Annual Review of Public Health. 17: 159–77. doi:10.1146/annurev.pu.17.050196.001111. PMID 8724222. Cited in Five-Year Agenda for the National Eye Health Education Program (NEHEP), p. B-2; National Eye Institute, U.S. National Institutes of Health
  15. Mathew MC, Ervin AM, Tao J, Davis RM (Jun 13, 2012). "Antioxidant vitamin supplementation for preventing and slowing the progression of age-related cataract". Cochrane Database of Systematic Reviews. 6 (6): CD004567. doi:10.1002/14651858.CD004567.pub2. PMC 4410744. PMID 22696344.
  16. Barker FM (August 2010). "Dietary supplementation: effects on visual performance and occurrence of AMD and cataracts". Curr. Med. Res. Opin. 26 (8): 2011–23. doi:10.1185/03007995.2010.494549. PMID 20590393. S2CID 206965363.
  17. Ma, L.; Hao, Z.; Liu, R.; Yu, R.; Shi, Q.; Pan, J. (2013). "A dose–response meta-analysis of dietary lutein and zeaxanthin intake in relation to risk of age-related cataract". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology. 252 (1): 63–70. doi:10.1007/s00417-013-2492-3. PMID 24150707. S2CID 13634941.
  18. Hayashi, R. (2014-11-01). "The Effects of Lutein in Preventing Cataract Progression". ใน Babizhayev, M. A.; Li, D. W.-C.; Kasus-Jacobi, A.; Žorić, L.; Alió, J. L. (บ.ก.). Studies on the Cornea and Lens. Oxidative Stress in Applied Basic Research and Clinical Practice. pp. 317–26. doi:10.1007/978-1-4939-1935-2_17. ISBN 9781493919345.
  19. "Death and DALY estimates for 2004 by cause for WHO Member States" (xls). World Health Organization. who.int. 2004.
  20. 20.0 20.1 "Priority eye diseases: Cataract". Prevention of Blindness and Visual Impairment. World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-24.
  21. The global burden of disease : 2004 update. Geneva, Switzerland: World Health Organization. 2008. p. 35. ISBN 978-9241563710.
  22. 22.0 22.1 ตีระวัฒนานนท์, กัลยา; บุตรชน, รักมณี; ศิริสมุด, ขวัญใจ; ฉายเกล็ดแก้ว, อุษา; ตีระวัฒนานนท์, ยศ (กรกฎาคม–สิงหาคม 2022). "การเข้าถึงและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในประเทศไทย". วารสารวิชาการสาธาณสุข. 20 (1): 54–56. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
  23. "ร่างรายงานโครงการศึกษาวิจัยแผนการลงทุนด้านสุขภาพในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ". สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (10): 278–297.
  24. 24.0 24.1 Sperduto RD, Seigel D (Jul 1980). "Senile lens and senile macular changes in a population-based sample". Am. J. Ophthalmol. 90 (1): 86–91. doi:10.1016/s0002-9394(14)75081-0. PMID 7395962.
  25. Kahn HA, Leibowitz HM, Ganley JP, Kini MM, Colton T, Nickerson RS, Dawber TR (Jul 1977). "The Framingham Eye Study. I. Outline and major prevalence findings". Am. J. Epidemiol. 106 (1): 17–32. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a112428. PMID 879158.
  26. "Eye Health Statistics at a Glance" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 17, 2015.
  27. "Health Topics: Cataract". World Health Organization – Eastern Mediterranean Regional Office. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27.
  28. Liu, Yu-Chi; Wilkins, Mark; Kim, Terry; Malyugin, Boris; Mehta, Jodhbir S (2017). "Cataracts". The Lancet. 390 (10094): 600–12. doi:10.1016/S0140-6736(17)30544-5. PMID 28242111. S2CID 208790600.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก