ตราแผ่นดินของบรูไน
ตราแผ่นดินของประเทศบรูไน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ตราแผ่นดินของบรูไน (มลายู: معطف من الأسلحة بروناي.) ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2475 ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ" ("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม (มลายู: بروناي دار السلام) แปลว่า นครแห่งสันติ
ตราแผ่นดินของบรูไน | |
---|---|
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | รัฐบาลบรูไน |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2475 (ประกาศใช้ครั้งแรก) |
เครื่องยอด | ปีกนก 4 ขน (Sayap) ภายใต้ราชธวัช (Bendera) และ พระกลด (Payang Ubor-Ubor) |
โล่ | ซีกวงเดือนหงายหรือพระจันทร์เสี้ยว (Bulan) |
ประคองข้าง | พระหัตถ์สองข้างที่ชูขึ้น |
คำขวัญ | (มลายู: القوس ، وعمل تحت إشراف الله.) "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระเจ้าเสมอ" (มลายู: بروناي دار السلام) "บรูไนดาลุสซาลาม" |
การใช้ | เอกสารราชการ, สถานที่ราชการ และ ด้านหลังของเหรียญเงินบรูไน |
สัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายดังนี้
- ราชธวัช (Bendera) และพระกลด (Payang Ubor-Ubor) หมายถึง สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม (ของทั้งสองสิ่งนี้ นับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติบรูไน)
- ปีกนก 4 ขน (Sayap) หมายถึง การพิทักษ์ความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญ และสันติสุขของชาติ
- มือสองข้างที่ชูขึ้น (Tangan หรือ Kimhap) หมายถึง หน้าที่ของรัฐบาลที่จะยกระดับความมั่งคั่ง สันติสุข และความวัฒนาถาวรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
- ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถึง ศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ
วิวัฒนาการ
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของรัฐบาลบรูไน เก็บถาวร 2006-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน