เลตเตอร์ออฟเครดิต

(เปลี่ยนทางจาก ตราสารเครดิต)

เลตเตอร์ออฟเครดิต หรือ ตราสารเครดิต[1] (อังกฤษ: letter of credit หรือ L/C) คือ เอกสารที่มีขึ้นเพื่อยืนยันการชำระเงินในการซื้อขายที่ผู้ซื้อขอให้ธนาคารเป็นผู้ชำระให้แทน เลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพราะทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้า เลตเตอร์ออฟเครดิตออกโดยสถาบันการเงินตามคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแสดงเป็นหลักประกันการชำระเงิน ผู้ขายสินค้าได้รับเงินเมื่อส่งมอบสินค้า และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า[2]

เลตเตอร์ออฟเครดิต อาจเรียกในชื่ออื่น เช่น Documentary Letter of Credit หรือ Commercial Documentary Letter of Credit

เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็นสองชนิดหลัก

  1. ชนิดเพิกถอนได้ เมื่อมีธนาคารของผู้ซื้อออกตราสารให้แก่ธนาคารฝ่ายผู้ขายแล้ว ธนาคารฝ่ายผู้ซื้อหรือผู้ซื้อสามารถบอกเลิกตราสารนั้นได้ โดยไม่ต้องให้ฝ่ายผู้ขายหรือธนาคารฝ่ายผู้ขายยินยอม ตราสารแบบนี้จึงไม่นิยมใช้ในการทำการค้าระหว่างกัน
  2. ชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อผู้ซื้อให้ธนาคารฝ่ายตนออกตราสารแก่ธนาคารฝ่ายผู้ขายแล้ว ไม่สามารถทำการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆในตราสารนั้นได้อีก อนึ่งตราสารที่ไม่ได้ระบุว่าเพิกถอนได้นั้นถือว่าเป็นชนิดที่เพิกถอนไม่ได้[2]

นอกจากนี้ L/C ยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะการเรียกเก็บเงิน คือ

  1. L/C at sight คือ LC ที่มีการชำระเงินทันที (ภายใน 5-10 ทำการ) หลังจากที่ผู้ขายได้ทำตามเงื่อนไขในเอกสาร L/C ครบถ้วนตามระบุไว้ LC ประเภทนี้จะเป็นรูปแบบมาตรฐานที่นิยมใช้กันและผู้ขายจะได้รับเงินจากผู้ซื้อเร็วที่สุด
  2. Usance L/C คือ LC ที่จะชำระเงินตามวันที่ระบุไว้ (ในอนาคต) หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ ซึ่ง Usance L/C ต่างกับ L/C at Sight ตรงที่ L/C at Sight ผู้ขายจะได้รับเงินทันที เมื่อทำตามเงื่อนไขครบ แต่ Usance L/C ผู้ขายจะได้รับเงินตามวันที่ที่ระบุไว้เท่านั้น[3]

ประโยชน์ของการเปิด L/C

ประโยชน์ของการเปิด L/C คือ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความเสี่ยงต่ำ ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดในการมัดจำหรือสั่งซื้อสินค้า ทำให้สามารถได้รับสินค้ามาขายก่อนและค่อยนำเงินที่ได้จากการขายสินค้ามาชำระเคลียกับทางธนาคาร L/C  ภายใน 90 วัน ช่วยให้ธุรกิจไม่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน  สำหรับฝ่ายผู้ขายสินค้า ก็ได้รับประโยชน์จากการรับ L/C  เช่นกัน ถ้าหากผู้ขายสินค้าได้รับ L/C  at sight 100% (คือ L/C  ประเภทเพิกถอนไม่ได้) ก็สามารถไว้วางใจได้ว่าเมื่อส่งสินค้าไปให้กับผู้ซื้อแล้วจะได้รับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อจริง[4]

หลักการ

แก้

เลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นสัญญาชนิดหนึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อขายและใช้ธนาคารเป็นตัวกลาง แต่ธนาคารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายนั้น ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและเงื่อนไขและชำระเงินแก่ผู้ขาย เมื่อฝ่ายผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน ทั้งนี้มีข้อยกเว้นเพียงกรณีเดียวคือการฉ้อฉลที่เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการชำระเงินแก่ผู้ขายได้

อ้างอิง

แก้
  1. ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน สาขานิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕
  2. 2.0 2.1 L/C คืออะไร
  3. L/C at Sight[ลิงก์เสีย]
  4. ประโยชน์ของการเปิด L/C[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้